ปริญญาเอก-ปริญญาโท-ปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

WESTERN UNIVERSITY

ระเบียบมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ว่าด้วยการสอบ พ.ศ. 2558

     เพื่อให้การสอบของนิสิตทุกระดับปริญญา เป็นไปโดยสุจริตเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ สะท้อนความรู้ ความ เข้าใจ และความสามารถของนิสิตในวิชาที่ได้ศึกษา ซึ่งเป็นผลดีตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอาศัยอํานาจตามความ ในมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 สภา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ในการประชุมครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558 ได้พิจารณาและมีมติให้ออก ระเบียบมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นว่าด้วยการสอบ พ.ศ. 2558 ไว้ดังต่อไปนี้

     ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นว่าด้วยการสอบ พ.ศ. 2558
     ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป
     ข้อ 3 ภายใต้ระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคําสั่งอื่นใดที่ว่าด้วย การสอบ ในส่วนที่มี บัญญัติไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

     ข้อ 4 ในระเบียบนี้
          "มหาวิทยาลัย" หมายถึง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
          "อธิการบดี" หมายถึง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
          "คณะวิชา" หมายถึง คณะที่นิสิตสังกัด
          "คณบดี" หมายถึง คณบดีของคณะที่นิสิตสังกัด
          "อาจารย์ที่ปรึกษา" หมายถึง อาจารย์ที่คณะแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาของนิสิต
          "นิสิต" หมายถึง นิสิตมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
          "การสอบ" หมายถึง การสอบประจําภาคการศึกษา ซึ่งเป็นการสอบครั้งสุดท้ายของแต่ละ รายวิชาเมื่อเสร็จสิ้นการสอนในภาคการศึกษานั้นๆ

          "คณะกรรมการอํานวยการสอบ" หมายถึง คณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้มีหน้าที่ในการ อํานวยการสอบให้เป็นไปตามกําหนดการสอบให้เรียบร้อย ด้วยความเที่ยงธรรม บรรลุวัตถุประสงค์ อํานวยความ สะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่คุมสอบในเรื่องที่พัก ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่างๆเพื่อให้เดินทางด้วยความสะดวก ปลอดภัย และให้ปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัย
          "คณะกรรมการดําเนินการสอบ" หมายถึง คณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้มีหน้าที่ ควบคุมดูแลการรับส่งข้อสอบ สมุดคําตอบ และกระดาษคําตอบ ดูแลการคุมสอบ วินิจฉัยกรณีเข้าสอบสาย การ ทุจริตในการสอบ และดูแลความเรียบร้อยทั่วไปในการสอบให้มีข้อปฏิบัติสําหรับนิสิตเกี่ยวกับการสอบเป็นมาตรฐาน เดียวกันทุกศูนย์สอบ
          "คณะกรรมการจัดทําข้อสอบ" หมายถึง คณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้มีหน้าที่ เตรียมการและดําเนินการในการจัดทําข้อสอบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด จัดชุดข้อสอบแยกข้อสอบ ตามรายวิชา บรรจุข้อสอบพร้อมสมุดคําตอบ กระดาษคําตอบ และรายชื่อใส่ซองข้อสอบ จัดพิมพ์รายชื่อพร้อมเลขที่ นั่งสอบ จัดเตรียมแผ่นไวนิลข้อปฏิบัติในการสอบติดประกาศที่หน้าห้องสอบ และจัดเก็บข้อสอบที่ใช้ในการสอบ
          "กรรมการคุมสอบ" หมายถึง ผู้ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมห้องสอบวิชาใดวิชาหนึ่งของ การสอบ มีหน้าที่ควบคุมการสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
          "อาจารย์ประจําวิชา" หมายถึง อาจารย์ผู้รับผิดชอบสอนประจํารายวิชาหนึ่งรายวิชาใดที่เปิดสอน ในมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

     ข้อ 5 ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจออกคําสั่ง หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้ เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีที่จะต้องมีการดําเนินการใดๆ ที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือในกรณีที่มีความจําเป็น อย่างยิ่ง ต้องผ่อนผันข้อกําหนดตามระเบียบนี้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้การบริหารและดําเนินงานเป็นไปด้วยความ เรียบร้อย ให้อธิการบดีมีอํานาจตีความ วินิจฉัย สั่งการและปฏิบัติตามที่เห็นสมควรและให้ถือเป็นที่สุด

     ข้อ 6 การแต่งกาย นิสิตต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกําหนด ยกเว้นนิสิตที่ศึกษาใน หลักสูตร ระบบการศึกษาทางไกลเครือข่าย และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ให้นิสิตชายสวมเสื้อเชิ้ต กางเกงขายาวทรง สุภาพ และสวมรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าคัตชูแบบสุภาพ ส่วนนิสิตหญิงให้สวมกระโปรงหรือกางเกงขายาวทรงสุภาพ เรียบร้อย และสวมรองเท้าหุ้มส้น หรือรัดส้น ทรงสุภาพ

     ข้อ 7 ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ
          7.1 เป็นผู้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้น และต้องเป็นผู้ที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์การเข้าสอบในรายวิชานั้น
          7.2 ต้องมีเวลาเรียนรายวิชานั้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด สําหรับรายวิชาที่เป็น ภาคปฏิบัตินิสิตต้องปฏิบัติงานในรายวิชานั้นจนครบตามกําหนดของรายวิชานั้นๆ ทั้งนี้ยกเว้นอาจารย์ประจําวิชาจะ กําหนดเป็นอย่างอื่น
          7.3 ต้องไม่ถูกลงโทษตัดสิทธิ์การสอบจากมหาวิทยาลัย 

     ข้อ 8 การเข้าห้องสอบ
          8.1 ห้ามเข้าห้องสอบก่อนได้รับอนุญาตจากกรรมการคุมสอบ
          8.2 ให้นําเฉพาะอุปกรณ์ที่จําเป็นในการทําข้อสอบคือ ปากกา ดินสอ ยางลบ น้ํายาลบคําผิดวางไว้ บนโต๊ะสอบเท่านั้นในกรณีรายวิชาที่มีการคํานวณให้ใช้เครื่องคํานวณรุ่นที่มีคุณสมบัติที่มหาวิทยาลัยกําหนดและ อนุญาตเท่านั้น
          8.3 ห้ามนําโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจัดการข้อมูล และ เอกสารใดๆ เข้าห้องสอบ เว้นแต่อาจารย์ประจําวิชาอนุญาตไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
          8.4 ผู้ที่มาหลังจากเริ่มทําการสอบไปแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบ ยกเว้นแต่จะมีเหตุผลอัน สมควร โดยให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของประธานคณะกรรมการสอบ หรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการสอบมอบหมาย ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 45 นาทีหลังจากเวลาที่เริ่มสอบแล้ว
          8.5 นิสิตต้องเข้าห้องสอบและนั่งสอบตามเลขที่นั่งที่คณะกรรมการสอบได้จัดไว้ให้

     ข้อ 9 การปฏิบัติตนระหว่างการสอบ
          9.1 นิสิตต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคําสั่งของกรรมการคุมสอบ
          9.2 ให้นิสิตผู้เข้าสอบแสดงบัตรประจําตัวนิสิต หรือบัตรอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายและ ลายมือชื่อ ให้กรรมการคุมสอบตรวจสอบก่อนลงนามในบัญชีผู้เข้าสอบ
          9.3 นิสิตต้องมีเครื่องใช้ของตนเอง ห้ามหยิบยืมเครื่องใช้กันในห้องสอบ
          9.4 ห้ามทําการทุจริต หรือกระทําการใดๆ ที่ส่อเจตนาทุจริต
          9.5 ห้ามสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มใดๆ ในห้องสอบ
          9.6 หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับข้อสอบให้ทําไปตามที่ปรากฏในข้อสอบหรือตามที่เห็นสมควร หรือ ถามกรรมการคุมสอบ
          9.7 ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องออกจากห้องสอบ ต้องได้รับอนุญาตจากกรรมการคุมสอบเสียก่อน
          9.8 เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณหรือประกาศจากกรรมการคุมสอบว่าหมดเวลาสอบให้ยุติการเขียนใดๆ โดยทันที

     ข้อ 10 การส่งกระดาษคําตอบ
          10.1 ให้กรอกข้อความลงบนปกสมุดคําตอบในครบถ้วน ถ้าเป็นกระดาษคําตอบให้กรอกข้อความหัว กระดาษทุกแผ่น
          10.2 ให้วางกระดาษคําตอบและหรือสมุดคําตอบไว้บนโต๊ะที่นั่งสอบของตน หรือตามที่กรรมการคุม สอบกําหนดให้

     ข้อ 11 การออกจากห้องสอบ
          11.1 ห้ามนําข้อสอบและกระดาษเขียนคําตอบออกไปนอกห้องสอบ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก อาจารย์ประจําวิชาที่ได้ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
          11.2 นิสิตจะออกจากห้องสอบได้หลังจากเวลาที่กําหนดให้เริ่มสอบแล้วไม่น้อยกว่า 45 นาที
          11.3 เมื่อสอบเสร็จก่อน ต้องออกไปให้พ้นบริเวณห้องสอบและไม่ทําการใดๆ อันเป็นการรบกวนผู้ที่ ยังสอบอยู่

     ข้อ 12 กรณีขาดสอบ เมื่อมีเหตุสุดวิสัยทําให้นิสิตไม่สามารถเข้าสอบรายวิชาหนึ่งรายวิชาใดตามวันเวลาที่กําหนดไว้ได้ ให้ นิสิตปฏิบัติดังนี้
          12.1 ให้นิสิตยื่นคําร้องต่อมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาการอนุญาตให้สอบสอบกรณีขาดสอบ
          12.2 เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้นิสิตขอสอบกรณีขาดสอบให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัย กําหนด

     ข้อ 13 การทุจริตในการสอบ หมายถึง การกระทําของนิสิตในกรณีต่อไปนี้
          13.1 นําข้อสอบหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบออกนอกห้องสอบ
          13.2 มีข้อความใดๆ อยู่ในสิ่งของหรือที่ตัวนิสิตหรือมีเอกสารอันอาจเป็นประโยชน์ต่อการสอบ
          13.3 มีเจตนาคัดลอกคําตอบของผู้อื่น และหรือให้คําตอบของตนเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้อื่น
          13.4 มีการกระทําใดๆ ที่ส่อเจตนาที่จะใช้ข้อสอบและเอกสารในการสอบเพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือ
          13.5 มีการรับ - ส่งสัญญาณทุกประเภท
          13.6 มีการเข้าสอบแทนกันนับเป็นการทุตริตทั้งผู้เข้าสอบแทนและผู้ให้เข้าสอบแทน

     ข้อ 14 บทลงโทษ
          14.1 นิสิตผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ถือว่ามีเจตนาฝ่าฝืน ส่อเจตนาทุจริต หรือทุจริต และได้รับโทษ ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
               14.1.1 ปรับตกในรายวิชานั้น หรือ
               14.1.2 ปรับตกในทุกรายวิชาที่เข้าสอบแล้ว สําหรับภาคการศึกษานั้น หรือ
               14.1.3 ปรับตกในทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนสําหรับภาคการศึกษานั้น และ ให้พิจารณาโทษทาง วินัยตามความในข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
               14.1.4 ทําทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรทุกกรณี
          14.2 ขั้นตอนในการลงโทษ
               14.2.1 ให้กรรมการคุมสอบอย่างน้อย 2 คน ทํารายงานเสนอต่อประธานคณะกรรมการ ดําเนินการสอบ ในกรณีที่นิสิตทุจริต เจตนาทุจริต หรือฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในระเบียบนี้
               14.2.2 ให้คณะกรรมการคุมสอบหรือคณะทํางานที่แต่งตั้งโดยมหาวิทยาลัย รวบรวมหลักฐาน ข้อเท็จจริงต่างๆ ใน ข้อ 14.2.1 โดยให้โอกาสนิสิตได้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วนําเสนอต่อมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาโทษ ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน หลังจากวันสุดท้ายของการส่งผลการเรียน (สําหรับอาจารย์) ตามปฏิทินการศึกษาของ มหาวิทยาลัย

     ข้อ 15 นิสิตที่ถูกสั่งลงโทษตามระเบียบนี้ อาจอุทธรณ์ได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
          15.1 ให้ยื่นอุทธรณ์ต่ออธิการบดีภายในกําหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคําสั่งลงโทษ โดยต้องทําเป็น หนังสือลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์
          15.2 การอุทธรณ์คําสั่งลงโทษให้อุทธรณ์ได้สําหรับตนเองเท่านั้น จะอุทธรณ์แทนคนอื่นหรือ มอบหมายให้คนอื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
          15.3 ให้อธิการบดีมีอํานาจพิจารณาวินิจฉัย มีคําสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือยกโทษตามควรแก่กรณี โดยความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ

     ข้อ 16 การยกเลิกการสอบในกรณีที่มีสาเหตุสุดวิสัย หรือเหตุการณ์ไม่ปกติที่ทําให้การสอบดําเนินการไม่ สมบูรณ์ ให้คณะเสนอขออนุมัติต่อมหาวิทยาลัย

     ข้อ 17 ให้คณะมีอํานาจกําหนดรายละเอียดอื่นใดที่เกี่ยวกับการสอบของนิสิตเพิ่มเติมที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ ระเบียบนี้

     ข้อ 18 การสอบกลางภาค หรือการสอบครั้งสุดท้ายของรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนระบบชุดวิชา หรือ ระบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ระบบทวิภาค ให้ใช้แนวปฏิบัติในการสอบตามระเบียบนี้ได้โดยอนุโลม

     ข้อ 19 กรรมการคุมสอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบอย่างเคร่งครัด และต้องไม่กระทําการใดๆ ที่เป็นการ เอื้ออํานวยให้เกิดการทุจริตในการสอบหรือละเว้นไม่ดําเนินการตามระเบียบ