WESTERN UNIVERSITY มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการ เลขที่ 2/4 2540 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก นับตั้งแต่ได้เปิดดำเนินการสอนมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 15 ปี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากร ระบบการศึกษา และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางคุณภาพการศึกษา สร้างคลังแห่งขุมปัญญาที่จะพัฒนาบุคคลให้เป็นศึกษิต คือบัณฑิตที่เป็นปัญญาชน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตน สังคม ประเทศชาติและมนุษยชาติในที่สุด ด้วยอุดมการณ์แห่งความร่วมมือยิ่งกว่าการแข่งขัน
การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ ที่มาจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นประชากรที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม จำเป็นต้องมีสุขภาวะที่ดีทำงานด้วยความปลอดภัยได้อย่างเต็มที่ ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานประกอบการประมาณ 300,000 แห่ง มีลูกจ้างภายใต้กองทุนเงินทดแทนประมาณ 8,000,000 คน สุขภาพของผู้ประกอบอาชีพเป็นปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ โรคจากการประกอบอาชีพ เช่น พิษจากสารตะกั่วและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการทำงาน มีผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้กระบวนการผลิตทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือ อุบัติเหตุต่อร่างกายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป จะเห็นได้จากสถิติอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมปีพ.ศ. 2549 พบว่าจำนวนคนงานประสบอันตรายจากการทำงานประมาณ ปีละ 200,000 คน เสียชีวิตจากการทำงานปีละ 600 คน จ่ายเงินค่าทดแทนปีละ 1,600 ล้านบาท โดยมีสาเหตุจากเครื่องจักร/อุปกรณ์ไม่ปลอดภัยร้อยละ 28
ดังนั้นการประกอบอาชีพของประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่กำหนดให้บุคคลมีสิทธิ์ได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงานสถานประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญและมีการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการดำเนินงานโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมของเจ้าของผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งบุคลากรดังกล่าวยังขาดแคลนและเป็นความต้องการของภาคราชการและภาคเอกชน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ จำเป็นต้องมีบุคลากรด้านอาชีวอนามัยเพื่อดูแลจัดการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงงานให้ทั่วถึง
ซึ่งมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรเพื่อแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน จึงได้จัดตั้งสาขาสาธารณสุขศาสตร์เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัยขึ้นโดยเริ่มเปิดดำเนินการการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวนหน่วยกิต 129 หน่วยกิตโดยกำหนดให้รับนิสิตเข้าศึกษาปีการศึกษาละ 80 คน ในปีการศึกษา 2564 สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ได้มีการปรับปรุงโดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
อาจารย์จุฬาภรณ์ ม่วงดิษฐ์
รักษาการคณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์
10 ปี สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ด้วยภารกิจในการให้การศึกษาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านสาธารณสุขชุมชน ซึ่งได้ผ่านการรับทราบหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ผ่านการรับรองปริญญาในวิชาชีพการสาธารณสุข โดยสภาการสาธารณสุขชุมชน และผ่านเกณฑ์การพิจารณาวุฒิการศึกษาปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นมาตรฐานรับรองเดียวกับอีกหลายสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในหลักสูตรเดียวกัน ตลอดระยะเวลา 10 ปี สาขาสาธารณสุขศาสตร์ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างบัณฑิตผู้จะก้าวไปเป็นอนาคตของชาติจำนวนมาก ซึ่งล้วนแล้วมีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาชีพของตนเอง ตลอดจนมีการพัฒนา การเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตนเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญด้านการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามีคุณลักษณะของคนไทยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 สาขาสาธารณสุขศาสตร์ยังคงก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคง เพื่อคุณภาพการศึกษาและการรับรองมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในนามของสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จึงมีความยินดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าที่จะได้โอกาสต้อนรับนิสิตจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เข้ามาเป็นครอบครัวทางการศึกษา เพื่อต่อยอดความรู้ ทักษะ และใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เพื่อประสบความสำเร็จในการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ด้วยความภาคภูมิใจ
jakgapong07@gmail.com
เบอร์: 083-066-5207
n.kulpreechanan@gmail.com
เบอร์: 083-066-5207
ooykhanis10@hotmail.com
เบอร์: 083-066-5207
no.ne23880@gmail.com
เบอร์: 083-066-5207
phongthon.sa@western.ac.th
เบอร์: 063-219-2099
Vichan_buncum@hotmail.com
เบอร์: 083-066-5207
saowarot.nutty@gmail.com
เบอร์: 083-066-5207
konthai98@yahoo.com
เบอร์: 083-066-5207
sak2pe@gmail.com
เบอร์: 083-066-5207
fordnakrub@hotmail.com
เบอร์: 083-066-5207
loung10@gmail.com
เบอร์: 083-066-5207
Siriluktip2628@gmail.com
เบอร์: 083-066-5207
Sine14061992@gmail.com
เบอร์: 083-066-5207
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญให้สามารถประกอบวิชาชีพ เพื่อให้กำลังคนมี ทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ ในเรื่องของการบริหารจัดการ เพื่อการป้องกัน การสร้างเสริม การดูแลสุขภาพอนามัย และความ ปลอดภัยแก่ประชาชนและผู้ประกอบอาชีพ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชุมชนหรือสถานประกอบการ ลดผลกระทบและปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการตระหนักถึงการเกิดประโยชน์สูงสุดผู้ประกอบอาชีพ ประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญ มีความใฝ่เรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัย อย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมจริยธรรม และคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทาง เศรษฐกิจ
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety
ชื่อปริญญาบัตร
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
ชื่อย่อ : วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety
ชื่อย่อ : B.Sc. (Occupational Health and Safety)
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
---|---|
1)หมวดศึกษาทั่วไป | 30 |
(1.1)กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 9 |
(1.2)กลุ่มวิชาภาษา | 15 |
(1.3)กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ | 6 |
2)หมวดวิชาเฉพาะ | 103 |
(2.1)กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 21 |
(2.2)กลุ่มวิชาชีพ | 24 |
(2.3)กลุ่มวิชาชีพเฉพาะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 58 |
3)หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวม | 139 |
(1) การสำเร็จการศึกษา
1.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือมีการเรียนในกลุ่มสาระการ
เรียนทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 22 หน่วยกิต คณิตศาสตร์ จำนวน 12 หน่วยกิต
1.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วไปและประกาศนียบัตรสายวิชาชีพ สายช่างอุตสาหกรรม
(ผู้เข้าศึกษาจะต้องเรียนปรับพื้นฐานกลุ่มสาระการ เรียนทาง วิทยาศาสตร์ 22 หน่วยกิต และ
คณิตศาสตร์ 12 หน่วยกิต)
1.3 ระดับประกาศนียบัตรขั้นสูง สายช่างอุตสาหกรรม (ผู้เข้าศึกษาต้องเรียนปรับพื้นฐานกลุ่ม
สาระวิชาการเรียนทางวิทยาศาสตร์ 22 หน่วยกิต คณิตศาสตร์ 12 หน่วยกิต และสามารถ
เทียบโอนหน่วยกิตตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรรม)
1.4 ระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสาธารณสุขศาสตร์ หรือด้านวิศวกรรมศาสตร์หรือ
ด้านอื่นที่เทียบเคียงกัน (ผู้เข้าศึกษาสามารถเทียบโอนหน่วยกิต ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวง
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรรม)
(2) เป็นผู้ที่มีสภาพร่างกายและจิตใจปกติ ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
(3) ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่เคยถูก ศาลพิพากษาถึงขั้น จำคุก หรืออยู่ในระหว่างคดีอาญา
(4) คุณสมบัติอื่นๆ ครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
เมื่อสำเร็จการศึกษาบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในการบริหารจัดการสร้างเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย การป้องกันโรค การควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ การประเมินความเสี่ยง การพัฒนาสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ชุมชน การวางแผน ควบคุมและจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ ทั้งในชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม การตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม การให้ความรู้หรือคำปรึกษาในด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานแก่ผู้ที่สนใจและเกี่ยวข้อง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และสามารถประกอบอาชีพได้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ โดยสามารถประกอบอาชีพในตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่
- นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
- นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัย และนักวิชาการแรงงาน นักวิชาการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- พนักงานตรวจความปลอดภัย
- ผู้ตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมในการทํางาน
- อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ตรวจสอบเอกชนด้านความปลอดภัย, วิทยากรความปลอดภัย
การพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน เป็นการพัฒนาให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย Western-CyberU โดยเป็นการเข้าเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีเป้าหมายสามารถวางแผนการเรียนกำหนดระยะเวลาการศึกษาและสำเร็จการศึกษาด้วยตนเอง จะเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้สามารถประกอบวิชาชีพ ในการบริหารจัดการ เพื่อการป้องกัน การสร้างเสริม การดูแลสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยแก่ประชาชนและผู้ประกอบอาชีพ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชุมชนหรือสถานประกอบการ เพื่อลดผลกระทบและปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิด ด้วยการตระหนักถึงการเกิดประโยชน์สูงสุดผู้ประกอบอาชีพ ประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญ มีความใฝ่เรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมจริยธรรม และคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (ระบบการศึกษาทางไกล)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Health Program in Community Public
Health (E-learning Base Distance Education)
ชื่อปริญญาบัตร
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)
ชื่อย่อ : ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Public Health (Community Public Health)
ชื่อย่อ : B.P.H. (Community Public Health)
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
---|---|
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
2) หมวดวิชาเฉพาะวิชาชีพ | 90 |
(2.1) กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ | 30 |
(2.1.1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ | 12 |
(2.1.2) กลุ่มวิชาสาธารณสุข | 18 |
(2.2) กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ | 50 |
(2.2.1) กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน | 10 |
(2.2.2) กลุ่มป้องกันโรค ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข | 10 |
(2.2.3) กลุ่มตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ | 10 |
(2.2.4) กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม | 10 |
(2.2.5) กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข | 10 |
(2.3) การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนามด้านวิชาชีพ | 10 |
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวม | 139 |
(1) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
(2) มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
(3) มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยว่าด้วยการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2561
(4) คุณสมบัติอื่นๆ ครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
เมื่อสำเร็จการศึกษาบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพดังนี้
- นักวิชาการสาธารณสุข ในหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านสาธารณสุข
- เจ้าพนักงานสาธารณสุข
- ผู้ช่วยนักวิจัยด้านสาธารณสุข
ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
ติดต่อสาขา
CONTACT INFORMATION
เลขที่ 600 หมู่ 11 ตำบลสระลงเรือ
อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 71170
Tel. 083-0665207
Fax. 035-651144
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากคณะแพทยศาสตร์ สาขาสาธารณสุข กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น