วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวารสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยและผลงานวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องยินยอมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอ บทความวิจัย บทความ
วิชาการ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงในเนื้อหาและอ้างอิงในท้ายบทความ(References) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร ในรูปแบบของ แวนคูเวอร์ (Vancouver Style)
ความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงาน
ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร
1. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวารสารราย 6 เดือน (2ฉบับ/ปี) โดยมีกำหนดออก ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม
2. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดพิมพ์เพื่อเป็นแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้วิชาการ สำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ ตลอดจนนิสิต นักศึกษาประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร
1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านแพทยศาสตร์, ทันตแพทยศาสตร์ ,สาธารณสุขศาสตร์ ,พยาบาลศาสตร์, เทคนิคการแพทย์ , สัตวแพทย์ และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่
นโยบายพิจารณากลั่นกรองบทความ
1. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ รับพิจารณาบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
2. ขอบเขตของวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ จะครอบคลุมเนื้อหา เกี่ยวกับด้านแพทยศาสตร์, ทันตแพทยศาสตร์ ,สาธารณสุขศาสตร์ ,พยาบาลศาสตร์, เทคนิคการแพทย์ , สัตวแพทย์ และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review)
4. ผู้เขียนจะต้องศึกษารูปแบบและตรวจสอบการเขียนบทความให้ตรงตามรูปแบบของวารสาร
กำหนดออกเผยแพร่
วารสาร
วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นวารสาร ราย 6 เดือน (2ฉบับ/ปี) โดยมีกำหนดออก ดังนี้
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน
ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม
กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ
วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหรือภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯซึ่งมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
ชื่อ - นามสกุล | ตำแหน่ง | สังกัด |
---|---|---|
รองศาสตราจารย์ ดร.จิรศักดิ์ จิยะจันทน์ | ที่ปรึกษา | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
ดร.จุรีวรรณ มณีแสง | บรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ทพ.วินัย ศรีวิจิตร | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
ศาสตราจารย์ (วุฒิคุณ) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
ศาสตราจารย์ ดร.ทพ.สิทธิชัย ขุนทองแก้ว | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
รองศาสตราจารย์ ทพญ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปะนันทน์ | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเนชั่น |
รองศาสตราจารย์ ภกญ.วรรณดี แต้โสถถิกุล | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
รองศาสตราจารย์ อภิรัช อินทรางกูล | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ วรสีหะ | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ทนงศักดิ์ มะมม | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร |
ดร.จิติมา กตัญญู | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเนชั่น |
ดร.สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเนชั่น |
ดร.เจนวิทย์ นพวรท | กองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยสยาม |
ผศ.ดร.มยุรี เสือคำราม | เลขากองบรรณาธิการ | มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น |
การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ
1) ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น
2) กระดาษ A4 มีความยาวระหว่าง 10-15 หน้า (รวมหน้า References) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว 1 คอลัมน์ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS (ขนาดอักษร 16 pt.)
3) ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ขอบบน – ล่าง.1.23 นิ้ว ขอบขวา - ซ้าย 1.06 นิ้ว
4) การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขและชื่อกำกับใต้รูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ รูปภาพที่ 1 หรือ Figure 1 โมเดลที่ 1 หรือ Model 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ
5) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทย (18 pt.) และภาษาอังกฤษ (18 pt.) ตรงกลางหน้ากระดาษ
6) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (14 pt.) ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า นาย/นาง/นางสาว/คุณ/ยศตำแหน่ง (ยกเว้นกรณีเป็นพระภิกษุ) พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบขวา และใช้ตัวเลขยกกำกับหน้าชื่อผู้เขียนแสดงชื่อหน่วยงาน
7) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 500 คำต่อบทคัดย่อ
8) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) จากชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)
9) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด (16 pt. ตัวหนา) ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อย (16 pt. ตัวหนา)
10) การใช้ตัวเลขตลอดทั้งบทความ ต้องใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ไม่ใช้ตัวเลขไทย
รูปแบบบทความวิจัย
บทความวิจัยมีองค์ประกอบหัวข้อ ดังนี้
1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (18 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)
2) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียนบทความ (ภาษาไทย 14 pt.)
- ผู้เขียนระบุเลขยกหน้าชื่อผู้เขียนแต่ละท่าน
3) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน (ภาษาอังกฤษ 14 pt.)
4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา
- (คณะหรือสถาบันที่ต่างกันระบุเลขยกตามลำดับ)
5) Faculty, Institute, Thailand. (อังกฤษ 14 pt.) ไม่ต้องหนา
6) Corresponding Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 14 pt.)
7) บทคัดย่อ (หัวเรื่อง 16 pt., เนื้อความ 14 pt., 500 คำ, ระบุวัตถุประสงค์วิจัย ประเภทของงานวิจัย กลุ่มประชากร พื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูล (สถิติ, เชิงพรรณนา) และผลการวิจัยตามลำดับของวัตถุประสงค์)
8) คำสำคัญ (14 pt.) (3 – 5 คำ ตามชื่อของบทความ คั่นด้วยเครื่องหมาย Semicolon ;)
9) Abstract (16 pt., เนื้อความ 14 pt.) (แปลรักษารูปคำและประโยคให้ตรงกับภาษาไทย ไม่แปลสรุปย่อ ไม่แปลจับประเด็น ไม่แปบขยายความ ใส่ตัวเลขข้อย่อหน้า วรรคตอน ลำดับหัวข้อหลัก หัวข้อรอง ให้ตรงกับภาษาไทย)
10) keywords (14 pt.)
11) บทนำ (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) แบ่งเป็นสี่ย่อหน้า ดังนี้
- ความเป็นมา บริบท สภาพปัญหาของประเด็น (อ้างอิง)
- กรณีที่ศึกษา/กรณีพื้นที่ (อ้างอิง)
- หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)
- แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา (ต้องสะท้อนเชื่อมโยงกับประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น และระบุเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์) เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ ที่หวังได้จากการศึกษา
12) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
1. เพื่อ................................................................................................
2. เพื่อ................................................................................................
3. เพื่อ................................................................................................
13) สมมุติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)
14) กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)
15) วิธีดำเนินการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาด้านเนื้อเอกสารแนวคิดทฤษฎี (Documentary Study)
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาในภาคสนาม (Field Study)
ขั้นตอนที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
ขั้นตอนที่ 4 เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการศึกษา
1) การสัมภาษณ์ (In–depth Interviews)
2) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion)
3) ศึกษาและติดตามผลการปฏิบัติ/ทดลอง/ฝึกอบรม
ขั้นตอนที่ 5 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 7 สรุปผลการศึกษาวิจัย และ การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย
(Presentation of the Research Results)
16) ผลการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
วัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
วัตถุประสงค์ที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
วัตถุประสงค์ที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
17) สรุป (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) สรุปภาพรวมครอบคลุมผลการวิจัย เป็นความเรียงไม่ใส่เลขเป็นข้อมาตรา ไม่เอียง ไม่หนา ไม่แทรกภาพโมเดล (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)
18) อภิปรายผลการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสอดคล้อง ความเหมือน ความแตกต่างกับกรอบแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยอื่นๆในอดีตที่ผ่านมาอย่างไร
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ...................................................................................... (อ้างอิง)
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ..................................................................................... (อ้างอิง)
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ..................................................................................... (อ้างอิง)
19) ข้อเสนอแนะ (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
1. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์
1) พบว่า ............................................................ดังนั้น
2) พบว่า ............................................................ดังนั้น
3) พบว่า ............................................................ดังนั้น
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป (ต้องเกี่ยวเนื่องต่อยอดจากบทความนี้)
1) ...........................................................................................................................
2) ............................................................................................................................
3) ............................................................................................................................
20) เอกสารอ้างอิง (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) ในรูปแบบของ รูปแบบแวนคูเวอร์(Vancouver Style)
เฉพาะบทความวิจัยควรมีการอ้างอิง แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกๆอ้างอิง ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสาร และเรียงลำดับตามตัวอักษร (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ)
บทความวิชาการ
มีองค์ประกอบหัวข้อ ดังนี้
1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (18 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)
2) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียนบทความ (ภาษาไทย 14 pt.)
- ผู้เขียนระบุเลขยกหน้าชื่อผู้เขียนแต่ละท่าน
3) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน (ภาษาอังกฤษ 14 pt.)
4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา
- (คณะหรือสถาบันที่ต่างกันระบุเลขยกตามลำดับ)
5) Faculty, Institute, Thailand. (อังกฤษ 14 pt.) ไม่ต้องหนา
6) Corresponding Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 14 pt.)
7) บทคัดย่อ (หัวเรื่อง 16 pt., เนื้อความ 16 pt., 500 คำ)
(นำเสนอประเด็นปัญหา หลักการ แนวคิด ทฤษฎี แนวทาง วิถีปฏิบัติในเชิงวิชาการ
ข้อค้นพบ มุมมอง ทัศนะ ที่สะท้อนทางออก ทางเลือก องค์ความรู้ใหม่ โดยเขียนให้กระชับ จัดลำดับหมวดหมู่ แยกข้อ แยกประเด็น ให้เห็นชัดเจน)
8) คำสำคัญ (14 pt.) (3 – 5 คำ ตามชื่อของบทความ คั่นด้วยเครื่องหมาย Semicolon ;)
9) Abstract (16 pt., เนื้อความ 14 pt.)
(แปลรักษารูปคำและรูปประโยคให้ตรงกับภาษาไทย ไม่แปลสรุปย่อ ไม่แปลจับประเด็น
ไม่แปรขยายความ) (ใส่ตัวเลขข้อ ย่อหน้า วรรคตอน ลำดับหัวข้อหลัก, หัวข้อรอง ให้ตรงกับภาษาไทย)
10) keywords (14 pt.)
11) บทนำ (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) สามหรือสี่ย่อหน้า ดังนี้
- ความเป็นมา บริบท สภาพปัญหาของประเด็นที่ศึกษา/กรณีที่ศึกษา/กรณีพื้นที่(อ้างอิง)
- หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการ
ส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)
- แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ ที่หวังได้จากการศึกษา
12) เนื้อเรื่อง (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
- บริบทความเป็นมา ประเด็นปัญหา แสดงสาระสำคัญภายใต้กรอบแนวคิดในเชิงวิชาการ นำเสนอตามลำดับแยกประเภทหมวดหมู่ ความสำคัญมาก ความสำคัญน้อย ประเด็นหลัก ประเด็นรอง โดยใส่ลำดับเลขข้อ ย่อหน้า วรรคตอน ให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจน (อ้างอิง)
- นำเสนอหลักการ แนวคิด ทฤษฎี แนวทางปฏิบัติ ที่สะท้อนมุมมอง องค์ความรู้ใหม่ อย่างเป็นเป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ เป็นขั้นตอน เพื่อเป็นทางเลือกหรือทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา โดยสอดคล้องกับหลักวิชาการ (อ้างอิง)
13) สรุป (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
สรุปภาพรวมครอบคลุมผลการศึกษาที่นำเสนอ เป็นความเรียงไม่ใส่เลขเป็นข้อมาตรา
ไม่เอียง ไม่หนา ไม่แทรกภาพโมเดล สะท้อนคุณค่าทางวิชาการ (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)
14) ข้อเสนอแนะ (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
จากผลการศึกษา ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ของหน่วยงานและองค์กรตลอดถึงการพัฒนาประสิทธิภาพส่วนบุคคล ตลอดถึงการเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อยอดสำหรับผู้ที่สนใจ
1. ข้อเสนอแนะจากการศึกษา (เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ใคร หน่วยงานใด อย่างไร)
1)……………………………………………………………………….............................................
2)……………………………………………………………………….............................................
3)……………………………………………………………………….............................................
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป (ต้องเกี่ยวเนื่องต่อยอดจากบทความนี้)
1) ...........................................................................................................................
2) ............................................................................................................................
3) ............................................................................................................................
15) References (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) ในรูปแบบของ รูปแบบแวนคูเวอร์(Vancouver Style) แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกๆอ้างอิง ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสาร และเรียงลำดับตามตัวอักษร (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ) (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏในเนื้อหาบทความ)
สิทธิของบรรณาธิการ
ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์บทความ ในกรณีที่ผลการประเมินบทความไม่ผ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิ และในกรณีที่บทความวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่แก้ไขให้เป็นไปตามคำแนะนำของกองบรรณาธิการและผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งนี้ หากมีการตรวจพบหรือมีการร้องเรียนว่า บทความมีความซ้ำซ้อน หรือซ้ำซ้อนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือได้เคยตีพิมพ์เผยแพร่บทความมาก่อนแล้ว ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะใช้ดุลยพินิจ ปฏิเสธและระงับการเผยแพร่บทความนั้น
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
1. ผู้เขียนบทความจะต้องไม่ส่งบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
2. ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย จะต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
3. ผู้เขียนจะต้องจัดทำต้นฉบับของบทความตาม "คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
4. ผู้เขียนที่มีชื่อในบทความจะต้องเป็นผู้มีส่วนในการจัดทำบทความหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัย
5. ผู้เขียนจะต้องอ้างอิงผลงาน ภาพ หรือตาราง หากมีการนำมาใช้ในบทความของตนเอง โดยให้ระบุ “ที่มา” เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (หากมีการฟ้องร้องจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น)
6. ผู้เขียนจะต่้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
7. ผู้เขียนจะต้องแก้ไขบทความตามผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
8. ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
9. ผู้เขียนไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่ถูกถอดถอนออกไปแล้ว เว้นแต่ข้อความที่ต้องการสนับสนุนนั้นเป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถอดถอน และจะต้องระบุไว้ใน เอกสารอ้างอิงด้วยว่า เป็นเอกสารที่ได้ถูกถอดถอนออกไปแล้ว
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และต้องคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ และจะต้องมีข้อความรู้ที่สะท้อนมุมมอง แนวคิดเชิงทฤษฎีที่ได้จากประสบการณ์ การสังเคราะห์เอกสาร หรืองานวิจัย มุ่งเน้นการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีใหม่รวมถึงแบบจำลองเชิงแนวคิด (Conceptual Model) ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันจะนำไปสู่การวิจัยในหัวข้อวิชาการที่สำคัญ
2. บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ
3. บรรณาธิการจะต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว โดยต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น อย่างจริงจัง และใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากตรวจพบ การคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนบทความหลักทันที เพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
4. บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน และผู้ประเมิน
5. บรรณาธิการต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
6. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่
7. หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียนซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2. หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความ ตระหนักว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่มีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงานหรือระบุผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้เขียนบทความไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วยผู้ประเมินไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
5. เมื่อผู้ประเมินบทความพบว่า มีส่วนใดของบทความ ที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
เล่มวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาศาสตร์สุขภาพ