คณะสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต. สถานการณ์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจหลายชนิด ทั้งเพื่อการบริโภค ในประเทศและเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารของโลก แต่จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกที่มีการกีดกั้นทางการค้า ด้วยการใช้มาตรการทางสุขภาพอนามัยเป็นประเด็นสำคัญ การส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต้องได้มาตรฐานสากล มีการตรวจสอบกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนก่อนการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความผันผวนจากเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก ทำให้ประเทศไทยต้องผลักดันให้ผู้ผลิตภายในประเทศไทยปรับตัวให้สามารถแข่งขันบนฐานความรู้และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่กับต่างประเทศ
ประเทศไทยต้องสร้างความได้เปรียบด้านฐานการผลิตในภาคการเกษตร พัฒนามูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้เน้นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้านการสัตวแพทย์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการดำเนินการดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ การส่งเสริมและป้องกันสุขภาพสัตว์และสวัสดิการสัตว์ ตลอดจนสร้างความได้เปรียบด้านฐานการผลิตในด้านการปศุสัตว์ไทย เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาธุรกิจด้านการปศุสัตว์อันจะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจการเกษตรประเทศไทยเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น สถานการณ์และการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีวัฒนธรรมแบบเครือญาติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จะเห็นได้จากการมีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน อาทิเช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว แบ่งปันข้าวปลาอาหาร เป็นต้น แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้คนเรารับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเปิดรับวัฒนธรรมจากต่างชาติได้รวดเร็วและง่ายมากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ชีวิตมีความรีบเร่ง แข่งขัน และต้องพึ่งพาตนเองเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่การพัฒนาทางสังคมของประเทศไทยยังไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชาชนทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการแพร่กระจายของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดโรคอุบัติใหม่ในสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ และสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชน และความเชื่อมั่นในสินค้าประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของต่างประเทศ ทำให้กระทบต่อการส่งออกสินค้าและระบบเศรษฐกิจของประเทศ
“To be a leading institute in veterinary medicine education to obtain graduates with moral knowledge and serve the society with quality.”
สถานการณ์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจหลายชนิด ทั้งเพื่อการบริโภค ในประเทศและเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารของโลก แต่จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกที่มีการกีดกั้นทางการค้า ด้วยการใช้มาตรการทางสุขภาพอนามัยเป็นประเด็นสำคัญ การส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต้องได้มาตรฐานสากล มีการตรวจสอบกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนก่อนการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความผันผวนจากเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก ทำให้ประเทศไทยต้องผลักดันให้ผู้ผลิตภายในประเทศไทยปรับตัวให้สามารถแข่งขันบนฐานความรู้และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่กับต่างประเทศ ประเทศไทยต้องสร้างความได้เปรียบด้านฐานการผลิตในภาคการเกษตร พัฒนามูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร
นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้เน้นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้านการสัตวแพทย์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการดำเนินการดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ การส่งเสริมและป้องกันสุขภาพสัตว์และสวัสดิการสัตว์ ตลอดจนสร้างความได้เปรียบด้านฐานการผลิตในด้านการปศุสัตว์ไทย เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาธุรกิจด้านการปศุสัตว์อันจะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจการเกษตรประเทศไทยเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น สถานการณ์และการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีวัฒนธรรมแบบเครือญาติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จะเห็นได้จากการมีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน อาทิเช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว แบ่งปันข้าวปลาอาหาร เป็นต้น แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้คนเรารับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเปิดรับวัฒนธรรมจากต่างชาติได้รวดเร็วและง่ายมากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ชีวิตมีความรีบเร่ง แข่งขัน และต้องพึ่งพาตนเองเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่การพัฒนาทางสังคมของประเทศไทยยังไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชาชนทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการแพร่กระจายของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดโรคอุบัติใหม่ในสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ และสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชน และความเชื่อมั่นในสินค้าประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของต่างประเทศ ทำให้กระทบต่อการส่งออกสินค้าและระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ปี 2552
6 ปีการศึกษา
โรงพยาบาลสัตว์และศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตกาญจนบุรี
สภามหาวิทยาลัย สัตวแพทยสภา และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน | 23,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียน (6 ปี) 120,000 บาท/ปี | 1,200,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 1,223,000 | บาท |
มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดระบบการชำระค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเป็นแบบระบบเหมาจ่าย(ค่าลงทะเบียนเรียน ค่าหอพัก) กล่าวคือค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาตลอดหลักสูตรสัตวแพทย์ศาสตร์บัณฑิต เป็นจำนวนเงิน 1,200,000 บาท (ปีการศึกษาละ 200,000 บาท) เป็นระยะเวลา 6 ปีการศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ
นิสิตต้องชำระรายการ ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ค่าปรับพื้นฐาน รวมเป็นเงิน 23,000 บาท ( สองหมื่นสามพันบาทถ้วน ) ในวันที่สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ "กรณีผ่านการคัดเลือก" และนิสิตที่ผ่านคัดเลือกซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ./กรอ.) และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมการศึกษานั้น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้กำหนดให้กูยืมค่าเล่าเรียนไม่เกินปีละ 200,000 บาท และค่าครองชีพไม่เกินปีละ 36,000 บาท (นิสิตจะไม่ต้องชำระส่วนต่างของค่าลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติม เนื่องจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้กู้ยืมเงินค่าลงทะเบียนเรียนได้เต็มจำนวน) เมื่อชำระค่าสมัครเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดจน ชำระค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนแล้ว ภายหลังไม่ประสงค์จะเข้าศึกษา หรือต้องการสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัยฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนค่าใช้จ่ายไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
ค่าหอพัก ห้องปรับอากาศ ณ วิทยาเขตวัชรพล พักอาศัย 1 คน/ห้อง | |||
---|---|---|---|
(1) | ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์หอพัก เมื่อแรกเข้าพัก คนละ | 3,500 | บาท |
(2) | ค่าหอพัก (6 ปี) 45,600 บาท/ปี | 273,600 | บาท |
รวมทั้งหมด | 277,100 | บาท | |
หมายเหตุ | (1) ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 7 บาท | ||
(2) ค่าน้ำ คิดเป็นเหมาจ่ายปีละ 600 บาท/คน |
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้กำหนดให้เงินกู้ยืมค่าลงทะเบียนเรียนไม่เกินปีละ 200,000 บาท และค่าครองชีพไม่เกินปีละ 36,000 บาท ดังนั้น นิสิตจะต้องชำระส่วนต่างค่าลงทะเบียนเรียนเป็นจำนวนเงิน 700,000 บาทต่อปี ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ (350,000 บาทต่อภาคการศึกษา)
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน | 23,000 | บาท |
---|---|---|---|
รวมทั้งหมด | 23,000 | บาท |
เมื่อชำระค่าสมัครเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดจนชำระค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนแล้ว ภายหลังไม่ประสงค์จะเข้าศึกษาหรือต้องสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัยฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนค่าใช้จ่ายไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจาก คณะสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น