ประวัติและความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ในฐานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาบุคลากรระดับวิชาชีพ ทั้งด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่จำเป็นในระบบสุขภาพ คือ พยาบาลวิชาชีพ เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข ช่วยรองรับผู้ป่วยและผู้รับบริการสุขภาพ ประกอบกับได้มีการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของไทย ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่ พ.ศ.2545 แม้จะมีการผลิตบัณฑิตพยาบาลเพิ่มขึ้นจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาเป็นลำดับ แต่แนวโน้มจำนวนบุคลากรพยาบาลก็ยังไม่เพียงพอ
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ได้เล็งเห็น ความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มจานวนบุคลากรพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลน ยังเป็นการขยายบทบาทของสถาบันในการจัดการเรียนการสอน และเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ แก่ผู้เรียนในส่วนภูมิภาค จึงเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาการศึกษาพยาบาลดำเนินการ ร่างหลักสูตรพยาบาล
ศาสตรบัณฑิต พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี ขึ้น ในปี พ.ศ. 2549 สภามหาวิทยาลัยได้ อนุมัติการขอเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการจากสภาการพยาบาล เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ซึ่งเปิดดำเนินการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 16 ปี
คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ตั้งอยู่เลขที่ 600 หมู่ 11 ตำบลสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71170 ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพ ทั้ง 3 ระบบ คือ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่พัฒนาโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เดิม โดยหลักสูตรได้รับการประกันครั้งแรกในปี 2553 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ซึ่งประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งหลักสูตรได้รับการประเมินครั้งแรก ในปี 2556 และระบบการประเมินและการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยหลักสูตรได้ดำเนินการตามข้อบังคับสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2556 โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาการพยาบาล และได้รับการรับรองสถาบันฯ อย่างต่อเนื่อง
สีประจำคณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี
สีเหลืองอมส้ม
ดอกไม้ประจำคณะ
ดอกปีบทอง เป็นต้นไม้ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้น ดอกสีเหลืองอมส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น เป็นไม้มงคล ความหมายของปีบทอง เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยได้รับชื่อเสียงในทางที่ดี มีเกียรติจากหน้าที่การงาน เปรียบได้กับนิสิตที่สำเร็จจากสถาบันแห่งนี้ จะเป็นผู้ที่มีเกียรติ มีชื่อเสียง มีความแข็งแกร่ง และก้าวหน้า
ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตที่เป็นเลิศทางวิชาการ มุ่งสู่วิชาชีพการพยาบาลที่กอปรด้วยคุณธรรมจริยธรรม ด้วยขุมพลังแห่งปัญญา
วิสัยทัศน์
บูรณาการความรู้คู่ภูมิปัญญาไทยด้วยพลังความคิด มีวินัย ใฝ่ธรรมะ จรรยางดงาม เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี รู้รักสามัคคี สืบสานศิลปวัฒนธรรม และประเพณี ธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของไทย
พันธกิจ
การผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณลักษณะ และคุณธรรมจริยธรรมอันพึงประสงค์ ตามมาตรฐานวิชาชีพและ คุณลักษณะของบัณฑิตในอุดมคติ
วัตถุประสงค์
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นพลเมืองดีของสังคม สามารถนำความรู้ไปประกอบวิชาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม และประเทศชาติ ส่งเสริมการศึกษา วิจัย นวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้ ด้านวิชาชีพและการศึกษาที่มีประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ตระหนักถึงโอกาสทางการศึกษาของประชากรในวัยเรียน ที่มีความสนใจเข้าศึกษาในสาขาวิชาการพยาบาล เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลาการทางการพยาบาลของประเทศ กอปรกับการที่ประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเตรียมบุคลากรในวิชาชีพการพยาบาลเพื่อรองรับสถานการ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและทักษะเชิงวิชาชีพ ควบคู่ไปกับการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ชุมชน ประเทศชาติ และประชาคมอาเซียนได้
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : พยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : พย.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Nursing Science
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.N.S.
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
---|---|
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ | 9 |
1.2 กลุ่มวิชาภาษา | 15 |
1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | 6 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 107 |
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 25 |
2.2 กลุ่มวิชาชีพ | |
2.2.1 ภาคทฤษฎี | 46 |
2.2.2 ภาคปฏิบัติการพยาบาล | 36 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวม | 143 |
1. เป็นผู้สาเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองหรือนักเรียนที่
สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยฯ) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง หรือ นักเรียนที่สำเร็จ
การศึกษาจากต่างประเทศ ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทาโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
3. มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
4. ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
4.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง/หรือผู้อื่น รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวรต่อการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.3 เป็นโรคติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.5 มีความผิดปกติในการมองเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง คือ
4.5.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
4.5.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
4.6 มีความผิดปกติในการได้ยิน คือ
4.6.1 มีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ หรือสูงกว่า 40 เดซิเบล ของหูทั้ง 2 ข้าง
4.6.2 ความสามารถในการแยกเเยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensorineural Hearing Loss)
4.7 โรคหรือความพิการอื่นๆซึ่งมิได้ระบุไว้ที่ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ประกอบอาชีพในบริษัทเอกชน เช่น บริษัทประกันภัย ธุรกิจผลิตยา ธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือแพทย์
- พยาบาลส่วนตัวประจำบ้าน
- พยาบาลประจำโรงพยาบาลทั้งของภาครัฐและเอกชน
- อาจารย์พยาบาล
- เปิดคลินิกพยาบาล
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ตระหนักถึงโอกาสทางการศึกษาของประชากรในวัยเรียน ที่มีความสนใจเข้าศึกษาในสาขาวิชาการพยาบาล เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลาการทางการพยาบาลของประเทศ กอปรกับการที่ประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเตรียมบุคลากรในวิชาชีพการพยาบาลเพื่อรองรับสถานการ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและทักษะเชิงวิชาชีพ ควบคู่ไปกับการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ชุมชน ประเทศชาติ และประชาคมอาเซียนได้
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : พยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : พย.บ.
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Nursing Science
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.N.S.
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
---|---|
1. หมวดศึกษาทั่วไป | 30 |
1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ | 15 |
1.2 กลุ่มวิชาภาษา | 12 |
1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 86 |
2.1 ภาคทฤษฎี | 50 |
2.1..1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 15 |
2.1. 2 กลุ่มวิชาชีพ | 35 |
.2.2 กลุ่มวิชาชีพปฏิบัติการพยาบาล | 36 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวม | 122 |
1. เป็นผู้สาเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองหรือนักเรียนที่
สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกาลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรผู้ช่วยฯ) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง หรือ นักเรียนที่สำเร็จ
การศึกษาจากต่างประเทศ ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทาโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
3. มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
4. ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
4.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง/หรือผู้อื่น รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวรต่อการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.3 เป็นโรคติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4.5 มีความผิดปกติในการมองเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง คือ
4.5.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
4.5.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
4.6 มีความผิดปกติในการได้ยิน คือ
4.6.1 มีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ หรือสูงกว่า 40 เดซิเบล ของหูทั้ง 2 ข้าง
4.6.2 ความสามารถในการแยกเเยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensorineural Hearing Loss)
4.7 โรคหรือความพิการอื่นๆซึ่งมิได้ระบุไว้ที่ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1. พยาบาลประจำโรงพยาบาลทั้งของภาครัฐและเอกชน
2. ประกอบธุรกิจทางการพยาบาล เช่น เปิดคลินิกสุขภาพทางการพยาบาล พยาบาลพิเศษ (Special Nurse)
3. ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวแทนจำหน่ายเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ พยาบาลประจำโรงเรียน พยาบาลประจำโรงงาน และสถานประกอบการอื่น ๆ
4. ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก เพื่อเป็นอาจารย์พยาบาล และ/หรือผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล
สภาพการณ์ในปัจจุบัน ผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและเฉียบพลันที่ต้องเข้ารับบริการในสถานบริการสุขภาพมีจำนวนมากขึ้น ความต้องการการช่วยเหลือดูแลในสถานบริการสุขภาพจึงมีเพิ่มขึ้นประกอบกับสถานบริการสุขภาพส่วนใหญ่ขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพซึ่งเป็นกำลังหลักในระบบบริการสุขภาพดังนั้นเพื่อให้การบริการพยาบาลในสถานบริการสุขภาพแก่ประชาชนมีประสิทธิภาพและครอบคลุม จำเป็นต้องมีบุคลากรในทีมการพยาบาลที่มีคุณภาพและมีจานวนเพียงพอในการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรกลุ่มนี้จะต้องผ่านการศึกษามาเป็นอย่างดีจากสถานศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อที่จะสามารถช่วยงานพยาบาลวิชาชีพในการให้การดูแลเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ ภายใต้การควบคุมกำกับของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้พยาบาลวิชาชีพมีเวลาในการให้การพยาบาลแก่ผู้รับบริการที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อน วิกฤตและรุนแรงได้เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้รับบริการได้รับบริการด้านสุขภาพที่ดีมีประสิทธิภาพ
ผู้ช่วยพยาบาล เป็นอาชีพที่สามารถช่วยงานของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลขั้นพื้นฐานแก่บุคคล ทั้งในสถานพยาบาล ที่บ้าน และในชุมชนได้ดี เพื่อให้บุคคล ทั้งที่มีภาวะสุขภาพดีหรือเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่รุนแรงซับซ้อน สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ช่วยพยาบาลสามารถดูแลช่วยเหลือผู้รับบริการ ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจาวัน ปัญหาสุขภาพที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และการดูแลบุคคลเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้เป็นอย่างดี
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะองค์กร จัดการศึกษาสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ที่มีความพร้อมทั้งองค์ความรู้และบุคลากรผู้สอน รวมทั้งได้ทาภารกิจการบริการวิชาการให้สังคมอย่างหลากหลาย ได้เล็งเห็นความจำเป็นของการผลิตผู้ช่วยพยาบาลให้มีคุณภาพมาตรฐานและเป็นไปตามข้อบังคับของสภาการพยาบาลว่าด้วยการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล พ.ศ. 2552 จึงได้พัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลเพื่อผลิตบุคลากรช่วยเหลืองานพยาบาลในโรงพยาบาลและช่วยเหลืองานบริการสุขภาพในองค์กรอื่นๆ ตามความต้องการของสังคมต่อไป
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
ภาษาอังกฤษ : Certificate Program for Practical Nursing
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ป.ผู้ช่วยพยาบาล
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Certificate for Practical Nursing
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Cert. for PN.
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
---|---|
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 6 |
1.1 กลุ่มวิชาภาษา | 2 |
1.2 กลุ่มวิชาจิตวิทยา มนุษยวิทยา และสังคมวิทยา | 4 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 28 |
2.1 กลุ่มวิชาภาคทฤษฎี | 18 |
2.2 กลุ่มวิชาภาคปฏิบัติ | 10 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 2 |
รวม | 36 |
1. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ เทียบเท่าตามหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
2. อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่เปิดการศึกษา
3. น้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 กิโลกรัม ส่วนสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร
4. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือ การประกอบอาชีพ
5. ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่เคยถูกศาลพิพากษาถึงขั้นจำคุก หรือ อยู่ในระหว่างคดีอาญา
6. หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ผู้สำเร็จการศึกษา จะสามารถช่วยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ในการดูแลบุคคล ทั้งในสถานพยาบาล ที่บ้าน และในชุมชน ในด้านการปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน การพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และการพยาบาลบุคคลในระยะสุดท้ายของชีวิต โดยอยู่ภายใต้ความควบคุม ของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์
ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
ติดต่อคณะ
ติดต่อคณะ
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตกาญจนบุรี
เลขที่ 600 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา
จ.กาญจนบุรี
โทร.035-651-000,084-761-0702
เลขาคณะ คุณราตรี
www.western.ac.th
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น