กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และการบริหารจัดการในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลายสามารถสร้างวิสัยทัศน์และผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลาย พัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ และบูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารยุคใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและสอด
“บริหารรัฐกิจเป็นมิตรปวงชน”
กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และการบริหารจัดการในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลายสามารถสร้างวิสัยทัศน์และผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลาย พัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ และบูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารยุคใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและสอด
ปี 2551
3 ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตวัชรพล
สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 8,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด) | 495,000 | บาท |
(3) | ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์ | 60,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 550,000 | บาท |
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
การศึกษาในแผนนี้นิสิตต้องจัดทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และทําดุษฎีนิพนธ์ควบคู่ ไปกับการสัมมนาทางวิชาการภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์โดย
ศึกษาเฉพาะหมวดดุษฎีนิพนธ์ โดยอาจลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการที่ ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้ความเห็น โดยไม่คิดค่าคะแนน
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | - | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 48 | หน่วยกิต |
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และ ทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงานต่อที่ประชุมการ สัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบ โดย
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 15 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 51 | หน่วยกิต |
นิสิตอาจต้องศึกษาในรายวิชาต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของบัณฑิตวิทยาลัย
ศึกษาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการเข้าถึงและใช้สารสนเทศทางรัฐประศาสนศาสตร์และ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ กระบวนการและเทคนิคการค้นคืนสารสนเทศและความรู้ในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) การเข้าถึงปัญญาประดิษฐ์ การสืบค้นผ่านระบบ OPAC การใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) ฐานข้อมูลวารสาร (e-Journals) ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (e-Theses) รวมทั้งการใช้ โปรแกรมสําเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อการวิเคราะห์และแปรผลข้อมูล
ศึกษาทักษะภาษาอังกฤษสําหรับรัฐประศาสนศาสตร์ขั้นสูง กลวิธีในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การ ตีความ เทคนิคในการอ่านบทความ ตํารา เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ การเขียนสาระสังเขป (Abstract) บทความภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ รวมทั้งรูปแบบและวิธีการเขียนการ อ้างอิงในงานเขียนทางวิชาการ รวมทั้งศึกษาค้นคว้าและทบทวนวรรณกรรมในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้อง การอ่านเพื่อการสังเคราะห์ในหัวข้อเรื่องตามความสนใจของนิสิตในด้านองค์การและการจัดการ นโยบาย สาธารณะ รวมทั้งเน้นแนวคิดและกระบวนการต่างๆ ในการบริหารงานภาครัฐทั้งในระดับชาติ นานาชาติ ภูมิภาคและ ท้องถิ่น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านการคลังและงบประมาณ เป็นต้น การนําเสนอ ผลงาน เพื่อนําไปสู่การพัฒนาเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ โดยคํานึงถึงบริบทของสังคมไทยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับ สากล
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ ปรัชญาการเมือง ความรู้ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม กฎหมายมหาชน แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการภาครัฐ การคลังและการเงินภาครัฐ ระเบียบวิธีวิจัยทาง รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการวิสาหกิจชุมชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการกับการจัดบริการสาธารณะ มิติทางเศรษฐกิจกับการบริหารภาครัฐ การตลาดสําหรับรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารสาธารณะ แนวใหม่ การจัดทําและการส่งมอบบริการสาธารณะ ธรรมาภิบาล จริยธรรมนักบริหาร การปกครองและการบริหาร ท้องถิ่น เป็นต้น โดยคํานึงถึงบริบทของสังคมไทยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับสากล และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ องค์การและการจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ศึกษาความหมายและปรัชญาการวิจัยเชิงปริมาณ ลักษณะและความเป็นศาสตร์ เงื่อนไขและการวางรูปแบบ การวิจัยทั้งที่เป็นการทดลอง และที่ไม่ใช่การทดลอง รูปแบบการเก็บข้อมูล การสร้างเครื่องมือวัด เทคนิควิธี การเลือก ตัวอย่าง กระบวนการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แบบจําลองสถิติตัวแปรเดี่ยว ตัวแปรคู่ และตัวแปรพหุ รวมทั้งการแปลความหมายจากการวิเคราะห์ด้วยสถิติที่นํามาใช้วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างตัวแปร การวิเคราะห์ องค์ประกอบ และแบบจําลองทางสถิติที่ใช้สําหรับการจัดกลุ่มตัวแปร
ศึกษาความหมายและปรัชญาของการวิจัยเชิงคุณภาพ บทบาท ขอบเขตและที่มาของการวิจัยเชิงคุณภาพ เงื่อนไขและการวางรูปแบบการวิจัย ได้แก่ สภาพปัญหา กรอบความคิดทฤษฎี การสํารวจเอกสาร ข้อสันนิษฐาน การเก็บ รวมรวมข้อมูล สภาพและบริบทของข้อมูล เครื่องมือในการวัดและการได้มาซึ่งข้อมูล ได้แก่ การสังเกตการณ์ การ สัมภาษณ์ การสนทนา การสัมภาษณ์กลุ่มเจาะลึก เทคนิคเดลฟาย การสืบสาวผลงานที่ปลอดภัย อิทธิพลจากนักวิจัย การ วิเคราะห์สาระและสังคม มิติ กระบวนการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล รวมทั้งการนําเสนอรายงานการวิจัย
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการค้นหาความรู้ของญาณวิทยา (Epistemology) ความหมาย ที่มา ธรรมชาติ และการกําเนิดของความรู้ ทําความเข้าใจกับกระบวนการสร้างและสั่งสมองค์ความรู้ที่มีอยู่ตามแนวทางของภววิทยา (Ontology) เข้าถึงหลักการสําคัญของวิธีการวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของกระบวนทัศน์ ในการศึกษาของสังคมศาสตร์ ตลอดจนการท้าทายของแนวคิดปรัชญาหลังยุคแสงสว่างทางปัญญา (Post-Enlightenment Philosophy) ซึ่งมีสกุลความคิดแนวหลังโครงสร้างนิยม (Post-structuralism) และสกุลความคิดแนวหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) วิพากษ์ด้วยการรื้อสร้าง (deconstruction) การหลุดพ้นจากการครอบงําขององค์ความรู้แบบเดิม เพื่อนําไปสู่ การสร้างและพัฒนาทฤษฎีทางสังคมศาสตร์
ศึกษาการบริหารภาครัฐในระดับนโยบายและภาคปฏิบัติ กระบวนการนโยบายสาธารณะ การศึกษาและ วิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้านต่างๆ เชื่อมโยงและบูรณาการความร่วมมือกับต่างประเทศในกรอบอาเซียนและภูมิภาค การวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ การวางแผนและการบริหารโครงการ การกําหนดทางเลือก สาธารณะ การวิเคราะห์ผลกระทบ รวมทั้งการบริหารการคลังและงบประมาณภาครัฐ การจัดการด้านทรัพยากรด้าน การเงิน การวิเคราะห์การลงทุน การเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ การบริหารการเงินขององค์การภาครัฐ การบริหารรายได้ ภาครัฐ การบริหารรายจ่ายภาครัฐ การบริหารความเสี่ยงด้านการคลังและงบประมาณ การคลังและงบประมาณท้องถิ่น การบริหารรายได้และรายจ่ายของท้องถิ่น เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น โดยคํานึงถึงบริบทของสังคมไทยและความ เปลี่ยนแปลงจากภาวะชงักงัน ความยุ่งเหยิงสับสนที่เกิดขึ้นในระดับสากล
การกําหนดหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ และการจัดทําโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา นิสิตจะต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยและเก็บรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุป อภิปรายผล ให้ข้อเสนอแนะและเขียนดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบการดําเนินการตาม ขั้นตอนและการนําเสนอดุษฎีนิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด โดยผลการวิจัยควรก่อประโยชน์ต่อสังคมหรือสร้างองค์ ความรู้ใหม่และสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ตอบโจทย์ของภาวะความท้าทายและความชงักงันสับสนที่เกิดขึ้นใน บริบทใหม่ๆ ตลอดจนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติและหรือนานาชาติ
การกําหนดหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ และการจัดทําโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษา นิสิตจะต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยและเก็บรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุป อภิปรายผล ให้ข้อเสนอแนะและเขียนดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบการดําเนินการตาม
ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ที่ให้โอกาสผมได้ศึกษา เรียนรู้วิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จนทำให้ผมสามารถทำหน้าที่ในฐานะอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ในด้านการวางแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย ได้เป็นอย่างดี ผมภูมใจที่เลือกเรียนหลักสูตรนี้กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพราะนอกจากผมจะใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพอัยการแล้ว ผมยังสามารถนำความรู้และคุณวุฒิที่ได้รับทำงานด้านวิชาการ ด้วยการเป็นอาจารย์ ผู้บรรยายพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนหลายแห่ง จนทุกวันนี้นอกจากผมเป็นอัยการ ผมยังมีบทบาทเป็นอาจารย์ด้วย ดังนั้น ผมจึงไม่ลืมโอกาสดีๆ ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นแห่งนี้
ผมเรียนและปฏิบัติงานทางด้านการทหารมาโดยตลอด และเมื่อมีความสนใจที่จะเรียนปริญญาเอก ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ เพราะมีความคิดว่าศาสตร์ทานด้าน รปศ. สามารถเชื่อมโยงกับงานด้านการทหารที่ทำ จึงได้ search หาข้อมูลจากหลายๆสถาบัน และตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ด้วยเชื่อมั่นในทีมอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การจัดการศึกษาในหลักสูตร รปศ. และในความเชื่อมั่นตรงจุดนั้น ทำให้ผมสามารถสำเร็จการศึกษา เป็น พันเอก ดร. ในวันนี้ ขอบคุณมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นที่ให้ผมมีวันนี้