กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลายสามารถนำความคิดสร้างวิสัยทัศน์และผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลายพัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์และบูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารจัดการยุคใหม่ อันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย
Teeth are Always in Fashion
กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
บัณฑิตวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลายสามารถนำความคิดสร้างวิสัยทัศน์และผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลายพัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์และบูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารจัดการยุคใหม่ อันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย
ปี 2551
3 ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตวัชรพล
สภามหาวิทยาลัย สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 8,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร (โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ 55,000 x 9 งวด) | 495,000 | บาท |
(3) | ค่าธรรมเนียมการสอบประมวลความรู้และดุษฎีนิพนธ์ | 60,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 550,000 | บาท |
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
การศึกษาในแผนนี้ นิสิตต้องจัดทําข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และทําดุษฎีนิพนธ์ควบคู่ไปกับการสัมมนา ทางวิชาการ ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ โดย
สําหรับผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยอาจลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้ความเห็น โดยไม่คิดค่าคะแนน
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | - | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 48 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | - | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 72 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 72 | หน่วยกิต |
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรโดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และทํา ข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์และจัดทําดุษฎีนิพนธ์ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์และมีการเสนอผลงานต่อที่ประชุมการ สัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์คณะกรรมการสอบ โดย
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 15 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 51 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 18 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 15 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 81 | หน่วยกิต |
นิสิตอาจต้องศึกษาในรายวิชาต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของบัณฑิตวิทยาลัย
ศึกษาความสําคัญองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:IT) เพื่อแสวงหา ความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศ เพื่อการสืบค้นและแสวงหาความรู้ในสังคมยุคตัวเลข (digital Society) และยุคแห่งปัญญา (intellectual Society) เรียนรู้สัมผัส ฝึกการสื่อสารแลกเปลี่ยน ข้อมูลสารสนเทศบนระบบและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ การควบคุมและการจัดการ เพื่อแสวงหาความรู้ การสืบค้น ข้อมูลสนเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ และเพื่อแสวงหาความรู้ในการพัฒนาวิชาการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ศึกษา รวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลและใช้งานฐานข้อมูลสนเทศ การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสนเทศบนระบบและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมสําหรับ การวิจัยได้
ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อการสื่อสารในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่เหมาะสมกับ สาขาวิชา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทักษะการสืบค้นองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ จากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพโครงการวิจัย การอ่านและการเขียนบทความทางวิชาการ บทความวิจัย และสามารถนําเสนอ ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้นิสิตที่เลือกศึกษาแบบ 2.2 เรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของกรรมการ ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์
ศึกษาลักษณะองค์การ ทฤษฎีผู้นํา ทฤษฎีการจูงใจ รูปแบบและกระบวนการ การบริหารในองค์การ รวมถึง การวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทํางาน การสั่งการ การควบคุมการทํางานให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเน้นถึง การศึกษาเชิงแนวปฏิบัติและกรณีศึกษา
กระบวนการจัดการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ศึกษาความ คล้ายคลึงและความแตกต่าง ในส่วนของการวางแผน จัดการประเมินผล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวคิดมนุษย์นิยม และมนุษย์สัมพันธ์ และการเก็บรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ไว้กับองค์การ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้สอดคล้องกับการพัฒนา ธุรกิจขององค์การ จิตสํานึกแห่งคุณธรรม กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สหวิทยาการ กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ บทบาทของทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับบทบาทของการบริหารทรัพยากร มนุษย์ในองค์การ
แนวคิดและระบบสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศ ผลกระทบและความสําคัญของระบบสารสนเทศ ในการจัดการธุรกิจภาครัฐและเอกชนในปัจจุบัน การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ การวางแผนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ การบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ การจัดการโครงสร้าง หน่วยงานสารสนเทศ การนําระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร การบริหารงานและการประเมินผลระบบสารสนเทศ
ศึกษาทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะและการวางแผน การกําหนดนโยบายและการนํา นโยบายไปปฏิบัติตามสภาวะการณ์และพัฒนาการของสังคม
ศึกษาทฤษฎีและแนวความคิดทางการบริหารการคลัง การวิเคราะห์ด้านรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล การนํานโยบายการเงินและการคลังไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาประเทศ บทบาทของสถาบันการเงินต่างๆ ที่มีผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกต่อระบบการเงินการคลังของประเทศ
ศึกษาความหมายของการบริหารการพัฒนา แนวทางการพัฒนาและปัญหาของการพัฒนาในแต่ละด้าน ครอบคลุมถึงการพัฒนาการบริหาร การบริหารโครงการพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาทาง การเมือง การพัฒนาเมือง ชนบท และรัฐวิสาหกิจ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศและการบริหารการพัฒนาของ ประเทศไทย โดยศึกษา วิเคราะห์ ภารกิจขององค์การ สภาพแวดล้อมตลอดจนปัญหาต่างๆ และประยุกต์ใช้กับความรู้ใน แขนงต่างๆ โดยนํามากําหนดกลยุทธ์ นโยบายและนําไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการและการบริการสาธารณะสมัยใหม่ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงรัฐวิสาหกิจ โดยให้ ความสําคัญในทฤษฎีและกระบวนทัศน์ต่างๆ เช่น การจัดการนิยม (Managerialism) ประชารัฐ (Participatory State) ห่วงโซ่ คุณค่า (Value Chain) ทางเลือกสาธารณะ (Public Choice) นวัตกรรมการจัดการทุนมนุษย์ และองค์การสาธารณะ (Innovative human Capital management And public organizations) การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)จริยธรรมทางการบริหาร (Ethics for Administration)และทฤษฎีการจัดการอื่นๆ ตลอดจนกลยุทธ์การจัดการ (Strategic Model) และเทคนิคในการจัดการ (Tactical Model)
ความหมายและลักษณะทั่วไปของการวิจัยเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีวิจัย ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้สถิติเพื่อการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การวิเคราะห์ ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน และการนําเสนอข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนโครงร่างและการ เขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย การเขียนบทความการวิจัยเชิงปริมาณ
ความหมายและลักษณะทั่วไปของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทวิจัย การออกแบบการวิจัย วิธีการ วิจัยการดําเนินงานวิจัย ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) การเก็บและการรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบเครื่องมือ การ ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การระดมสมอง (Brain Storm) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล (Individual in depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) การใช้ เทคนิคเดลฟาย (Delphi method) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การทําวิจัยแบบผสม (Mix Method) การเขียนโครงร่างและการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยเชิงคุณภาพ การ เขียนบทความการวิจัยเชิงคุณภาพ
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับปรัชญา ความรู้และการแสวงหาความรู้ในมุมมองเชิงปรัชญา ความรู้และ องค์ประกอบของความรู้ ภววิทยากับวิธีวิทยากับการแสวงหาความรู้ ปรัชญาความรู้และมุมมองเกี่ยวกับความรู้ แนว ทางการแสวงหาความรู้ปฏิฐานนิยม /สัจนิยม/การตีความ) กลวิธีในการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ (กลวิธีแบบอุปนัย Inductive Strategy/กลวิธีแบบนิรนัย Deductive Strategy/กลวิธีแบบปฏินัย Retroductive Strategy/กลวิธีแบบอวนัย Abductive Strategy) และกระบวนการสร้างและสั่งสมองค์ความรู้ ความจริงของการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ องค์ประกอบ ของปรัชญาการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empiricism) สํานักพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioralism) และสํานักหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-behavioralism) ซึ่งเป็นพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการแสวงหาและจัดระเบียบความรู้ด้าน สังคมศาสตร์ ทั้งในแง่ของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) จุดเน้น (Focus of Study) ขอบข่าย (Locus of Study) และ หน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เพื่อนําไปสู่การสร้างและการพัฒนาทฤษฎีทางด้านสังคมศาสตร์
สัมมนาในหัวข้อที่จะนําไปสู่การทําดุษฎีนิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในหัวข้อ ดังกล่าว และการศึกษาดูงานในประเทศ/ต่างประเทศเพื่อนํามาบูรณาการในการวิจัย โดยจัดทําเป็นรายงานผลการศึกษา
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนํา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอวิทยานิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนํา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอวิทยานิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแล และคําแนะนํา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา และดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอวิทยานิพนธ์ตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด
เหตุผลที่ผมมีความคิดในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก เนื่องจากผมมั่นใจว่าความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านวิชาชีพในฐานะผู้พิพากษาศาลฎีกามีมากเพียงพอสำหรับการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ แต่สิ่งที่ผมต้องการก็คือความรู้ทางวิชาการในด้านการบริหาร ผมจึงเลือกเรียนปริญญาเอกในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ทำให้ผมสามารถเชื่อมโยงแนวคิดการบริหารภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการทำหน้าที่ในฐานะผู้พิพากษาได้เป็นอย่างดียิ่ง
ตอนที่ผมมีความคิดที่จะเรียนต่อปริญญาเอก ผมตัดสินใจอยู่นานว่าจะเลือกเรียนหลักสูตรอะไร และที่ไหนดี จนเมื่อพบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน ของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ก็รู้สึกว่าหลักสูตรน่าสนใจ เพื่อด้วยงานที่ผมทำถึงแม้จะอยู่ในส่วนของภาครัฐ และเป็นงานที่ต้องเชื่อมโยงกับสังคมโดยรวม ซึ่งเมื่อได้ศึกษาก็ค้นพบมิติการบริหารจัดการที่หลากหลาย ทำให้มีความเข้าใจและสามารถเชื่อมบริบทการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนได้มากขึ้น
การที่ผมตัดสินใจเรียนปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ ข้อแรกเรื่องเนื้อหาวิชาที่เปิดสอนตรงกับอาชีพของผมซึ่งเป็นข้าราชการ และสามารถปรับใช้กับภาคเอกชนได้ และข้อสองคือรูปแบบการเรียนการสอน ที่ผมสามารถบริหารจัดการเวลางานร่วมกับเวลาเรียนได้ลงตัว และเมื่อได้เข้าศึกษามีสิ่งที่ทำให้ผมประทับใจมากก็คือ อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาได้ถ่ายทอดความรู้ และแนะนำแนวทางการศึกษา รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาในการเรียน และการทำงานดุษฎีนิพนธ์อย่างใกล้ชิด อีกทั้งเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของมหาวิทยาลัยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกและประสานงานได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญผมมีเพื่อนในรุ่นที่มีความสนิทสนม ทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือ แนะนำ และเป็นกำลังใจในการเรียนให้กันและกันเสมอ