โดยที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 กําหนดให้มีการเทียบ โอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และ ทบวงมหาวิทยาลัยได้ออกประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง ข้อแนะนําเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการเทียบ โอนผลการเรียนระดับปริญญาไปแล้วนั้น เพื่อการรักษามาตรฐานการศึกษาและการเทียบโอนผลการ เรียนดังกล่าว ทบวงมหาวิทยาลัยจึงเห็นสมควรกําหนด หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับ ปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ พ.ศ. 2545 ขึ้น
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติ ราชการของทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติ ราชการของทบวงมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกประกาศ ทบวงมหาวิทยาลัยไว้ดังนี้
1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอเทียบโอนผลการเรียน
1.1 ต้องมีความรู้พื้นฐานตามที่กําหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษา ของทบวงมหาวิทยาลัยในระดับที่ขอเทียบโอนผลการเรียน ดังนี้
(1) กรณีขอเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาตรี ต้องเป็นผู้สําเร็จ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าขึ้นไป
(2) กรณีขอเทียบโอนผลการเรียนระดับบัณฑิตศึกษา ต้องเป็นผู้สําเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไป
1.2 ผู้ขอเทียบโอนผลการเรียนต้องเป็นหรือเคยเป็นนักศึกษาของสถาบัน การศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าในหลักสูตรที่ทบวงมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีอํานาจตามกฎหมายรับรอง
1.3 สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา อาจกําหนด คุณสมบัติอื่นๆ ของผู้ขอเทียบโอนผลการเรียนเพิ่มเติมก็ได้ เช่น ผู้ขอเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษา นอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย จะต้องสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษาได้ในคณะวิชาที่ต้องการ ขอเทียบโอนผลการเรียนตามวิธีที่สถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชากําหนด เป็นต้น
2. สถาบันอุดมศึกษาต้องดําเนินการเทียบความรู้และโอนหน่วยกิตภายใต้ หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
2.1 หลักเกณฑ์การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตระหว่างการศึกษา
ระดับปริญญาตรี
(1) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า ที่ทบวงมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจตามกฎหมายรับรอง
(2) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสาม ในสี่ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบ
(3) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่สอบไล่ได้ไม่ต่ํากว่าระดับคะแนนตัวอักษร C หรือแต้มระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า
(4) นักศึกษาจะเทียบรายวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตได้ไม่เกินสามในสี่ของ จํานวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่รับโอน
(5) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนจากต่างสถาบันอุดมศึกษาจะไม่ นํามาคํานวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
(6) นักศึกษาจะต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาที่รับโอนอย่างน้อย หนึ่งปีการศึกษา
(7) ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดหลักสูตรใหม่จะเทียบโอนนักศึกษา เข้าศึกษาได้ไม่เกินกว่าชั้นปีและภาคการศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้มีนักศึกษาเรียนอยู่ตามหลักสูตรที่ได้รับ ความเห็นชอบแล้ว
ระดับบัณฑิตศึกษา
(1) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หรือ เทียบเท่าที่ทบวงมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจตามกฎหมายรับรอง
(2) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสาม ในสี่ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบ
(3) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่สอบไล่ได้ไม่ต่ํากว่าระดับคะแนน ตัวอักษร B หรือแต้มระดับคะแนน 3.00 หรือเทียบเท่า หรือ ระดับคะแนนตัวอักษร S
(4) การเทียบโอนหน่วยกิตในรายวิชาวิทยานิพนธ์ให้เป็นไปตามที่สถาบัน อุดมศึกษากําหนดโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา
(5) นักศึกษาจะเทียบรายวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตได้ไม่เกินหนึ่งในสาม ของจํานวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่รับโอน
(6) รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนจากต่างสถาบันอุดมศึกษาจะไม่ นํามาคํานวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
(7) นักศึกษาจะต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาที่รับโอนอย่างน้อย หนึ่งปีการศึกษา และลงทะเบียนเรียนรายวิชาหรือวิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรที่เข้าศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
(8) ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดหลักสูตรใหม่จะเทียบโอนนักศึกษา เข้าศึกษาได้ไม่เกินชั้นปีและภาคการศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้มีนักศึกษาเรียนอยู่ตามหลักสูตรที่ได้รับ ความเห็นชอบแล้ว
2.2 หลักเกณฑ์การเทียบโอนความรู้และการให้หน่วยกิตจากการศึกษา นอกระบบและ/หรือการศึกษาตามอัธยาศัยเข้าสู่การศึกษาในระบบ
(1) การเทียบความรู้จะเทียบเป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาตามหลักสูตรและ ระดับการศึกษาที่เปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษาที่ผู้ขอเทียบต้องการ
(2) วิธีการประเมินเพื่อการเทียบโอนความรู้ในแต่ละรายวิชาหรือกลุ่ม รายวิชาและเกณฑ์การตัดสินของการประเมินในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามที่สถาบันอุดมศึกษากําหนด โดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา
(3) ผลการประเมินจะต้องเทียบได้ไม่ต่ํากว่าระดับคะแนนตัวอักษร C หรือ แต้มระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่าสําหรับรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาระดับปริญญาตรี และไม่ต่ํากว่า ระดับคะแนนตัวอักษร B หรือแต้มระดับคะแนน 3.00 หรือเทียบเท่าสําหรับรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชา ระดับบัณฑิตศึกษา จึงจะให้จํานวนหน่วยกิตของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชานั้น แต่จะไม่ให้ระดับคะแนน ตัวอักษร และไม่มีการนํามาคิดคะแนนผลการเรียน หรือคํานวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
(4) การบันทึกผลการเรียนให้บันทึกตามวิธีการประเมิน
(5) การเทียบรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาจากการศึกษานอกระบบและ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัยให้หน่วยกิตได้รวมกันไม่เกินสามในสี่ของจํานวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตร ระดับปริญญาตรีที่ขอเทียบ และสําหรับจํานวนหน่วยกิตของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่จะให้เทียบโอนได้ ให้สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษากําหนดตามความเหมาะสม โดยให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรนั้นๆ และตามหลักเกณฑ์ข้อ 2.1
(6) นักศึกษาจะต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาที่รับโอนอย่างน้อย หนึ่งปีการศึกษาสําหรับหลักสูตรปริญญาตรี และสําหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษากําหนดตามความเหมาะสม โดยให้ สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรนั้นๆ และตามหลักเกณฑ์ข้อ 2.1
3. สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณา กําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ํากว่าหลักเกณฑ์ข้างต้น
4. กรณีที่การเทียบโอนผลการเรียนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้นให้อยู่ใน ดุลยพินิจของคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย
5. การเทียบโอนผลการเรียนที่ดําเนินการไปแล้วก่อนประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปสมบูรณ์ตามประกาศฯ ฉบับนี้ และการดําเนินการต่อไปให้เป็นไป ตามประกาศฯ ฉบับนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป