หมวดวิชา | เกณฑ์ สกอ. | มคอ.1 | หลักสูตร | |
---|---|---|---|---|
(1) | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 30 | 30 | 30 หน่วยกิต |
(1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
| 9 หน่วยกิต | |||
(1.2) กลุ่มวิชาภาษา | 15 หน่วยกิต | |||
(1.3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 6 หน่วยกิต | |||
(2) | หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 144 | 184 | 194 หน่วยกิต |
(2.1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน | 17 หน่วยกิต | |||
(2.2) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 55 หน่วยกิต | |||
(2.3) กลุ่มวิชาชีพ | 122 หน่วยกิต | |||
(3) | หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 | 6 | 6 หน่วยกิต |
จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | ไม่น้อยกว่า 180 | 220 | 230หน่วยกิต |
(1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ศึกษาแนวคิดและพื้นฐานเกี่ยวกับชาติ การพัฒนาชาติโดยการเสริมสร้างพลังอํานาจในด้านการเมืองการ ปกครอง การทหาร เทคโนโลยี สังคม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงและวิธีการประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจและสังคมไทยเพื่อ นําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นการศึกษายังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ความสัมฤทธิ์ผลของกรณีศึกษา ต่างๆ ที่มีการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเหตุการณ์จริง ศาสนา ภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมสิทธิ มนุษยชน ผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างพลังอํานาจแห่งชาติ จิตวิญญาณ จิตสาธารณะ หลัก ธรรมาภิบาล องคาพยพของสังคม การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ รวมถึงบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ศึกษาด้านจิตวิทยาประยุกต์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการดําเนินชีวิต การปรับตัว การทํางานร่วมกับผู้อื่น มนุษยสัมพันธ์ ทักษะในการทํางาน การคิดและการใช้เหตุผล จิตบริการ ศักยภาพในการทํางาน ภาวะผู้นํา ความคิด สร้างสรรค์ และทักษะในการแก้ไขปัญหา การตัดสินใจและการพัฒนาบุคลิกภาพ
ศึกษาหลักคุณธรรม จริยธรรม และจริยศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประยุกต์ใช้ในชีวิต บทบาทหน้าที่ในสังคม การดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อให้นิสิตเข้าใจและสามารถที่จะปฏิบัติตนได้ อย่างเหมาะสม มีคุณธรรมในบทบาทที่ตนดํารงอยู่ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและส่งเสริมการพัฒนาให้ดําเนินควบคู่ไปกับ จริยธรรม การบําเพ็ญประโยชน์ เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมจิตสํานึกแห่งความรับผิดชอบต่อ ตนเอง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาปัญหาจริยศาสตร์ที่สําคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตและ การแก้ปัญหาจริยธรรมที่พบในสังคมปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญา มนุษย์กับการแสวงหาความจริงของชีวิต ปรัชญาชีวิต วิเคราะห์หาเหตุผลใน การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ ศึกษาแนวคิดของหลักศาสนา ศาสนาเปรียบเทียบ สามารถนําหลัก คําสอนของศาสนาต่างๆ มาใช้ในการดําเนินชีวิตอย่างผาสุกและเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งศึกษาการก่อเกิดวัฒนธรรม ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
เรียนรู้เกี่ยวกับการรู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดอย่างสร้างสรรค์ การ แก้ปัญหาและการตัดสินใจ การสื่อสาร การเจรจาต่อรองและการปฏิเสธ การจัดการความเครียดและอารมณ์ความรู้สึก การ เห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การเข้าใจและยอมรับผู้อื่น รวมทั้งการปรับปรุงตนเอง ในสภาวะแวดล้อมเพื่อการดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
(2) กลุ่มวิชาภาษา
ศึกษาการใช้ภาษาไทยเพื่อให้เกิดทักษะในการสื่อความหมาย โดยคํานึงถึงความลึกในเชิงความรู้ ความ สมเหตุสมผล ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้องและพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ให้มีประสิทธิภาพ ในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้อ่านงานเขียนประเภทต่างๆ โดยเน้นทักษะการเขียนที่ถูกต้องและ เป็นมาตรฐานทั้งทางราชการและทางธุรกิจ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในด้านอาชีพและการศึกษาในระดับสูงต่อไป
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยจะเน้นในด้านโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ง่ายๆ เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคในภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเน้นรูป ควบคู่ไปกับหลักการอ่านและรูปแบบการอ่านแบบต่างๆ เช่น ข่าว เรื่องสั้น เรื่องยาว และการจับใจความ นิสิตจะได้รับการ ฝึกฝนจนสามารถฟังคําศัพท์และรูปประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้ในระดับพื้นฐาน
วิชาบังคับก่อน : EN1001 ภาษาอังกฤษ 1
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน โดยจะเน้นศึกษาโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ที่ลึกซึ้ง เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคและศัพท์ขั้นสูง พร้อมทั้งเน้น ฝึกทักษะในการเขียนประโยคสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ที่ได้ศึกษามา พร้อมทั้งเริ่มฝึกทักษะทางด้านการฟังและการพูด ประโยคและบทสนทนาสั้นๆ จากสิ่งที่ได้เรียนมา
ชาบังคับก่อน : EN1002 ภาษาอังกฤษ 2
ในระดับนี้จะเป็นการฝึกฝนและพัฒนาทักษะให้นิสิตสามารถอ่านและเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการ และการสื่อสารแบบต่างๆ ของวงการธุรกิจ รวมถึงการศึกษาหนังสือหรือข้อความทางธุรกิจที่เกี่ยวกับข่าวคราวความ เคลื่อนไหวต่างๆ ในวงการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยรูปประโยคที่สลับซับซ้อนขึ้นและคําศัพท์ ทางวิชาการและวงการธุรกิจในด้านการเขียน ซึ่งนิสิตจะได้รับการฝึกให้เขียนข้อความสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ ดังกล่าว การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและหลักที่ใช้เพื่อให้การใช้นั้นถูกต้องในสถานการณ์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาทักษะ ด้านการฟังและการพูดเพื่อให้มีความสามารถในการสนทนาในหัวข้อและเนื้อหาที่เกี่ยวกับชีวิตประจําวันและใช้ได้ในวงการ ธุรกิจในลักษณะที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับธุรกิจและเศรษฐกิจ รวมถึงการเรียนรู้สํานวนที่ถูกต้องในการสนทนาในโอกาส ต่างๆ เช่น การทักทาย การพูดทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์เพื่อเข้าทํางาน การเล่าเรื่องสั้นๆ
ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในวิชาชีพ การแสดงบทบาทสมมติ ในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการและทีมสหสาขาวิชาชีพ การอภิปรายถกเถียงในประเด็นของวิชาชีพ
(3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้ ขั้นตอนการ ค้นคว้า การนําเสนอสารสนเทศ วิธีการรวบรวมบรรณานุกรม การจัดหมู่หนังสือ บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง ดรรชนี หลักเกณฑ์และวิธีการสืบค้นเอกสารและสิ่งพิมพ์ การอ่านและการจดบันทึกข้อความเพื่อนํามาเรียบเรียงรายงานวิชาการ รูปแบบของรายงาน และการเขียนรายงานอ้างอิง รวมถึงจริยธรรมของผู้ใช้สารสนเทศ
สถิติพื้นฐาน ระเบียบวิธีการทางสถิติเพื่อนําไปใช้ในการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงความถี่ การ ทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ทั้งโปรคาริโอตและยูคาริโอต การแบ่งเซลล์ และปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ กระบวนการในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต การจําแนกสิ่งมีชีวิต หลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การสัมพันธ์และการ เจริญของสิ่งมีชีวิต ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิเวศวิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาใน ภาคบรรยาย
ปริมาณสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี สมบัติของของแข็ง ก๊าซ และของเหลว สารละลายและ คุณสมบัติของสารละลาย จลนศาสตร์เคมี สมดุลเคมี กรดและเบส ไฟฟ้าเคมี ตารางธาตุและเคมีของธาตุ เคมีนิวเคลียร์ และ ปฏิบัติการเคมีที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
ความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ แรงภายนอกและแรงภายในของร่างกาย สมดุลของความร้อนและอุณหภูมิ ฟิสิกส์ ของการได้ยิน ฟิสิกส์ของการมองเห็น การนํากระแสประสาท การหดตัวของกล้ามเนื้อ ศักย์ไฟฟ้าของสมอง ฟิสิกส์ของระบบ ไหลเวียนโลหิต รังสีและผลกระทบ การรักษาและการบําบัดด้วยรังสี ฟิสิกส์ของเครื่องมือทางชีววิทยา การเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การนําความรู้ทางฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์
โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี และการเกิดไฮบริไดเซชั่น สมบัติทางเคมีและทางกายภาพ การอ่านชื่อ ปฏิกิริยา การเตรียมและปฏิกิริยาการสังเคราะห์ของสารประกอบกรด-เบส อัลเคน อัลคืน อัลไคน์ อะโรเมติก แฮไลด์อินทรีย์ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเธอร์ อีพอกไซด์ อัลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์และเอมีน ฝึกฝนเทคนิคเบื้องต้นในการ แยกสาร การทําให้สารบริสุทธิ์ การทดสอบสมบัติทางเคมีที่สําคัญของหมู่ฟังก์ชั่นของสารประกอบอินทรีย์
คุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของชีวโมเลกุล ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน กรดนิวคลีอิก เอ็นไซม์ วิตามิน และโคเอ็นไซม์ กระบวนการทางเมตาบอลิซึมและพลังงานของเซลล์ การสังเคราะห์สารทางพันธุกรรม และ การควบคุมการแสดงออกของยีน
โครงสร้างทางกายวิภาคและหน้าที่ของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบหัวใจและ หลอดเลือด ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบผิวหนัง และโครงสร้างที่เกี่ยวข้องรวมถึงความสัมพันธ์และการทํางานร่วมกัน ของระบบต่างๆ ในร่างกาย การทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยาย
แนวคิดของโภชนศาสตร์ สารอาหารและภาวะโภชนาการอาหารสําหรับบุคคลวัยต่างๆ ประโยชน์ของอาหารต่อ การเจริญเติบโตและคุณภาพชีวิต คุณค่าของโภชนาการ ความสําคัญของโภชนาการต่อสุขภาพ การจําแนกประเภทและ คุณค่าของสารอาหาร ความต้องการพลังงาน การคํานวณคุณค่าสารอาหารเพื่อการบริโภคที่เหมาะสมกับความต้องการทาง ชีวภาพของบุคคล ภาวะสมดุลของอาหารและสุขภาพ พิษภัยและสิ่งแปลกปลอมทางอาหารและการป้องกันอันตราย ปัญหา ทุพโภชนาการ โภชนาการที่จําเป็นต่อชีวิตมนุษย์ในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย
วิชาบังคับก่อน : DD1201 มหกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ 1
โครงสร้างทางกายวิภาคและหน้าที่ของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ และโครงสร้างที่เกี่ยวข้องรวมถึงความสัมพันธ์ และการทํางาน ร่วมกันของระบบต่างๆ ในร่างกาย การทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยาย
ชนิด รูปร่าง ลักษณะ สรีรวิทยา และวงชีพของจุลินทรีย์และปรสิตที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย การเกิดโรค การ แพร่กระจาย การป้องกันการเกิดโรค การทําลายและการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และปรสิต การติดเชื้อ และการ ต้านทานการติดเชื้อของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย การทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยาย
วิชาบังคับก่อน : DD1203 มหกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ 2
โครงสร้างและองค์ประกอบอย่างละเอียดของเซลล์ เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อ ประสาทของอวัยวะในระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเน้นอวัยวะในช่องปาก อวัยวะใกล้เคียงที่เกี่ยวข้อง และโดยเฉพาะฟัน การ ทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยาย
หน้าที่และกลไกการทํางานพื้นฐานของระบบการทํางานของเซลล์ ระบบประสาท กล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินหายใจ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งบูรณาการความรู้เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ในการทํางานร่วมกันของระบบต่างๆ เพื่อรักษาร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ โดยมีการบรรยายควบคู่ไปกับภาคปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยาย
แนวคิดวิทยาการระบาด ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สิ่งก่อโรค และสภาพแวดล้อมต่อการเกิดโรค การ กระจายของโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ การป้องกัน การสืบสวน การเฝ้าระวัง และการควบคุมโรคในชุมชนและใน สถานพยาบาล การศึกษาทางวิทยาการระบาด
วิชาบังคับก่อน : DD1203 มหกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ 2
โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ วิถีประสาทและกลไกของระบบ ประสาทรับความรู้สึก ระบบประสาทควบคุมการทํางานของร่างกาย ระบบประสาทสมอง ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบ ต่อมไร้ท่อ การรับรู้และการตอบสนองทั้งในภาวะปกติและผิดปกติ
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ยาบําบัดโรค ประเภทของยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาและฤทธิ์อันไม่พึง ประสงค์ของยา การดูดซึม การกระจายตัว การคงอยู่ และการขับออกของยา ข้อบ่งใช้และข้อห้ามใช้ การเสริมฤทธิ์และการ ต้านฤทธิ์ของยา ปฏิกิริยาระหว่างยาที่ใช้ร่วมกัน การใช้ยาในเด็กและผู้สูงอายุ ยาที่ใช้ในทางทันตกรรม การเขียนใบสั่งยาและ การบันทึกประวัติการใช้ยา
การกําเนิดและการเจริญเติบโตของใบหน้า ช่องปาก ฟัน และอวัยวะที่อยู่รอบๆ ตัวฟัน กลไกของการงอกของ ฟัน และการเจริญเติบโตของอวัยวะภายในและรอบๆ ช่องปาก การหลุดของฟัน การเกิดระบบบดเคี้ยว กายวิภาค และ พัฒนาการระยะต่างๆ ของอวัยวะในช่องปาก และข้อต่อ ขากรรไกร ทั้งในแงโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะเหล่านี้
หลักการซักประวัติ การตรวจร่างกายและวินิจฉัย การป้องกัน การรักษา และหลักการเขียนรายงานผู้ป่วย รวมทั้ง ศึกษาอาการสําคัญของโรคระบบต่างๆ ทางอายุรศาสตร์ที่สําคัญและพบบ่อย ทั้งในสภาวะปกติและภาวะพยาธิสภาพ อาการพยาธิวิทยา การวินิจฉัย การวินิจฉัยแยกโรค โรคแทรกซ้อน การพยากรณ์โรค การป้องกันและการประยุกต์เข้ากับ การตรวจพิเศษต่างๆ การวินิจฉัยและการรักษา ปัญหาและการแก้ปัญหา การรวบรวมสรุป และวิเคราะห์ข้อมูล การ ประเมินผลความรู้และทักษะด้านอายุรศาสตร์ในการดูแลหอผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยนอก และคลินิกเฉพาะโรค
พื้นฐานของภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา การ ตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อ ปฏิกิริยาแอนติเจนกับแอนติบอดี้ ความผิดปกติต่างๆ ของภูมิคุ้มกัน เช่น ภูมิคุ้มกัน บกพร่อง ภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อของตนเอง ภูมิคุ้มกันของการปลูกถ่ายอวัยวะ
การบาดเจ็บการตายและการปรับตัวของเซลล์ การอักเสบและการหายของเซลล์ ความผิดปกติด้านไหลเวียน ของเลือด โรคเนื้องอกพยาธิทั่วไป เรื่องโรคติดเชื้อ พยาธิสภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและสารอาหาร การวินิจฉัยโรค สาเหตุ ระบาดวิทยารวมทั้งการแสดงออกทางคลินิกและลักษณะจุลพยาธิวิทยาของโรคชนิดต่างๆ พร้อมกับหลักการรักษา การ ทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยาย
องค์ประกอบ ปฏิกิริยา สมบัติทางกลสมบัติทางกายภาพสมบัติทางเคมี หลักการและกลไกการยึดติดของ ทันตวัสดุกับอวัยวะในช่องปากข้อกําหนดเฉพาะ ข้อจํากัด การประยุกต์ใช้และปัญหาการใช้งานในทางทันตกรรม ได้แก่ กลุ่ม วัสดุพิมพ์ปาก กลุ่มวัสดุหล่อแบบและทําเบ้า กลุ่มขี้ผึ้ง กลุ่มโลหะและโลหะเจือ กลุ่มพอลิเมอร์ เช่น ซีเมนต์วัสดุฐานฟันเทียม วัสดุบุและเสริมฐานฟันเทียมกลุ่มคอมโพสิต และกลุ่มเซรามิกซ์ที่ใช้ในทางทันตกรรม ข้อกําหนดมาตรฐานสากลของวัสดุ ทันตกรรมและองค์กรกําหนดมาตรฐานสากลฝึกการผสมวัสดุตามสัดส่วนแนะนําของผู้ผลิต และการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเพื่อ ควบคุมสมบัติวัสดุให้เหมาะสมตามการใช้งาน และทดสอบประเมินสมบัติทันตวัสดุ ตามข้อกําหนดมาตรฐานสากล
ทฤษฎีความเจ็บปวด เภสัชวิทยาพื้นฐานของยาที่ใช้ลดความเจ็บปวดยาชา ยาลดความกังวล ยาสลบ เทคนิค การฉีดยาชา ข้อควรระวังและปัญหาแทรกซ้อนจากการใช้ยาชาเฉพาะที่ การแก้ไขปัญหาแทรกซ้อนจากการใช้ยาชาเฉพาะที่ ยาลดความกังวล ยาสลบรวมทั้งการวินิจฉัยแยกโรคของความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและช่องปาก
ความหมายของการวิจัยและกระบวนการวิจัยการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ ประเภทของงานวิจัย ระเบียบวิธี วิจัย การสืบค้นข้อมูลการออกแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติการดําเนินงานที่มีหลักฐานทาง วิชาการ การประเมินคุณค่าและวิพากษ์งานวิจัยการนําผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ การเขียนโครงร่างวิจัย และรายงานการวิจัย
หลักเบื้องต้นในการบริหารงานคลินิกและโรงพยาบาล รูปแบบต่างๆ ในการบริหารจัดการการวิเคราะห์ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหาร การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ประเมินต้นทุนกําไรและ การลงทุน การตัดสินใจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานภายใต้กรอบจรรยาบรรณวิชาชีพและบทบาทที่มีต่อสังคม และการประกันคุณภาพโรงพยาบาล
หลักและทฤษฎีทางจริยศาสตร์ จริยธรรมเชิงพุทธ จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพทันตกรรม ประเด็น ปัญหาทางจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม การศึกษากรณีตัวอย่างเพื่อให้เกิดขบวนการคิดทางจริยธรรมที่ถูกต้อง
แนวคิดและหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ทันสมัยในทางทันตกรรม ตลอดจนเครื่องมือและครุภัณฑ์ที่ ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองกับการวินิจฉัยและการรักษาทางทันตกรรมทุกสาขา ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องนาโนเทคโนโลยี และดิจิทัลเทคโนโลยี
หลักและเทคนิคการจัดประชุมสัมมนา ประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่องานทันตกรรมทั้งด้านการปฏิบัติ การ บริหาร การศึกษาและการวิจัย แนวโน้มของวิชาชีพทันตกรรมและแนวทางการพัฒนาในอนาคต ฝึกการจัดสัมมนาประเด็น และแนวโน้มของปัญหาทางทันตกรรมที่น่าสนใจในปัจจุบัน พร้อมทั้งหาแนวทางการแก้ไขเพื่อการพัฒนาคุณภาพงาน ทันตกรรม
วิชาบังคับก่อน : DD5217 การวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
ดําเนินการสัมมนาจากหลักฐานและวรรณกรรมทางวิชาการที่ผู้เรียนมีความสนใจ และมีความสอดคล้อง สัมพันธ์กับพื้นฐานด้านทันตกรรมวิทยาการทางด้านทันตกรรมหรือด้านทันตสาธารณสุข จัดกลุ่มเลือกปัญหาและแนวทาง ดําเนินการตามหลักฐานทางวิชาการโดยการประสานงานและภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาประจํากลุ่ม สรุป หัวข้อปัญหาและแนวทางดําเนินงานที่จะนํามาเขียนข้อเสนองานวิจัยและนําเสนอโครงร่างวิจัยต่อคณาจารย์ เพื่อวิพากษ์ ผลงานและให้ข้อแนะนํา/เสนอแนะ ทําการแก้ไขปรับปรุงผลงานจัดทําเป็นเล่ม "โครงร่างวิจัย" ฉบับสมบูรณ์ที่จะใช้ในการ ดําเนินโครงการวิจัยต่อไป
วิชาบังคับก่อน : DD6222 โครงการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ 1
ดําเนินการวิจัยตามโครงร่างวิจัยที่ได้รับมอบหมายหรืออนุมัติให้ดําเนินการตามกําหนดตารางเวลาและระเบียบ วิธีวิจัยภายใต้การควบคุม/ดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย นําเสนอผลงานวิจัยต่อคณาจารย์เพื่อวิพากษ์ผลงานให้ ข้อแนะนํา/เสนอแนะ ทําการแก้ไขปรับปรุงผลงานวิจัยจัดทําเป็นเล่ม "รายงานการวิจัย" ฉบับสมบูรณ์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทันตกรรมและเวชกรรม สิทธิผู้ป่วย ประเด็นปัญหาทางกฎหมายในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ชนิดรูปร่างลักษณะ และหน้าที่ของฟันแท้และฟันน้ํานม วิธีการเรียกชื่อและการใช้สัญลักษณ์ความเหมือนและ ความแตกต่างทางสัณฐานวิทยาของฟัน ระยะเวลาในการงอกเข้าสู่ช่องปากของฟันแท้และฟันน้ํานม ระยะเวลาในการ หลุดออกของฟันน้ํานม ความสัมพันธ์ของฟันแต่ละที่ต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะที่อยู่รอบตัวฟันและภายในโพรงฟันหน้าที่ของเซลล์ ในโพรงฟันและบริเวณรอบรากฟันรวมถึงปฏิบัติการทักษะการวาดตามแบบฟันตัวอย่าง และทักษะการใช้เครื่องมือในการ ตกแต่งขี้ผึ้งให้ถูกต้อง ตามลักษณะ รูปร่าง สัณฐาน และกายวิภาคของฟันแท้หน้าและหลัง
วิชาบังคับก่อน : DD2205 จุลกายวิภาคศาสตร์มนุษย์
โครงสร้างและองค์ประกอบอย่างละเอียดของเซลล์ เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ ประสาทของอวัยวะในช่องปากและอวัยวะใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะฟัน การทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาค บรรยาย
เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจถึงสภาวะแวดล้อมทางชีวเคมีและระบบภูมิคุ้มกันของช่องปาก กลไกการทํางาน ของอวัยวะในช่องปาก กระบวนการเกิดคราบจุลินทรีย์ กระบวนการสลายและการสะสมกลับของแร่ธาตุของเนื้อเยื่อแข็งใน ช่องปาก วิทยาการระบาดของโรคฟันผุ ลักษณะรอยโรคฟันผุระดับดลินิกจุลกายวิภาคและโครงสร้างอย่างละเอียด มาตรการ ควบคุมและป้องกันโรคฟันผุ กระบวนการเมตาบอลิสมของฟลูออไรด์ กลไกการควบคุมโรคฟันผุโดยฟลูออไรด์ การใช้สารเคมี ควบคุมคราบจุลินทรีย์
พื้นฐานทางชีววิทยาในช่องปากในสภาวะปกติและในสภาวะที่มีพยาธิสภาพ รวมทั้งฟัน กระดูกขากรรไกร น้ําลายและเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องปาก โดยการรวบรวมความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยา จุลชีววิทยา ภูมิคุ้มกันในช่องปากและชีววิทยาของสารระหว่างเซลล์ รวมทั้งกลไกพื้นฐานของการเกิดโรคเพื่อประยุกต์ใช้ในทางคลินิก
โครงสร้างและการทําหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ในระบบของการบดเคี้ยว ได้แก่ ฟัน ขากรรไกรบน และขากรรไกร ล่าง ข้อต่อขากรรไกร กล้ามเนื้อบดเคี้ยว อวัยวะปริทันต์ อวัยวะข้างเคียงที่เกี่ยวข้องและกลไกการทํางานของระบบประสาทที่ ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว การเคลื่อนที่ของขากรรไกรแบบขอบและการเคลื่อนที่ตามหน้าที่การ เคลื่อนที่ของข้อต่อขากรรไกร ความสัมพันธ์ระหว่างด้านสบกับลักษณะการเคลื่อนที่ของขากรรไกร กลไกการบดเคี้ยวและ วงเคี้ยว การพูดและการกลืน หลักการสบฟันตามแนวคิดต่างๆ
วิทยาการระบาดของความผิดปกติในการทําหน้าที่ของระบบการบดเคี้ยว ลักษณะของความผิดปกติ การ วินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษาเพื่อการแก้ไขความผิดปกติด้วยการใช้เผือกสบฟันและวิธีการอื่นๆ รวมถึงการ ปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยายโดยฝึกหัดแต่งขี้ผึ้งในแบบหล่อ เพื่อเรียนรู้ลักษณะการสบฟันในตําแหน่ง สบในศูนย์ และการสบขณะเคลื่อนขากรรไกร และฝึกหัดทําเผือกสบฟันชนิดเสถียร
ความผิดปกติในการเจริญเติบโตของโครงสร้างอวัยวะของช่องปาก และอวัยวะข้างเคียง อันตรายและผลจาก การได้รับสารเคมีและปัจจัยทางกายภาพของช่องปาก ความเสื่อมของฟัน การติดเชื้อในช่องปาก ถุงน้ําในช่องปาก ความ ผิดปกติของเยื่อเมือกในช่องปากและผิวหนัง กระดูกและข้อต่อขากรรไกร ต่อมน้ําลาย และอวัยวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง เนื้องอกหรือมะเร็งทั้งชนิดที่กําเนิดจากอวัยวะของฟันและจากอวัยวะอื่นๆในช่องปากและเกิดขึ้นภายหลัง การทดลองที่ สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยาย
หลักการในการตรวจและให้คําวินิจฉัยโรคในช่องปาก การซักประวัติผู้ป่วย การตรวจทางคลินิก อาการและ อาการแสดง วิธีการตรวจเพิ่มเติม การวินิจฉัยแยกโรค การดูแลผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน และความสัมพันธ์ระหว่างการให้การ รักษาทางทันตกรรมกับเวชกรรม การส่งปรึกษาแพทย์ การบันทึกบัตร การวางแผนการรักษา และการส่งต่อการรักษาทาง ทันตกรรม
วิชาบังคับก่อน : DD3308 เวชศาสตร์ช่องปาก 1
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางคลินิกกับโครงสร้างทางกายวิภาคและจุลวิภาคของเยื่อเมือกปกติและ เยื่อเมือกที่ผิดปกติ ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของรอยโรคของเยื่อเมือกช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ชนิดต่างๆ ความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและช่องปาก รอยโรคก่อนมะเร็งและรอยโรคมะเร็ง รอยโรคในช่องปากที่เกี่ยวเนื่องกับ การติดเชื้อเอชไอวี อาการแสดงในช่องปากที่เกี่ยวเนื่องกับปฏิกิริยาของยา การให้คําวินิจฉัยและคําวินิจฉัยแยกโรค รวมทั้ง การรักษาและการพยากรณ์โรคหรือความผิดปกติ
พื้นฐานทางรังสีฟิสิกส์ของรังสีเอกซ์ รังสีชีววิทยาและการป้องกันอันตรายจากรังสีเอกซ์ กระบวนการสร้าง ภาพรังสีในระบบฟิล์มและระบบดิจิทัล การถ่ายภาพรังสีในและนอกช่องปากรวมทั้งลักษณะทางกายวิภาคปกติในภาพรังสี การประกันคุณภาพในงานรังสีวิทยาและการควบคุมการติดเชื้อในคลินิกรังสีวิทยา การระบุตําแหน่งโดยใช้ภาพรังสี การ ถ่ายภาพรังสีของฟัน กระดูกขากรรไกรและใบหน้าขั้นสูง รังสีวิทยาในงานนิติทันตวิทยา ความผิดปกติของฟันชนิดต่างๆ
วิชาบังคับก่อน : DD3310 รังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 1
หลักการส่งถ่ายและแปลภาพรังสีของฟัน กระดูกขากรรไกรและใบหน้า รังสีวิทยาของโรคฟันผุและโรค รอบปลายรากฟัน โรคปริทันต์ โรคของโพรงอากาศรอบจมูก ความผิดปกติของข้อต่อขมับขากรรไกร ความผิดปกติของ ต่อมน้ําลายและเงาทึบรังสีในเนื้อเยื่ออ่อน การติดเชื้อและการอักเสบของกระดูกขากรรไกร การบาดเจ็บที่เกิดกับฟันกระดูก ขากรรไกรและใบหน้า ถุงน้ําของกระดูกขากรรไกร เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงและร้ายแรงของกระดูกขากรรไกร โรคต่างๆ ที่ ปรากฏในกระดูกขากรรไกร การพัฒนาที่ผิดปกติของขากรรไกรและใบหน้าและโรคทางระบบที่ปรากฏในกระดูกขากรรไกร และใบหน้า
หลักพื้นฐานของทันตกรรมบูรณะ นิยามและขอบเขตรายวิชา สาเหตุของโรคฟันผุ การดําเนินของโรคฟันผุ การ ป้องกันและการรักษา การเรียกชื่อส่วนต่างๆของโพรงฟัน และการจําแนกชนิดของโพรงฟัน เครื่องมือที่ใช้ในงานทันตกรรม บูรณะ การเลือกใช้เครื่องมือ ทบทวนชนิดและการเลือกใช้วัสดุบูรณะฟันประเภทต่างๆ หลักการเตรียมโพรงฟันเพื่อการบูรณะ และวิธีการบูรณะให้สัมพันธ์กับลักษณะของเคลือบฟัน เนื้อฟัน และโพรงฟันเนื้อเยื่อในฟัน ตําแหน่งต่างๆ การสบฟันในงาน ทันตกรรมบูรณะและวัสดุเพื่อการบูรณะฟันวัสดุที่ใช้ในการป้องกันอันตรายเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันและวัสดุอุดชั่วคราว การ จัดตําแหน่งในการปฏิบัติงานในคลินิกและการควบคุมความชื้น ศึกษาวิธีการกรอเตรียมโพรงฟันชนิดที่บูรณะด้วยวัสดุอมัลกัม การเลือกใช้และวิธีการใช้เครื่องมือประเภทต่างๆ เพื่อการบูรณะด้วยวัสดุอมัลกัม การแยกฟัน การใช้เมตริกซ์และเวดจ์เพื่อ การอุด วิธีการอุดและการใส่อมัลกัมลงในโพรงฟัน การตกแต่งและวิธีการขัดวัสดุอมัลกัม
ฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรมบูรณะและเครื่องมือชนิดต่างๆ และวิธีการใช้งาน รวมถึงการดูแลรักษา เครื่องมือ ฝึกปฏิบัติการเตรียมโพรงฟันแบบต่างๆ ในฟันปูนพลาสเตอร์และฟันพลาสติกเพื่อการบูรณะ การอุด การตกแต่ง ตลอดจนการขัดแต่งวัสดุอมัลกัม รวมถึงการใช้สารรองพื้นโพรงฟันที่ถูกต้อง
วิชาบังคับก่อน : DD3312 ทันตกรรมหัตถการ 1
ศึกษาวิธีการกรอเตรียมโพรงฟันชนิดที่บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิต การเลือกใช้วัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดต่างๆ เครื่องมือที่ใช้ในการบูรณะ วิธีการบูรณะ วิธีการตกแต่ง และวิธีการขัดวัสดุบูรณะชนิดเรซินคอมโพสิต รอยโรคฟันสึกชนิด ต่างๆ วิธีการบูรณะให้สัมพันธ์กับลักษณะของเคลือบฟัน เนื้อฟัน และโพรงฟัน เนื้อเยื่อในฟันตําแหน่งต่างๆ ในหลักการของ การสูญเสียเนื้อฟันให้น้อยที่สุด การบูรณะปิดช่องว่างในฟันหน้า การบูรณะฟันเพื่อความสวยงามด้วยวัสดุสีเหมือนฟันชนิด ต่างๆ การทําวีเนียร์และการสีฟัน การให้การรักษาโพรงฟัน ที่มีขอบเขตกว้างใหญ่และซับซ้อน การตรวจช่องปาก การบันทึก พยาธิสภาพของฟันและการวางแผนการรักษา การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันโรคในช่องปาก
วิชาบังคับก่อน : DD3312 ทันตกรรมหัตถการ 1
DD3313 ฝึกปฏิบัติการทันตกรรมหัตถการ 1
ฝึกปฏิบัติการเตรียมโพรงฟันแบบต่างๆ ในฟันพลาสติกและฟันแท้ เพื่อการบูรณะ การอุด การตกแต่ง และการ ขัดแต่งด้วยวัสดุสีเหมือนฟันเรซินคอมโพสิตและกลาสไอโอโนเมอร์ได้
ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะปริทันต์ในภาวะปกติและภาวะเบี่ยงเบน แผ่นคราบจุลินทรีย์และหินน้ําลาย เชื้อจุลชีพ สําคัญที่เป็นสาเหตุของโรคปริทันต์ พยาธิภูมิคุ้มกันในโรคปริทันต์ การจําแนกชนิดของร่องลึกปริทันต์ และลักษณะการทําลาย กระดูกรองรับฟัน ปัจจัยส่งเสริมที่ทําให้เกิดโรคปริทันต์ ปัจจัยเสี่ยงของโรคปริทันต์ บทบาทของระบบบดเคี้ยวที่มีต่อโรค ปริทันต์ ระบาดวิทยาของโรคปริทันต์ และดัชนีที่ใช้ในทางปริทันตวิทยา
ศึกษาเกี่ยวกับการจําแนกชนิดของโรคปริทันต์ การตรวจวินิจฉัยทางปริทันต์ ลักษณะทางภาพรังสีของโรค ปริทันต์ การพยากรณ์โรคปริทันต์ การวางแผนการรักษาทางปริทันต์ หลักการรักษาและป้องกันโรคปริทันต์โดยวิธีทางกล ได้แก่ การขูดหินน้ําลายและเกลารากฟัน และการใช้ยาและสารเคมี ตลอดจนการให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อควบคุม แผ่นคราบจุลินทรีย์ ชนิดและหลักการใช้เครื่องมือพื้นฐานทางปริทันต์ การลับเครื่องมือที่ใช้ขูดหินน้ําลายและเกลารากฟัน เครื่องขูดหินน้ําลายอุลตราโซนิค การรักษาทางปริทันต์ร่วมกับการรักษาทางทันตกรรมสาขาอื่นๆ เครื่องมือยึดฟันในการ รักษาทางปริทันต์ อิทธิพลของการสูบบุหรี่และภาวะเบาหวานที่ส่งผลต่อ โรคปริทันต์ การรักษาโรคปริทันต์ที่มีโรคทางระบบ ร่วมด้วย การกรอแก้ไขการบาดเจ็บเหตุสบฟัน โรคปริทันต์อักเสบรุกราน โรคเหงือกและปริทันต์อักเสบเนื้อตายเฉียบพลัน การรักษาเร่งด่วนทางปริทันต์
วิชาบังคับก่อน : DD3317 ปริทันตวิทยา 2
หลักการและเหตุผลของการรักษาระยะแก้ไขสภาพ การหายของแผลที่เกิดขึ้นภายหลังการรักษาทางปริทันต์ ด้วยวิธีต่างๆ การผ่าตัดโดยวิธีศัลยกรรมไฟฟ้าและเลเซอร์ การทําศัลยกรรมปริทันต์ด้วยวิธีต่างๆ การลดความลึกของร่องลึก ปริทันต์ การทําให้เกิดการยึดเกาะใหม่ของอวัยวะปริทันต์ การทําให้เกิดการงอกใหม่ของอวัยวะปริทันต์ การแก้ไขความวิการ ของกระดูก การจัดการกับรอยโรคบริเวณช่องแยกรากฟัน ลักษณะเนื้อเยื่อ ปริทันต์รอบรากเทียมและความรู้พื้นฐานในการ รักษาโรคที่เกิดกับอวัยวะรอบรากเทียม และการดูแลรักษาเพื่อคงสภาพปริทันต์หลังจากที่ได้รับการรักษาแล้ว
วิชาบังคับก่อน : DD3317 ปริทันตวิทยา 2
ฝึกปฏิบัติการซักประวัติผู้ป่วย ตรวจภายในช่องปาก บันทึกบัตรผู้ป่วยปริทันต์ การใช้ดัชนีชี้วัดทางปริทันตวิทยา การวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาโรคปริทันต์เบื้องต้น ฝึกแนะนําการแปรงฟันและใช้อุปกรณ์เสริมการทําความสะอาดบริเวณซอกฟัน ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือตรวจหาหินน้ําลายเหนือเหงือกและใต้เหงือก ฝึกปฏิบัติการขูดหินน้ําลายและเกลา รากฟันในหุ่นจําลอง ฝึกปฏิบัติการลับเครื่องมือปริทันต์ชนิดต่างๆ รวมทั้งดูแลรักษาเครื่องมือทางปริทันต์
วิวัฒนาการของวิทยาการเอ็นโดดอนต์ รูปร่างลักษณะของโพรงเนื้อเยื่อในฟันแต่ละซี่ หน้าที่ของโพรงเนื้อเยื่อใน ฟันและความสัมพันธ์ระหว่างโพรงเนื้อเยื่อในฟันกับการรักษาคลองรากฟัน ทราบสาเหตุและการป้องกันการอักเสบ การตาย และการเสื่อมของเนื้อเยื่อในโพรงฟัน สาเหตุและอาการที่ตรวจพบทางคลินิกของโรคต่างๆของเนื้อเยื่อในฟันและเนื้อเยื่อรอบ ปลายราก จุลชีววิทยาในวิทยาการเอ็นโดดอนต์และการเพาะเชื้อ กระบวนการตรวจวิเคราะห์โรค การวินิจฉัย การพิจารณา ฟันที่จะรักษาคลองรากฟัน รวมทั้งการเลือกผู้ป่วยและการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบที่อาจมีผลต่อการรักษา คลองรากฟัน การบันทึกบัตรผู้ป่วย การถ่ายภาพรังสีประกอบการรักษาคลองรากฟัน เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาทาง เอ็นโดดอนต์ การใส่แผ่นยางกันน้ําลาย
วิชาบังคับก่อน : DD3320 วิทยาการเอ็นโดดอนต์ 1
กระบวนการรักษาคลองรากฟัน หลักการและวิธีการเปิดทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟัน การเตรียมคลองรากฟัน ชนิด และวิธีการใช้น้ํายาล้างคลองรากฟัน การใส่ยาในคลองรากฟัน เภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในผู้ป่วยรักษาคลองรากฟัน การบูรณะ ฟันชั่วคราวให้แนบสนิทบนตัวฟัน การลองกัตตาเปอร์ชาแท่งเอกและการอุดคลองรากฟัน แนวคิดในการบูรณะฟันที่รักษา คลองรากฟันแล้ว ความผิดพลาดในขณะรักษาคลองรากฟัน การแก้ไขและการป้องกันความผิดพลาดการใช้ยาชาและ ยาแก้ปวดในการระงับอาการปวดในงานเอ็นโดดอนต์ การที่สามารถแยกความเจ็บปวดบริเวณฟันที่ไม่ได้มีสาเหตุจากฟัน การ บําบัดรักษาฉุกเฉิน การเลือกผู้ป่วยที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ การประเมินความสําเร็จและล้มเหลวของการรักษาคลองรากฟัน การ พิจารณาการรักษาคลองรากฟันซ้ํา ศึกษาการทําศัลยกรรมเอ็นโดดอนต์ การละลายของรากฟัน การรักษาฟันมีชีวิตและ ฟันตายที่มีปลายรากเปิด การรักษาแบบฟื้นฟูสภาวะเนื้อเยื่อในการรักษาฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ การฟอกสีฟันที่ไม่มีชีวิตและฟันที่ มีโรคปริทันต์ร่วมด้วย เทคโนโลยีใหม่เพื่อการรักษาคลองรากฟัน
วิชาบังคับก่อน : DD3320 วิทยาเอ็นโดดอนต์ 1
ฝึกปฏิบัติการในแบบจําลอง การรักษาคลองรากฟันในฟันมนุษย์ที่ถูกถอนในฟันหน้า ฟันกรามน้อย เริ่ม ตั้งแต่การถ่ายภาพรังสี การเปิดทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อฟัน การวัดความยาวรากฟัน การเตรียมคลองรากฟัน การล้าง คลองรากฟัน การใส่ยาในคลองรากฟัน การอุดชั่วคราว และการอุดคลองรากฟันโดยใช้เทคนิคแลทเทอรัลคอมแพคชั่น
วิชาบังคับก่อน : DD4321 วิทยาเอ็นโดดอนต์ 2
DD4322 ฝึกปฏิบัติการวิทยาเอ็นโดดอนต์ 1
ฝึกปฏิบัติการในแบบจําลอง การรักษาคลองรากฟันในฟันมนุษย์ที่ถูกถอนในฟันกราม เริ่มตั้งแต่การถ่ายภาพ รังสี การเปิดทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อฟัน การวัดความยาวรากฟัน การเตรียมคลองรากฟัน การล้างคลองรากฟัน การใส่ยาใน คลองรากฟัน การอุดชั่วคราว การอุดคลองรากฟันโดยใช้เทคนิคแลทเทอรัลคอมแพคชั่นและการใส่แผ่นยางกันน้ําลาย
พื้นฐานของการทําศัลยกรรมช่องปาก การประเมินผู้ป่วยโดยการตรวจทางคลินิกและภาพถ่ายรังสี การใช้ เครื่องมือและหลักทางกลศาสตร์ของเครื่องมือศัลยกรรมช่องปากชนิดต่างๆ การตอบสนองของร่างกายต่อการบาดเจ็บชนิด ต่างๆ ของบาดแผล การหายของบาดแผล ภาวะเลือดออกและช็อค เภสัชวิทยาทางทันตกรรม การทําให้ปราศจากเชื้อทาง ศัลยกรรม การประเมินผู้ป่วยและข้อบ่งชี้สําหรับการถอนฟัน หลักการและเทคนิคการถอนฟันอย่างง่าย การถอนฟันที่มีความ ยุ่งยากซับซ้อน การป้องกันและแก้ไขอาการแทรกซ้อนจากการถอนฟัน การดูแลผู้ป่วยภายหลังการถอนฟัน วัสดุและเทคนิค ในการเย็บแผล
วิชาบังคับก่อน : DD3324 ศัลยศาสตร์ช่องปาก 1
หลักการและเทคนิควิธีการผ่าฟันคุดและฟันฝัง การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด การป้องกันและแก้ไข ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างและหลังทําศัลยกรรม หลักการตรวจวินิจฉัยปัญหาการติดเชื้อในช่องปากและใบหน้า อธิบายหลักการตรวจวินิจฉัย และจัดการปัญหาเกี่ยวกับภาวะโพรงอาการแม็กซิลลาอักเสบที่เกี่ยวข้องกับฟัน เรียนรู้และ สามารถวางแผนการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง เรียนรู้การจัดการแก้ไขภาวะ ฉุกเฉินในคลินิกทันตกรรม ภาวะเลือดออก ภาวะเจ็บแน่นหน้าอก ภาวะหมดสติ ภาวะช็อค ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น และ การแพ้ยา
วิชาบังคับก่อน : DD4325 ศัลยศาสตร์ช่องปาก 2
การตรวจวินิจฉัยและการจัดการปัญหาเกี่ยวกับบาดแผลในช่องปากและบริเวณใบหน้า โรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ํา ในกระดูกขากรรไกรที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากฟัน เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงและร้ายแรงในช่องปากและใบหน้า การทําศัลยกรรม ก่อนการใส่ฟัน และการทําศัลยกรรมปลายรากฟัน การประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกร และใบหน้า หลักการทางศัลยกรรมเพื่อการปลูกถ่ายฟัน การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยมีความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร ใบหน้า ข้อต่อขากรรไกร และผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ หลักการใช้เลเซอร์ในทางทันตกรรม
วิชาบังคับก่อน : DD4325 ศัลยศาสตร์ช่องปาก 2
ฝึกปฏิบัติในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฝึกทักษะการฉีดยาชาเฉพาะ รู้จักเครื่องมือทางศัลยกรรมช่องปาก ชนิดต่างๆ ฝึกทักษะการเย็บแผลแบบต่างๆ เรียนรู้หลักการปฏิบัติการกู้คืนชีพเบื้องต้นและปฏิบัติการเสมือนจริงในหุ่น
การตรวจวินิจฉัย รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยในโรงพยาบาล สารระงับความรู้สึก ยาดมสลบ ขั้นตอนการดมยาสลบ ศึกษา วิธีการอ่านเวชระเบียน บันทึกการรักษา การปรึกษา การส่งต่อและทักษะพื้นฐานที่ใช้ในโรงพยาบาล
การตรวจวินิจฉัยสภาพช่องปากของผู้ป่วยที่มีสันเหงือกไร้ฟัน การวางแผนการรักษา หลักการขั้นพื้นฐานในการ ทําฟันเทียมทั้งปากให้ผู้ป่วย การให้คําแนะนําผู้ป่วยและการแก้ไขฟันเทียมภายหลังใส่ ศึกษาชนิดลักษณะและวิธีทําฟันเทียม ชั่วคราวใส่ทันที การซ่อม การเสริมฐานและการเปลี่ยนฐานฟันเทียมทั้งปาก
ฝึกปฏิบัติการทําฟันเทียมทั้งปากบนแบบจําลอง เริ่มตั้งแต่ทําถาดพิมพ์เฉพาะบุคคล ทําฐานชั่วคราวและ แท่นกัด ยึดแบบหลักบนกลอุปกรณ์ขากรรไกรจําลอง เรียงฟัน แต่งขี้ผึ้ง อัดอะคริลิก ปรับการสบฟัน แกะฟันเทียมออกจาก แบบจําลองและขัดแต่ง ดูสาธิตวิธีซ่อมฐานฟันเทียมที่แตกหัก
วิชาบังคับก่อน : DD3329 ทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ 1 : ฟันเทียมทั้งปาก
DD3330 ฝึกปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ 1 : ฟันเทียมทั้งปาก
ความรู้พื้นฐานและคํานิยามที่เกี่ยวข้องกับฟันเทียมบางส่วนถอดได้ การวางแผนสําหรับการรักษาด้วยฟันเทียม บางส่วนถอดได้ การสํารวจชิ้นหล่อวินิจฉัย ส่วนประกอบและลักษณะของส่วนประกอบของฟันเทียม ชนิดและลักษณะของ ตะขอ การจําแนกส่วนโค้งไร้ฟันบางส่วน การออกแบบฟันเทียม ชีวกลศาสตร์ของฟันเทียมบางส่วนถอดได้ รูปแบบการสบฟัน ในฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ขั้นตอนการทําฟันเทียมบางส่วนถอดได้ฐานโลหะและฐานเรซินอะคริลิก เริ่มตั้งแต่เตรียมช่องปาก จนถึงใส่ฟันเทียม แก้ไขฟันเทียม ให้คําแนะนําผู้ป่วยและติดตามผลภายหลังใส่ การซ่อมและเสริมฐานฟันเทียม
วิชาบังคับก่อน : DD3329 ทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ 1 : ฟันเทียมทั้งปาก
DD3330 ฝึกปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ 1 : ฟันเทียมทั้งปาก
ฝึกปฏิบัติการหัดสํารวจชิ้นหล่อวินิจฉัย และวาดแบบฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ศึกษาส่วนประกอบและการ ออกแบบฟันเทียมบางส่วนถอดได้แบบต่างๆ เตรียมแข่งรับแบบต่างๆบนฟันปลาสเตอร์และฟันเดนโตฟอร์ม ทําฟันเทียม บางส่วนถอดได้ฐานเรซินอะคริลิกที่มีตะขอลวดดัดบนแบบจําลอง ขั้นตอนเริ่มตั้งแต่สํารวจชิ้นหล่อหลัก วาดแบบฟันเทียม จนถึงแต่งขี้ผึ้ง
วิชาบังคับก่อน : DD4331 ทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ 2 : ฟันเทียมบางส่วน
คํานิยามที่เกี่ยวข้องในทันตกรรมประดิษฐ์ติดแน่น การซักประวัติ ตรวจวินิจฉัยสภาพช่องปาก วางแผนการ รักษา หลักการสบฟัน การเตรียมฟันหลัก โลหะที่ใช้ในทางทันตกรรม หลักการขั้นพื้นฐานในการทําฟันเทียมติดแน่นแบบต่างๆ ได้แก่ แบบโลหะเต็มซี่ แบบโลหะเคลือบพอร์ซเลนและเซรามิกล้วน การลองชิ้นงานในปาก การเลือกใช้ซีเมนต์สําหรับยึดและ การยึดชิ้นงาน การให้คําแนะนําผู้ป่วยและติดตามผลการรักษา ความล้มเหลวในการให้การรักษาผู้ป่วยด้วยฟันเทียมติดแน่น
วิชาบังคับก่อน : DD4331 ทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ 2 : ฟันเทียมบางส่วน
DD4322 ฝึกปฏิบัติการวิทยาเอนโดดอนต์ 1
ฝึกปฏิบัติการวิทยาเอ็นโดดอนต์ 1
ฝึกปฏิบัติการหัดกรอแต่งฟันหลักสําหรับครอบฟันชนิดต่างๆ บนฟันเดนโตฟอร์ม ทําครอบฟันชั่วคราวบน แบบจําลองศึกษา ทําครอบฟันโลหะเคลือบพอร์ซเลนโดยวิธีอ้อมบนแบบจําลอง ขั้นตอนเริ่มตั้งแต่พิมพ์ฟันหลักทําไดและ ชิ้นหล่อหลักจนถึงแต่งกระสวนผึ้ง ทํากระสวนขี้ผึ้งเดือยฟันโดยวิธีตรงในฟันรากเดียวที่รักษาคลองรากแล้วจากแบบฝึกหัด รายวิชา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทันตกรรมรากเทียมขั้นตอนการทําฟันเทียมบนรากเทียมในผู้ป่วย ข้อบ่งชี้ ข้อควรระวัง ลักษณะทางกายวิภาคในช่องปากที่เกี่ยวข้อง จุลกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของกระดูกขากรรไกร ชนิดของฟันเทียมบน รากเทียม การตรวจสภาพช่องปาก ตรวจทางภาพถ่ายรังสี การวางแผนการรักษา ขั้นตอนการทําทางศัลยกรรมและทาง ทันตกรรมประดิษฐ์ การรักษาสภาพและการดูแลสุขภาพในช่องปากภายหลังทํา การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการจัดการ สาธิตการทําฟันเทียมบนรากเทียมตามขั้นตอนทางศัลยกรรมและทางทันตกรรมประดิษฐ์บนแบบจําลอง ศึกษาการวาง แผนการรักษาผู้ป่วยในกรณีตัวอย่าง
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงตามวัย การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางด้านจิตใจ เภสัชวิทยาและโภชนาการใน ผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โรคทั่วกายในผู้สูงอายุและการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการรักษา ทางทันตกรรม พยาธิสภาพ การรักษาและการป้องกันโรคในช่องปากในผู้สูงอายุ การวางแผนการรักษาและข้อควรคํานึงถึงใน การให้การรักษาทางทันตกรรม หลักการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุแบบองค์รวม นําเสนอการวางแผนการ รักษาผู้ป่วยในกรณีตัวอย่าง
ศึกษาพัฒนาการของเด็กทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและการขึ้นของฟันน้ํานม ฟันผุในเด็กเล็ก การตรวจ พื้นฐาน การวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาโรคในช่องปากขั้นพื้นฐาน การประเมินสภาวะฟันผุการจัดการทางพฤติกรรม ขณะให้การรักษาทางทันตกรรมสําหรับเด็ก วิธีการถ่ายภาพและการแปลภาพรังสีในช่องปากสําหรับผู้ป่วยเด็ก ขั้นตอนและ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการบูรณะฟันน้ํานมด้วยวัสดุอุดฟันชนิดต่างๆ ทันตกรรมป้องกันในเด็ก การให้ทันตสุขศึกษาเป็น รายบุคคลในคลินิกทันตกรรมสําหรับเด็ก การเคลือบหลุมร่องฟันและการใช้ฟลูออไรด์ในการป้องกันฟันผุ การใส่แผ่นยางกัน น้ําลายในผู้ป่วยเด็ก
วิชาบังคับก่อน : DD4537 ทันตกรรมสําหรับเด็ก 1
ศึกษาขั้นตอน เทคนิคการฉีดยาชา ตลอดจนข้อควรระวังภายหลังการฉีดยาชาในผู้ป่วยเด็ก ขั้นตอนและวัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการบูรณะฟันน้ํานมด้วยวัสดุชนิดต่างๆ การบูรณะฟันน้ํานมด้วยครอบฟันโลหะไร้สนิม การรักษาเนื้อเยื่อ ประสาทฟันน้ํานม การถอนฟันน้ํานม วิธีการขั้นตอนและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทําเครื่องมือกันฟันล้มสําหรับผู้ป่วยเด็ก วิธีการจัดการเมื่อมีภยันตรายเกิดขึ้นกับฟันน้ํานมและฟันแท้ ข้อควรระวังและข้อที่ควรคํานึงถึงในการให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยเด็กพิเศษ และผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบได้ โรคปริทันต์ในเด็กและวัยรุ่น ลักษณะรอยโรคในช่องปากที่พบใน เด็กและแนวทางการรักษา
วิชาบังคับก่อน : DD4337 ทันตกรรมสําหรับเด็ก 1
ฝึกปฏิบัติการเคลือบหลุมร่องฟัน การใส่แผ่นยางกันน้ําลายในผู้ป่วยเด็ก การบูรณะฟันน้ํานมด้วยวัสดุอุดฟัน ชนิดต่างๆ การบูรณะฟันน้ํานมด้วยครอบฟันโลหะไร้สนิม การรักษาเนื้อเยื่อประสาทฟันน้ํานม การทําเครื่องมือกันพันล้ม สําหรับผู้ป่วยเด็ก
ศึกษาลักษณะและประเภทความผิดปกติของการสบฟันและการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร สาเหตุและ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความผิดปกติของการสบฟัน วัตถุประสงค์ของการจัดฟัน ปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อและชนิดของการ เคลื่อนฟัน หลักการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันอย่างง่าย ศึกษาวิธีการตรวจวิเคราะห์และวินิจฉัยผู้ป่วยทางทันตกรรมจัดฟัน การวิเคราะห์ภาพรังสี การวัดกะโหลกศีรษะด้านข้าง หลักการออกแบบเครื่องมือชนิดถอดได้เพื่อป้องกันและแก้ไขความ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น
ฝึกปฏิบัติการพิมพ์ปากและการทําแบบจําลองฟันเพื่อการศึกษารวมถึงการวิเคราะห์แบบจําลองฟัน การ ลอกลายและการวิเคราะห์ภาพรังสี การวัดกะโหลกศีรษะด้านข้าง ฝึกพื้นฐานการดัดลวด การเชื่อมลวดในทางทันตกรรม จัดฟัน การออกแบบเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันแบบถอดได้เบื้องต้นได้
วิชาบังคับก่อน : DD4340 ทันตกรรมจัดฟัน 1
การวางแผนถอนฟันในทางทันตกรรมจัดฟัน ชีวกลศาสตร์ทางทันตกรรมจัดฟัน หลักการออกแบบเครื่องมือ ชนิดถอดได้เพื่อป้องกันและแก้ไขความผิดปกติในระยะปานกลาง ตัวค้ําหลักทางทันตกรรมจัดฟันและเครื่องมือจัดฟันชนิดถอด ได้ในแบบต่างๆ ศึกษาลักษณะเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันชนิดติดแน่น การจัดฟันด้วยเครื่องมือแบบฟังก์ชั่นนอล สาเหตุ และการบําบัดรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ การแก้ไขผู้ป่วยซึ่งมีความผิดปกติของการสบฟันอย่างมากรวมทั้งมีความ ผิดปกติของใบหน้าด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัด ความสําคัญและการใช้เครื่องมือเพื่อคงสภาพของฟันภายหลังการจัดฟัน ปัญหา การป้องกัน และแก้ปัญหาที่ฉุกเฉินหรือมีภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน
วิชาบังคับก่อน : DD4340 ทันตกรรมจัดฟัน 1
DD4341 ฝึกปฏิบัติการทันตกรรมจัดฟัน 1
ฝึกปฏิบัติการทําเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันเพื่อแก้ไขตําแหน่งของฟันสบคร่อมผิดปกติ เครื่องมือ แก้ลักษณะนิสัยที่ผิดปกติเกี่ยวกับช่องปากชนิดต่างๆ และเครื่องมือเพื่อใช้เพิ่มเนื้อที่ในการเรียงตัวของฟันที่สูญเสียไป การทํา เครื่องมือคงสภาพฟันชนิดถอดได้ และการดัดลวดขั้นก้าวหน้าในแบบต่างๆ ที่จําเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทํา เครื่องมือทางทันตกรรมชนิดติดแน่นต่อไป
ศึกษาวิวัฒนาการระบบบริการสุขภาพและการสาธารณสุขของไทยและต่างประเทศ นโยบายและการปฏิรูป ระบบบริการสุขภาพและระบบสาธารณสุขของไทยและต่างประเทศ แนวคิดเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพและระบบ สาธารณสุข ความสําคัญและบทบาทของงานทันตสาธารณสุขในทุกระดับ การแปลงนโยบายและการปฏิรูประบบบริการ สุขภาพและการสาธารณสุขสู่การปฏิบัติ หลักการและกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐาน ระบบการพัฒนาคุณภาพงานสาธารณสุข ไทย
ศึกษาปัญหาทางทันตสาธารณสุขและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปัญหา แนวคิด หลักการ ทฤษฎีและแนว ทางการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากแบบองค์รวมของบุคคลแต่ละวัย นโยบายและกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพชุมชน การ ป้องกันโรคในช่องปากทั้งระดับบุคคลและชุมชน หลักการและขั้นตอนการดําเนินโครงการทันตสาธารณสุขในชุมชน ตั้งแต่การ ประเมินปัญหา การวางแผนโครงการ การดําเนินงานและการประเมินผลโครงการด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างเสริม สุขภาพ ทฤษฎีการวางแผนงาน/โครงการสุขภาพ ทฤษฎีการประเมินผลและกระบวนการ รวมทั้งหลักการสร้างภาคีและ เครือข่าย และกฎหมายสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม และการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น
วิชาบังคับก่อน : DD3345 การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก
ฝึกปฏิบัติงานบริการสุขภาพพร้อมมูลระดับชุมชนและในโรงเรียนเพื่อค้นหาปัญหา วางแผนจัดทําโครงการ นําเสนอแผนงาน ดําเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากร่วมกับชุมชนและหรือเครือข่ายให้สอดคล้อง กับบริบทของสังคมการเมือง และทรัพยากรท้องถิ่นภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมและมีแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
วิชาบังคับก่อน : DD3346 ฝึกปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในชุมชน 1
ฝึกปฏิบัติงานบริการสุขภาพพร้อมมูลระดับชุมชนเพื่อดําเนินการเพื่อค้นหาปัญหา วางแผนจัดทําโครงการ นําเสนอแผนงานดําเนินการ ติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหาในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากร่วมกับ ชุมชนและหรือเครือข่าย ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม การเมืองและทรัพยากรท้องถิ่นภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนา อย่างมีส่วนร่วม และมีแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
วิชาบังคับก่อน : DD3308 เวชศาสตร์ช่องปาก 1
DD3309 เวชศาสตร์ช่องปาก 2
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกตรวจพิเคราะห์ เพื่อฝึกการลงบันทึกบัตร และการให้คําวินิจฉัยโรคในช่องปากที่ ไม่ซับซ้อนคือไม่มีฟันที่มีโรคของเนื้อเยื่อในและรอยโรคปลายรากจนถึงซับซ้อนปานกลาง อาทิเช่น มีฟันที่มีโรคของเนื้อเยื่อใน ฟัน หรือรอยโรคปลายรากมากกว่าหรือเท่ากับ 1-2 ซี่ โดยการซักประวัติผู้ป่วย อาการนํา ประวัติความเจ็บป่วยในปัจจุบัน ประวัติทางการแพทย์ การตรวจภายนอกช่องปากและการตรวจภายในช่องปาก การลงบันทึกบัตร การส่งถ่ายภาพรังสีและ การแปลผลภาพรังสี และการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ตลอดจนการวางแผนการรักษาและการส่งต่อการรักษาทางทันตกรรม และการให้คําอธิบายและคําแนะนําแก่ผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้น การส่งปรึกษาแพทย์ การอ่านผลเลือดและผล ตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เบื้องต้นและการจ่ายยาให้ผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น
วิชาบังคับก่อน : DD5348 คลินิกเวชศาสตร์ช่องปาก 1
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกตรวจพิเคราะห์ เพื่อฝึกการให้คําวินิจฉัยโรคในช่องปากที่ซับซ้อน มีรอยโรคในช่องปาก มี ฟันที่มีโรคของเนื้อเยื่อในฟัน หรือรอยโรคปลายรากมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ซี่ โดยการซักประวัติผู้ป่วย อาการนํา ประวัติความ เจ็บป่วยในปัจจุบัน ประวัติทางการแพทย์ การตรวจภายนอกช่องปากและการตรวจภายในช่องปาก การลงบันทึกบัตร การส่ง ถ่ายภาพรังสีและการแปลผลภาพรังสี และการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ตลอดจนการวางแผนการรักษาแบบเป็นองค์รวมและการ ส่งต่อการรักษาทางทันตกรรม การให้คําอธิบายและคําแนะนําแก่ผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพช่องปาก การส่งปรึกษาแพทย์ การ อ่านผลเลือดและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การจ่ายยาให้ผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น และให้การรักษา ผู้ป่วยที่มีรอยโรคในช่องปากที่ซับซ้อน
วิชาบังคับก่อน : DD4311 รังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 2
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกรังสีวิทยาโดยฝึกถ่ายภาพรังสีทั้งในและนอกช่องปาก การล้างฟิล์มและควบคุมคุณภาพ ของการถ่ายภาพรังสีทั้งระบบฟิล์มและดิจิตอล ศึกษากายวิภาคปกติในภาพรังสีต่างๆ ตลอดจนอภิปรายและเรียนรู้จากปัญหา ในการทํางานในคลินิกรังสีวิทยา การแปลภาพรังสีและวินิจฉัยแยกโรคในงานทันตกรรมทั่วไป ได้แก่ โรคฟันผุและโรครอบ ปลายรากฟัน โรคปริทันต์ ฟันคุดและฟันฝัง การบาดเจ็บที่เกิดกับฟันและขากรรไกร การแปลผลภาพรังสีของฟัน กระดูก ขากรรไกรและใบหน้าขั้นสูงจากกรณีศึกษาที่มีความซับซ้อน การศึกษางานวิจัยและวารสารสโมสรทางรังสีวิทยา
วิชาบังคับก่อน : DD4314 ทันตกรรมหัตถการ 2
DD4315 ฝึกปฏิบัติการทันตกรรมหัตถการ 2
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกเพื่อการตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษาทางทันตกรรมบูรณะ การเตรียมโพรงฟัน อย่างง่าย รอยยุที่มีการลุกลามถึงโพรงฟันที่มีการลุกลามปานกลาง และรอยผุที่มีการลุกลามถึงโพรงฟันที่มีการลุกลามมาก การให้การบําบัดรักษา และบูรณะรอยผุชนิดที่ไม่ซับซ้อนในผู้ป่วยจริงที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ให้การรักษาจนสมบูรณ์ โดยคํานึงถึงหลักการอนุรักษ์
วิชาบังคับก่อน : DD5351 คลินิกทันตกรรมหัตถการ 1
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกเพื่อการตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษาแบบองค์รวม และให้การบําบัด รักษา ในการ บูรณะรอยผุที่มีการลุกลามปานกลางถึงโพรงฟันที่มีการลุกลามมาก และมีความซับซ้อน ในผู้ป่วยจริง ที่ได้รับมอบหมายให้ รับผิดชอบ ให้การรักษาจนสมบูรณ์โดยคํานึงถึงหลักการอนุรักษ์
วิชาบังคับก่อน : DD4319 ฝึกปฏิบัติการปริทันตวิทยา
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกโรคปริทันต์ในการรักษาระยะเตรียมอนามัยช่องปาก ตรวจ บันทึกประวัติ วินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค และวางแผนการรักษาโรค ให้ความรู้และแนะนําการแปรงฟันและใช้อุปกรณ์เสริม การทําความสะอาดซอกฟันแก่ ผู้ป่วย ให้การรักษาโดยการขูดหินน้ําลายและเกลารากฟันในผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบระดับเริ่มต้น โรคเหงือกอักเสบระดับ ปานกลางจนถึงรุนแรง ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบระดับเริ่มต้นถึงปานกลาง และผู้ป่วยที่อยู่ในระยะคงสภาพหลังการรักษาโรค ปริทันต์
วิชาบังคับก่อน : DD5353 คลินิกปริทันตวิทยา 1
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกโรคปริทันต์ในการรักษาระยะเตรียมอนามัยช่องปาก ตรวจบันทึกประวัติ วินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค และวางแผนการรักษาโรค ให้ความรู้และแนะนําการแปรงฟันและใช้อุปกรณ์เสริม การทําความสะอาดซอกฟันแก่ ผู้ป่วย ให้การรักษาโดยการขูดหินน้ําลายและเกลารากฟันในผู้ป่วยโรคเหงือกอักเสบระดับปานกลางถึงรุนแรง ผู้ป่วยโรค ปริทันต์อักเสบระดับเริ่มต้นถึงรุนแรง และผู้ป่วยที่อยู่ในระยะคงสภาพหลังการรักษาโรคปริทันต์
วิชาบังคับก่อน : DD4323 ฝึกปฏิบัติการวิทยาเอ็นโดดอนต์ 2
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกเพื่อทําการตรวจวินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อในฟันและวางแผนการรักษา สื่อสารให้ผู้ป่วย เข้าใจแผนการรักษาและขั้นตอนการรักษา ให้การรักษาและพยากรณ์ผลการรักษาคลองรากฟันในฟันรากเดี่ยว รวมถึงการ บูรณะฟันภายหลังการรักษาคลองรากฟัน พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการรักษาภายหลังเสร็จสิ้นการรักษา
วิชาบังคับก่อน : DD5355 คลินิกวิทยาเอ็นโดดอนต์ 1
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกเพื่อทําการตรวจวินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อในฟันและวางแผนการรักษา สื่อสารให้ผู้ป่วย เข้าใจแผนการรักษาและขั้นตอนการรักษา ให้การรักษาและพยากรณ์ผลการรักษาคลองรากฟันในฟันรากเดี่ยว ฟันกรามน้อย รวมถึงการบูรณะฟันภายหลังการรักษาคลองรากฟันแล้ว ให้การบําบัดฉุกเฉินในรายที่มีอาการปวดหรือบวมก่อนและ/หรือ ภายหลังการรักษา
วิชาบังคับก่อน : DD4326 ศัลยศาสตร์ช่องปาก 3
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกเพื่อการประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนทําศัลยกรรมช่องปาก การเลือกใช้ยาชาเฉพาะที่และ การให้ยาชาเฉพาะที่เพื่อการทําศัลยกรรมช่องปาก อธิบายผู้ป่วยก่อนการรักษาถึงแผนการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจ เกิดขึ้น การถอนฟันปกติและการถอนฟันที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนปานกลางการสั่งยาและดูแลผู้ป่วยหลังถอนฟัน
วิชาบังคับก่อน : DD5357 คลินิกศัลยศาสตร์ช่องปาก 1
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิก การถอนฟันที่มีความยุ่งยากต้องใช้การผ่าตัดร่วมด้วย การผ่าตัดฟันคุดที่ยากและการ ผ่าตัดฟันคุดที่ยากและซับซ้อน การจัดการผู้ป่วยติดเชื้อที่เป็นปัญหาซับซ้อนปานกลาง ศัลยกรรมรอบปลายราก การผ่าตัดปุ่ม กระดูกงอกที่เพดานบนและการตัดปุ่มกระดูกที่ขากรรไกรล่าง และการผ่าตัดเพิ่มความลึกของเวสติบูล การผ่าตัดพรีนุ่ม เพื่อ รองรับการใส่ฟันการเขียนใบสั่งยา การห้ามเลือด การให้คําแนะนําในการปฏิบัติตนหลังการทําศัลยกรรมช่องปาก การขอ คําปรึกษาจากทันตแพทย์ต่างสาขาหรือส่งต่อ
วิชาบังคับก่อน : DD4331 ทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ 2 : ฟันเทียมบางส่วน
DD4332 ฝึกปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ถอดได้ 2 : ฟันเทียมบางส่วน
DD4333 : ทันตกรรมประดิษฐ์ติดแน่น
DD4334 ฝึกปฏิบัติการทันตกรรมประดิษฐ์ติดแน่น
ฝึกปฏิบัติงานคลินิกรักษาผู้ป่วยที่มารับบริการ โดยการฟื้นฟูระบบบดเคี้ยวด้วยการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ฟันเทียม บางส่วนถอดได้ ฟันเทียมชนิดติดแน่น ชนิดไม่ยุ่งยากซับซ้อน พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาจากการใส่ฟันเทียม ให้คําแนะนําผู้ป่วยและ ติดตามผลการรักษา
วิชาบังคับก่อน : DD5359 คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ 1
ฝึกปฏิบัติงานคลินิกรักษาผู้ป่วยที่มารับบริการ โดยการฟื้นฟูระบบบดเคี้ยวด้วยการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ฟันเทียม บางส่วนถอดได้ ฟันเทียมชนิดติดแน่น ชนิดยุ่งยากซับซ้อน พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาจากการใส่ฟันเทียม ให้คําแนะนําผู้ป่วยและ ติดตามผลการรักษา
วิชาบังคับก่อน : DD4337 ทันตกรรมสําหรับเด็ก 1
DD4338 : ทันตกรรมสําหรับเด็ก 2
DD4339 ฝึกปฏิบัติการทันตกรรมสําหรับเด็ก
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกเพื่อการปรับพฤติกรรมเด็ก สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการให้ความร่วมมือ วางแผนการรักษาแบบองค์รวมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในช่องปาก การป้องกันโรคในช่องปากในผู้ป่วยเด็ก การเคลือบหลุม ร่องฟัน การเคลือบฟลูออไรด์ การบูรณะฟันในเด็กด้วยวัสดุชนิดต่างๆ การจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุในการรักษาได้อย่าง ครบถ้วนและถูกต้องให้คําแนะนําและข้อควรปฏิบัติภายหลังการรักษาทันตกรรมเด็กได้
วิชาบังคับก่อน : DD5361 คลินิกทันตกรรมสําหรับเด็ก 1
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกเพื่อการปรับพฤติกรรมเด็ก สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการให้ความร่วมมือวาง แผนการรักษาแบบองค์รวมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในช่องปาก การป้องกันโรคในช่องปากในผู้ป่วยเด็ก การบูรณะฟันในเด็กด้วยวัสดุชนิดต่างๆ การรักษาโพรงประสาทฟันในผู้ป่วยเด็ก การบูรณะฟันในเด็กด้วยครอบฟันเหล็กกล้าไร้สนิม การถอนฟัน ในผู้ป่วยเด็ก จัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุในการรักษาได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องให้คําแนะนําและข้อควรปฏิบัติภายหลังการ รักษาทันตกรรมเด็กได้
วิชาบังคับก่อน : DD4342 ทันตกรรมจัดฟัน 2
ฝึกปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยเพื่อการจัดฟัน การวินิจฉัย การวางแผนการรักษา การออกแบบและการสร้าง เครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันอย่างง่ายสําหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ตลอดจนการดูแลและการติดตามผลการรักษาสําหรับผู้ป่วย รายนั้นๆ
วิชาบังคับก่อน : DD5363 คลินิกทันตกรรมจัดฟัน 1
ฝึกปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยเพื่อการจัดฟัน การวินิจฉัย การวางแผนการรักษา แบบองค์รวม การออกแบบและ การสร้างเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันอย่างยาก และลงมือทําการรักษา สําหรับผู้ป่วยเฉพาะราย มีการดูแลและการติดตาม ผลการรักษาสําหรับผู้ป่วยรายนั้นๆ วางแผนทํางานกลุ่มผลิตสื่อ ในเนื้อหาที่ต้องการเผยแพร่ความรู้ทาง ทันตกรรมจัดฟันและ ให้กับประชาชนทั่วไป
ฝึกปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยทางทันตกรรมบดเคี้ยว ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว การวินิจฉัย การวางแผนการรักษา การออกแบบและการสร้างเครื่องมือทางทันตกรรมบดเคี้ยวสําหรับผู้ป่วยเฉพาะราย การ ดูแลและการติดตามผลการรักษา
วิชาบังคับก่อน : DD5328 ทันตกรรมโรงพยาบาล
ฝึกปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมในโรงพยาบาล การตรวจวินิจฉัย การให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยที่ มีโรคทางระบบร่วมกับปัญหาทางศัลยศาสตร์ช่องปากและในกรณีที่มีคนไข้ฉุกเฉิน การส่งต่อผู้ป่วย ระบบการปฏิบัติงานของ โรงพยาบาล หอผู้ป่วยและห้องผ่าตัด ระบบการจ่ายยา ระบบพัสดุปลอดเชื้อทางทันตกรรม และระบบโดยรวมของ โรงพยาบาล
ให้นิสิตเรียนรายวิชาต่อไปนี้ หรือจากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น และ/ หรือในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา
วิวัฒนาการทางการแพทย์ของไทยและต่างประเทศ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพ ทันตกรรม คุณลักษณะที่ดีของทันตแพทย์ตามความคาดหวังของสังคม การเข้าถึงจิตใจผู้ป่วยและญาติ การดูแลผู้ป่วยแบบ องค์รวมโดยครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญาณ
ฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับประเด็นสําคัญการอ่านเพื่อการวิเคราะห์และประเมินบทความวิชาการด้าน ทันตแพทยศาสตร์ การเขียนสรุปประเด็นสําคัญจากบทความและตําราด้านทันตแพทยศาสตร์การฟังบรรยายและการ อภิปรายเชิงวิชาการด้านทันตแพทยศาสตร์ การสื่อสารทางวาจาในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพทันตกรรม
หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น การเลือกกล้อง เลนซ์ ฟิล์มและกล้องดิจิตอลที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพทาง ทันตกรรมการตกแต่งภาพถ่ายทางทันตกรรม จริยธรรมในการถ่ายภาพ ผลที่ได้จากการถ่ายภาพที่สามารถนําไปประยุกต์ ใน การปฏิบัติงานของทันตแพทย์การประยุกต์ใช้การถ่ายภาพทางทันตกรรมเพื่อการศึกษา การนําเสนอและการวิจัยทาง ทันตกรรม