ประวัติการก่อตั้ง
สภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ในการประชุมครั้งที่ 7/2551 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2551 ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ และเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต ให้เปิดรับนิสิตในรุ่นแรก ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 จำนวน 70 คน โดยจัดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี โดยภายหลังจากการตรวจประเมินจากสภาเทคนิคการแพทย์ จึงได้เปลี่ยนเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถาบันผลิต บัณฑิตเทคนิคการแพทย์แห่งอื่น คณะเทคนิคการแพทย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2552 โดยมีรองศาสตราจารย์ ทนพญ. ปราณิต ประวัติเมือง เป็นคณบดีคนแรก โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะเป็นเลิศในวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต อันจะนำไปสู่การช่วยลดปัญหาการขาดแคลนนักเทคนิคการแพทย์ ซึ่งจะมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการของประเทศและส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยดีต่อไป โดยภายหลังได้รับการรับรองหลักสูตรฯและสถาบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทนพญ. บุญพะเยาว์ เลาหะจินดา จึงได้เข้ามารับหน้าที่ต่อในตำแหน่งคณบดี จนถึงปัจจุบัน
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ปรัชญา
มุ่งส่งเสริมวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ด้วยพลังความคิด
วิสัยทัศน์
ผลิตนักเทคนิคการแพทย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรม
พันธกิจ
1) ผลิตบัณฑิต ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ ยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2) วิจัย สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพและประเทศชาติ
3) บริการวิชาการทางเทคนิคการแพทย์แก่ชุมชนและสังคม เพื่อส่งเสริมการมีสุขอนามัยที่ดีของประชาชน
4) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการส่งเสริมและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่คู่ประเทศไทย
วัตถุประสงค์
1) จัดการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ที่มีความเป็นเลิศในวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ ควบคู่กับคุณธรรมจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพในระดับสากล
2) ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพและการศึกษา เพื่อมีบุคลากรที่มีความสามารถผลิตงานวิจัยและงานนวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อสังคม
3) ให้บริการวิชาการทางวิชาชีพเทคนิคการแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
4) ส่งเสริมให้นิสิตและบุคลากรตระหนัก อนุรักษ์และผสมผสานศิลปวัฒนธรรม ธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย
อาคารสถานที่
บุคลากร สาขาเทคนิคการแพทย์
คุณวุฒิ
- วท.ม. (พยาธิวิทยาคลินิก) มหาวิทยาลัยมหิดล
- วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประสบการณ์
- พ.ศ. 2513 อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2518 อาจารย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2523 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมีคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2531 รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2538 หัวหน้าภาควิชาเคมีคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2542 หัวหน้าแขนงวิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2544 กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากคณาจารย์ประจำ
- พ.ศ. 2548 รองคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2552 คณบดี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
- พ.ศ. 2563 หัวหน้าสาขา เทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
ประเทศไทยได้ดำเนินการปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่ พ.ศ.2545 มีเป้าหมายให้บุคคลมีความเสมอภาคในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาจากสถานบริการสุขภาพของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
เทคนิคการแพทย์เป็นวิชาที่ต้องใช้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ เพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลรักษา และแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันท่วงที
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีจำนวนนักเทคนิคการแพทย์ 1 คน/ประชากร 10,000 คน แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน โรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะของรัฐ ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร โดยปัจจุบันมีอัตราส่วนนักเทคนิคการแพทย์ 1 คน/ประชากร 70,368 คน อันเป็นเหตุให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับบริการไม่เพียงพอ และไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
ชื่อหลักสูตร | |
---|---|
ภาษาไทย | : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ |
ภาษาอังกฤษ | : Bachelor of Science Program in Medical Technology |
ชื่อปริญญาชื่อเต็ม (ภาษาไทย) | : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ |
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) | : วท.บ.เทคนิคการแพทย์ |
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) | : Bachelor of Science Program in Medical Technology |
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) | : B.Sc.MT |
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
---|---|
1. หมวดวิชาสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 30 |
1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 9 |
1.2 กลุ่มวิชาภาษา | 15 |
1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 6 |
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | 5 |
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน | 111 |
2.1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน | 22 |
2.2 กลุ่มวิชาพื้นฐานอาชีพ | 23 |
2.3 กลุ่มวิชาชีพ | 66 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวม | 147 |
1. เป็นผู้สาเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี) จากหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง หรือนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่กรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
2. มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
3. ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
3.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวรต่อการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.3 เป็นโรคติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3.5 มีความผิดปกติในการมองเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง คือ
3.5.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
3.5.2 ระดับการมองเห็นแย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
3.6 มีความผิดปกติในการได้ยิน คือ
3.6.1 มีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ หรือสูงกว่า 40 เดซิเบล ของหูทั้ง 2 ข้าง
3.6.2 ความสามารถในการแยกเเยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensorineural Hearing Loss)
3.7 โรคหรือความพิการอื่นๆซึ่งมิได้ระบุไว้ที่ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- Medical Technologist: นักเทคนิคการแพทย์ ในโรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชน และ บริษัทห้องปฏิบัติการเอกชน และห้องปฏิบัติการส่วนตัวที่เปิดขึ้นเอง
- Scientist: นักวิทยาศาสตร์ ในบริษัทเอกชน สถาบันวิจัย หรือมหาวิทยาลัย
- Researcher: นักวิจัย ในบริษัทเอกชน สถาบันวิจัย หรือมหาวิทยาลัย
- Sale Representative: ผู้แทนจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ น้ำยา เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ หรือการแพทย์ ในบริษัทเอกชน
- Product Specialist: ผู้เชี่ยวชาญ ผลิตภัณฑ์ น้ำยา เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ หรือการแพทย์ ในบริษัทเอกช
ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
กิจกรรม
กิจกรรม
ช่องทางติดต่อ
สายตรง หัวหน้าสาขาเทคนิคการแพทย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทนพญ. บุญพะเยาว์ เลาหะจินดา
หมายเลขติดต่อ 081-950-4524
อีเมล Boonpayau@hotmail.com
LINE : MTWTU
Facebook : www.facebook.com/WTUMT
เลขานุการ สาขาเทคนิคการแพทย์
คุณจินตนา ใจยง
หมายเลขติดต่อ 083-066-5204, 098-446-8706
วันทำการ: วันจันทร์ – วันเสาร์
เวลาทำการ 8.30-17.00 น
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากคณะแพทยศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น