วัคซีน COVID-19 The Series ตอนที่ 3 วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine)

RSS
วัคซีน COVID-19 The Series ตอนที่ 3 วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine)
วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine หรือ Killed vaccine) เป็นวัคซีนที่มีการผลิตโดยใช้เชื้อไวรัสโรค COVID-19 ที่ตายแล้ว ซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วจะไม่ทำให้เกิดโรคแต่จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้รับรู้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย หลังจากนั้นร่างกายก็จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ COVID-19 เป็นวิธีเดียวกับการผลิตวัคซีนตับอักเสบเอและวัคซีนโปลิโอ จึงมีความปลอดภัยต่อผู้รับวัคซีนโดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องมากกว่า
บริษัทที่ผลิตวัคซีนขนิดนี้คือ บริษัท Sinovac และ Sinopharm
ข้อดี ของวัคซีนในกลุ่มนี้ คือ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีมานาน จึงมีประสบการณ์และความมั่นใจในการใช้เป็นอย่างดี
ข้อจำกัด คือ ราคาวัคซีนอาจจะค่อนข้างสูง เนื่องจากกรรมวิธีในการผลิตต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับที่ 3
ประสิทธิภาพของวัคซีน
Sinovac ได้รับการรับรองจาก WHO ในการฉีดเพื่อป้องกันโรค COVID-19 โดยมีประสิทธิป้องกันโรค COVID-19 ได้ 51% และสามารถป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ 100% แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดในการป้องกันการแพร่เชื้อ กำหนดให้ฉีด 2 โดส ห่างกัน 4 สัปดาห์

วัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยบริษัท Sinovac (ปารณีย์, 2564)
Sinopharm ได้รับการรับรองจาก WHO ในการฉีดเพื่อป้องกันโรค COVID-19 สามารถป้องกันโรค COVID-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมได้ 79% หลังจากได้รับวัคซีน ส่วนเรื่องความสามารถในการป้องกันการแพร่เชื้อของโรค COVID-19 นั้น WHO ยังไม่มีผลการทดสอบที่ชัดเจน กำหนดให้ฉีด 2 โดส ห่างกัน 3-4 สัปดาห์
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน
Sinovac: มีรายงานเพิ่มเติมว่านอกจากอาการข้างเคียงเบื้องต้นแล้ว ยังมีโอกาสพบอาการเบื่ออาหาร เจ็บคอ น้ำมูกไหล รวมถึงอาการคล้ายอัมพฤกษ์ แขนขาอ่อนแรง ไปจนถึงหลอดเลือดสมองหดตัวอีกด้วย มีอัตราการแพ้รุนแรงที่ 12 ต่อ 1,000,000 โดส
Sinopharm: WHO ยังไม่มีรายงงานเรื่องอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนนี้

วัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยบริษัท Sinopharm (Jan, 2021)

แผนผังเปรียบเทียบวัคซีนชนิดเชื้อตายระหว่างบริษัท Sinopharm และ Sinovac (บีบีซีไทย, 2564)
บรรณานุกรม
  1. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. (2564). วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine). สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก http://guruvaccine.com/elearn/.
  2. BBC ไทย. (2564). เปรียบเทียบซิโนแวคและซิโนฟาร์ม. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-57525497.
  3. ปารณีย์ สิงหเสนี. (2564). Sinovac. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://thaipublica.org/2021/04/covid-19-vaccine-sinovac/.
  4. (2564). Sinopharm. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.brandbuffet.in.th/2021.

โพสต์ก่อนหน้า โพสต์ถัดไป

  • Admin WTU Website