วิทยาศาสตรบัณฑิต เทคนิคการแพทย์ ประเทศไทยได้ดำเนินการปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่ พ.ศ.2545 มีเป้าหมายให้บุคคลมีความเสมอภาคในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาจากสถานบริการสุขภาพของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เทคนิคการแพทย์เป็นวิชาที่ต้องใช้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ เพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลรักษา และแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันท่วงที กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีจำนวนนักเทคนิคการแพทย์ 1 คน/ประชากร 10,000 คน แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน โรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะของรัฐ ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร โดยปัจจุบันมีอัตราส่วนนักเทคนิคการแพทย์ 1 คน/ประชากร 70,368 คน อันเป็นเหตุให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับบริการไม่เพียงพอ และไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
"Leading knowledge, outstanding morality, emphasizing unity, quality"
ประเทศไทยได้ดำเนินการปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมาตั้งแต่ พ.ศ.2545 มีเป้าหมายให้บุคคลมีความเสมอภาคในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาจากสถานบริการสุขภาพของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เทคนิคการแพทย์เป็นวิชาที่ต้องใช้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ เพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลรักษา และแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันท่วงที กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีจำนวนนักเทคนิคการแพทย์ 1 คน/ประชากร 10,000 คน แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน โรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะของรัฐ ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร โดยปัจจุบันมีอัตราส่วนนักเทคนิคการแพทย์ 1 คน/ประชากร 70,368 คน อันเป็นเหตุให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับบริการไม่เพียงพอ และไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
ปี 2552
4 ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตกาญฯ
สภามหาวิทยาลัย สภาเทคนิคการแพทย์ และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน | 23,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียน (4 ปี) 120,000 บาท/ปี | 480,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 503,000 | บาท |
มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดระบบการชำระค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเป็นแบบระบบเหมาจ่าย กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาตลอดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต เป็นจำนวนเงิน 480,000 บาท โดยกำหนดให้นิสิตแบ่งชำระเป็นรายภาคการศึกษาละ 60,000 บาท เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ
ค่าหอพัก ห้องพักธรรมดา ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี พักอาศัย 2 คน/ห้อง | |||
---|---|---|---|
(1) | ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์หอพัก เมื่อแรกเข้าพัก คนละ 2 คน | 3,500 | บาท |
(2) | ค่าหอพัก (4 ปี) 18,000 บาท/ปี | 72,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 75,500 | บาท | |
หมายเหตุ | (1) ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 7 บาท | ||
(2) ค่าน้ำ คิดเป็นเหมาจ่ายปีละ 600 บาท/คน |
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้กำหนดให้เงินกู้ยืมค่าลงทะเบียนเรียนไม่เกินปีละ 90,000 บาท และค่าครองชีพไม่เกินปีละ 36,000 บาท ดังนั้น นิสิตจะต้องชำระส่วนต่างค่าลงทะเบียนเรียนเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาทต่อภาคการศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน | 23,000 | บาท |
---|---|---|---|
รวมทั้งหมด | 23,000 | บาท |
เมื่อชำระค่าสมัครเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดจนชำระค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนแล้ว ภายหลังไม่ประสงค์จะเข้าศึกษาหรือต้องสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัยฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนค่าใช้จ่ายไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
หมวดวิชา | เกณฑ์สกอ. | เกณฑ์สภาเทคนิคการแพทย์ | หลักสูตร | ||
---|---|---|---|---|---|
(1) | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
| ไม่น้อยกว่า 30 | ไม่น้อยกว่า 30 | 30 | หน่วยกิต |
(1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
| - | - | 9 | หน่วยกิต | |
(1.2) กลุ่มวิชาภาษา
| - | - | 15 | หน่วยกิต | |
(1.3) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
| - | 6 | หน่วยกิต | ||
(2) | หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 84 | ไม่น้อยกว่า 84 | 112 | หน่วยกิต |
(2.1) กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน | ไม่น้อยกว่า 84 | ไม่น้อยกว่า 31 | 22 | หน่วยกิต | |
(2.2) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | ไม่น้อยกว่า 84 | ไม่น้อยกว่า 31 | 17 | หน่วยกิต | |
(2.3) กลุ่มวิชาชีพ | ไม่น้อยกว่า 53 | 73 | หน่วยกิต | ||
(3) | หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 | ไม่น้อยกว่า 6 | 6 | หน่วยกิต |
รวม | ไม่น้อยกว่า 120 | ไม่น้อยกว่า 130 | 148 | หน่วยกิต | |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | - | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 72 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 72 | หน่วยกิต |
ศึกษาแนวคิดและพื้นฐานเกี่ยวกับชาติ การพัฒนาชาติโดยการเสริมสร้างพลังอํานาจในด้านการเมืองการ ปกครอง การทหาร เทคโนโลยี สังคม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงและวิธีการประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจและ สังคมไทยเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นการศึกษายังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ความ สัมฤทธิ์ผลของกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเหตุการณ์จริง ศาสนา ภูมิปัญญาไทย และท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมสิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างพลังอํานาจ แห่งชาติ จิตวิญญาณ จิตสาธารณะ หลักธรรมาภิบาล องคาพยพของสังคม การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วม ทางการเมือง
ศึกษาด้านจิตวิทยาประยุกต์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการดําเนินชีวิต การปรับตัว การทํางานร่วมกับ ผู้อื่น มนุษยสัมพันธ์ ทักษะในการทํางาน การคิดและการใช้เหตุผล จิตบริการ ศักยภาพในการทํางาน ภาวะผู้นํา ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาบุคลิกภาพ การตัดสินใจ
ศึกษาหลักคุณธรรม จริยธรรม และจริยศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประยุกต์ใช้ในชีวิต บทบาทหน้าที่ในสังคม การดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อให้นิสิตเข้าใจและสามารถที่จะปฏิบัติ ตนได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรมในบทบาทที่ตนดํารงอยู่ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและส่งเสริมการพัฒนาให้ดําเนิน ควบคู่ไปกับจริยธรรม การบําเพ็ญประโยชน์ เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมจิตสํานึกแห่ง ความรับผิดชอบต่อตนเอง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาปัญหาจริยศาสตร์ที่สําคัญ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการดําเนินชีวิตและการแก้ปัญหาจริยธรรมที่พบในสังคมปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญา มนุษย์กับการแสวงหาความจริงของชีวิต ปรัชญาชีวิต วิเคราะห์หา เหตุผลในการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ ศึกษาแนวคิดของหลักศาสนา ศาสนา เปรียบเทียบ สามารถนําหลักคําสอนของศาสนาต่างๆ มาใช้ในการดําเนินชีวิตอย่างผาสุกและเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งศึกษาการก่อเกิดวัฒนธรรม ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมไทย อันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
ศึกษาการใช้ภาษาไทยเพื่อให้เกิดทักษะในการสื่อความหมาย โดยคํานึงถึงความลึกในเชิงความรู้ ความ สมเหตุสมผล ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้องและพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ให้มี ประสิทธิภาพในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้อ่านงานเขียนประเภทต่างๆ โดยเน้นทักษะ การเขียนที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานทั้งทางราชการและทางธุรกิจ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในด้านอาชีพและ การศึกษาในระดับสูงต่อไป
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน โดยจะเน้นในด้านโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ง่ายๆ เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคในภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเน้นรูปควบคู่ไปกับหลักการอ่านและรูปแบบการอ่านแบบต่างๆ เช่น ข่าว เรื่องสั้น เรื่องยาว และการจับ ใจความ นิสิตจะได้รับการฝึกฝนจนสามารถฟังคําศัพท์และรูปประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้ในระดับพื้นฐาน
วิชาบังคับก่อน : EN1001 ภาษาอังกฤษ 1 ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน โดยจะเน้นศึกษาโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ที่ลึกซึ้ง เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคและศัพท์ ขั้น สูง พร้อมทั้งเน้นฝึกทักษะในการเขียนประโยคสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ที่ได้ศึกษามา พร้อมทั้งเริ่ม ฝึก ทักษะทางด้านการฟังและการพูดประโยคและบทสนทนาสั้นๆ จากสิ่งที่ได้เรียนมา
วิชาบังคับก่อน : EN1002 ภาษาอังกฤษ 2 ในระดับนี้จะเป็นการฝึกฝนและพัฒนาทักษะให้นิสิตสามารถอ่านและเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษในเชิง วิชาการและการสื่อสารแบบต่างๆ ของวงการธุรกิจ รวมถึงการศึกษาหนังสือหรือข้อความทางธุรกิจที่เกี่ยวกับข่าว คราวความเคลื่อนไหวต่างๆ ในวงการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยรูปประโยคที่ สลับซับซ้อนขึ้นและคําศัพท์ทางวิชาการและวงการธุรกิจในด้านการเขียน ซึ่งนิสิตจะได้รับการฝึกให้เขียน ข้อความ สั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ดังกล่าว การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและหลักที่ใช้เพื่อให้การใช้นั้นถูกต้องใน สถานการณ์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาทักษะด้านการฟังและการพูดเพื่อให้มีความสามารถในการสนทนาในหัวข้อ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับชีวิตประจําวันและใช้ได้ในวงการธุรกิจในลักษณะที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับธุรกิจและ เศรษฐกิจ รวมถึงการเรียนรู้สํานวนที่ถูกต้องในการสนทนาในโอกาสต่างๆ เช่น การทักทาย การพูดทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์เพื่อเข้าทํางาน การเล่าเรื่องสั้นๆ
ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในวิชาชีพ การแสดงบทบาท สมมติในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการและทีมสหสาขาวิชาชีพ การอภิปรายถกเถียงในประเด็นของวิชาชีพ
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้ ขั้นตอนการ ค้นคว้า การนําเสนอสารสนเทศ วิธีการรวบรวมบรรณานุกรม การจัดหมู่หนังสือ บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง ดรรชนี หลักเกณฑ์และวิธีการสืบค้นเอกสารและสิ่งพิมพ์ การอ่านและการจดบันทึกข้อความเพื่อนํามาเรียบเรียง รายงานวิชาการ รูปแบบของรายงาน และการเขียนรายงานอ้างอิง รวมถึงจริยธรรมของผู้ใช้สารสนเทศ
ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทฤษฎีของเซตและตรรกศาสตร์ ระบบจํานวน สมการและอสมการ ความน่าจะเป็น ฟังก์ชั่น สมการเส้นตรง ภาคตัดกรวย และระบบเมตริกซ์
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ทั้งโปรคาริโอตและยูคาริโอต การแบ่งเซลล์ และปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ กระบวนการในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต การจําแนกสิ่งมีชีวิต หลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การ สัมพันธ์และการเจริญของสิ่งมีชีวิต ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิเวศวิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การทดลองที่ สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในภาคบรรยาย
ปริมาณสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี สมบัติของของแข็ง ก๊าซ และของเหลว สารละลายและ คุณสมบัติของสารละลาย จลนศาสตร์เคมี สมดุลเคมี กรดและเบส ไฟฟ้าเคมี ตารางธาตุและเคมีของธาตุ เคมี นิวเคลียร์และปฏิบัติการเคมีที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
วิชาบังคับก่อน : SC1102 เคมีทั่วไป
โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี และการเกิดไฮบริไดเซชั่น สมบัติทางเคมีและทางกายภาพ การอ่านชื่อ ปฏิกิริยาการเตรียมและปฏิกิริยาการสังเคราะห์ของสารประกอบกรด-เบส อัลเคน อัลคีน อัลไคน์ อะโรเมติก แฮไลด์ อินทรีย์ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเธอร์ อีพอกไซด์ อัลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ และเอมีนฝึกฝนเทคนิคเบื้องต้นในการแยกสาร การทําให้สารบริสุทธิ์ การทดสอบสมบัติทางเคมีที่สําคัญของหมู่ ฟังก์ชั่นของสารประกอบอินทรีย์
ความหมายและความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศ อินเตอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลการประยุกต์ใช้โปรแกรม สําเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ SDLC และการออกแบบ Grant Chart ปฏิบัติการที่ สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
ลิมิต ความต่อเนื่อง การหาอนุพันธ์ และการอินทิเกรต ของฟังก์ชันค่าจริงของหนึ่งตัวแปรจริง และการ ประยุกต์ เทคนิคการอินทิเกรต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ สมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น
คุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของชีวโมเลกุล ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน กรดนิวคลีอิก เอ็นไซม์ วิตามิน และโคเอ็นไซม์ กระบวนการทางเมตาบอลิซึมและพลังงานของเซลล์ การสังเคราะห์สารทาง พันธุกรรม และการควบคุมการแสดงออกของยีนส์
คุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของชีวโมเลกุล ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน กรดนิวคลีอิก เอ็นไซม์ วิตามิน และโคเอ็นไซม์ กระบวนการทางเมตาบอลิซึมและพลังงานของเซลล์ การสังเคราะห์สารทาง พันธุกรรม และการควบคุมการแสดงออกของยีนส์
ทฤษฎีและการประยุกต์ของกลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล ความร้อนและอุณหพลศาสตร์ กระแสไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ขั้นแนะนํา เสียง ทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์อะตอม กัมมันตภาพรังสีและการประยุกต์ใช้ ปฏิบัติการที่ สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
รายละเอียดของโครงสร้าง รูปร่าง ลักษณะ องค์ประกอบ และตําแหน่งทั้งลักษณะทางมหกายวิภาค ศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์ของอวัยวะต่างๆ ของระบบในร่างกายมนุษย์ กลไกการทํางานและการประสานงาน ระหว่างอวัยวะในระบบต่างๆ ปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
รายละเอียดของหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบต่างๆ ของร่างกาย การรักษาสมดุลของ ร่างกาย การทํางานร่วมกันและสัมพันธ์กันของระบบต่างๆ ในร่างกาย การเจริญเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่การปฏิสนธิ และการเกิดเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
วิชาบังคับก่อน : SC1102
เคมีทั่วไป
บทนําเกี่ยวกับเคมีวิเคราะห์ หลักการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ การคํานวณปริมาณสัมพันธ์ สถิติในเคมี วิเคราะห์ แนวคิดและการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณขั้นพื้นฐานโดยปริมาตรและน้ําหนัก การไทเทรตกรดเบส การไทเทรตแบบตกตะกอน การไทเทรตแบบรีดอกซ์ และการไทเทรตแบบสารเชิงซ้อนทั้งในสารละลาย การ วิเคราะห์เชิงไฟฟ้า การวิเคราะห์โดยการชั่งน้ําหนักทั้งการตกตะกอนและการระเหย เทคนิคการแยกสาร ปฏิบัติการ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจุลชีววิทยา ชนิด รูปร่าง ลักษณะ สรีรวิทยา การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต เมแทบอลิซึม และการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ ความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในด้านการแพทย์และการสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม อาหาร และอุตสาหกรรม การต้านทานการติดเชื้อของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ฝึกปฏิบัติการใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อศึกษาจุลินทรีย์ เทคนิคการทําปลอดเชื้อ การเตรียมอาหารสําหรับ เลี้ยงจุลินทรีย์ การเพาะและการเลี้ยงเชื้อ เทคนิคการแยกเชื้อบริสุทธิ์ การทดลองทางชีวเคมี การวินิจฉัยจุลินทรีย์ เบื้องต้น การศึกษาผลของสารปฏิชีวนะต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ การวิเคราะห์คุณภาพของน้ําจากสิ่งแวดล้อมโดย ใช้แบคทีเรีย
กลไกการเกิดโรค ความผิดปกติและการเสียสมดุลของการทํางานของร่างกายในระบบต่างๆ ศึกษาโรคที่ พบบ่อยเกี่ยวกับนิยาม การวินิจฉัย สาเหตุ ระบาดวิทยา ปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
วิชาบังคับก่อน : MA1002
คณิตศาสตร์ทั่วไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ความน่าจะเป็น การ แจกแจงค่าสถิติ การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การคํานวณขนาดตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลแจงนับ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากร สมการถดถอยอย่างง่าย สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ การประยุกต์ใช้สถิติใน งานวิจัย
หลักการ วิธีการใช้ การบํารุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ ได้แก่ เครื่องแก้ว ไปเปตอัตโนมัติ เครื่องชั่ง กล้องจุลทรรศน์ เครื่องวัดการดูดกลืนแสง เครื่องปั่นเหวี่ยง ตู้บ่มเชื้อ เครื่องนึ่ง ฆ่าเชื้อ ตู้นิรภัยและตู้ปลอดเชื้อชีวภาพ หลักการของเทคนิคพื้นฐานทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ ได้แก่ หลักความปลอดภัย การคํานวณทางเคมี สารเคมี น้ําบริสุทธิ์ การเก็บสิ่งส่งตรวจ การเจาะเลือดจากหลอดเลือดดํา การ เพาะเชื้อ การเตรียมและย้อมสี สเมียร์เลือดและสเมียร์เชื้อจุลชีพ ฝึกปฏิบัติการใช้ บํารุงรักษาเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ เก็บและเตรียมสิ่งส่งตรวจ เจาะเลือดจากหลอด เลือดดํา เตรียมสเมียร์เลือด สเมียร์เชื้อจุลชีพ สีสําหรับย้อม ทําการย้อมสี และเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ
ชนิดและความแตกต่างของสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มยูคาริโอตและโปรคาริโอต ลักษณะโครงสร้าง ของโครโมโซม ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ประบวนการจําลองตัวของโครโมโซม และวัฏจักรของเซลล์ การจําลองตัว สังเคราะห์และถอดรหัสสารพันธุกรรม หลักการศึกษาโครโมโซม ปริมาณและชนิดของกรดนิวคลิอิก โปรตีน โดย เทคนิคทางอณูชีววิทยา ได้แก่ PCR, DNA sequencing, DNA Fingerprinting, Electrophoresis, Immunoblotting, Hybridization, Microarray หลักพันธุศาสตร์การเกิดมะเร็ง เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์, การโคลนเซลล์ การตัดต่อพันธุกรรม เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ที่ทันสมัยต่างๆ
ชนิดและความแตกต่างของสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มยูคาริโอตและโปรคาริโอต ลักษณะโครงสร้าง ของโครโมโซม ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ประบวนการจําลองตัวของโครโมโซม และวัฏจักรของเซลล์ การจําลองตัว สังเคราะห์และถอดรหัสสารพันธุกรรม หลักการศึกษาโครโมโซม ปริมาณและชนิดของกรดนิวคลิอิก โปรตีน โดย เทคนิคทางอณูชีววิทยา ได้แก่ PCR, DNA sequencing, DNA Fingerprinting, Electrophoresis, Immunoblotting, Hybridization, Microarray หลักพันธุศาสตร์การเกิดมะเร็ง เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์, การโคลนเซลล์ การตัดต่อพันธุกรรม เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ที่ทันสมัยต่างๆ
ชนิดของงานวิจัย หลักการดําเนินงานตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐาน การค้นคว้า ทบทวนองค์ความรู้งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การออกแบบและวางแผน การเขียนโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียน รายงาน การนําเสนอผลงานวิจัย จริยธรรมในการวิจัย ความหมาย บทบาทและประโยชน์ของชีวสถิติ หลักการเก็บ รวบรวมข้อมูลการตรวจสอบการแจกแจงของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมาน การสรุปผลวิเคราะห์ และ การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลัก สิทธิมนุษยชน สิทธิผู้ป่วย สิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบของนักเทคนิคการแพทย์ จรรยาบรรณวิชาชีพและกรณีศึกษา ที่เกี่ยวกับวิชาชีพประกอบกฎหมายวิชาชีพ
แนวคิดและหลักพื้นฐานการบริหารงาน ภาวะผู้นํา ธรรมาภิบาล การจัดระบบในห้องปฏิบัติการตาม มาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ ความปลอดภัย การกําจัดของเสียและสิ่งส่งตรวจ ระบบสารสนเทศใน ห้องปฏิบัติการ การประกันและการจัดการคุณภาพ การรับรองมาตรฐานและคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และโรงพยาบาล หลักการพัฒนาบุคลากร องค์กรและการจัดการงบประมาณ เครื่องมือด้านการบริหารจัดการ สมัยใหม่ ได้แก่ บาลานซ์ สกอร์การ์ด ซิกซ์ ซิกม่า
เสวนาวิชาการด้านความก้าวหน้าทางเทคนิคการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ สืบค้นงานบทความ วิจัย อ่าน วิเคราะห์ วิจารณ์ สรุปคุณค่าของบทความอย่างเป็นระบบ นําเสนอบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็น ภาษาอังกฤษจากวารสารนานาชาติภายใต้คําแนะนําของอาจารย์ที่ปรึกษา
วิชาบังคับก่อน : ทุกรายวิชาชีพในชั้นปีที่ 2 และ 3 รวบรวมข้อมูลพื้นฐานสําหรับการดําเนินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ออกแบบงานวิจัยโดยใช้ เทคนิคและแหล่งข้อมูลหลายด้านภายใต้คําแนะนําของอาจารย์ที่ปรึกษา เขียนโครงร่างวิจัย ทําการทดลอง วิเคราะห์ สรุปและวิจารณ์ผลการวิจัย การเขียนรายงานและนําเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาในชั้นเรียน
วิชาบังคับก่อน : SM1207 จุลชีววิทยาทั่วไป การจัดกลุ่ม ลักษณะโครงสร้าง รูปร่าง คุณสมบัติทางชีววิทยาและกลไกการก่อโรคของเชื้อแบคทีเรียที่มี ความสําคัญทางการแพทย์ อาการทางคลินิก และการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ติดเชื้อ การติดต่อ การระบาด การป้องกันและการควบคุมโร ฝึกปฏิบัติการเตรียมและรักษาสภาพสิ่งส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียทางการแพทย์ การเพาะเชื้อ การแยกและการพิสูจน์ชนิดของเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงและอาหารทดสอบ เชื้อ การควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการทางแบคทีเรียวิทยา
วิชาบังคับก่อน : SM2307 แบคทีเรียวิทยาทางการแพทย์ และ SM3308 ไวรัสวิทยาและกิณวิทยาทางการแพทย์ โรคและความผิดปกติของร่างกายมนุษย์ในระบบต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อจุลชีพ อาการทางคลินิก การ เก็บสิ่งตรวจ การรักษาสภาพและการขนส่งซึ่งเหมาะสมต่อการวินิจฉัยทางคลินิก สาเหตุ คุณสมบัติ และการป้องกัน เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลและชุมชน ฝึกปฏิบัติการแยกพิสูจน์เชื้อ การทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ การแปลผล การรายงานผล และการ ควบคุมภาพการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก
วิชาบังคับก่อน : SM1207 จุลชีววิทยาทั่วไป การจัดกลุ่ม ลักษณะโครงสร้าง รูปร่าง คุณสมบัติทางชีววิทยาและกลไกการก่อโรคของเชื้อไวรัสและเชื้อรา ที่มีความสําคัญทางการแพทย์ อาการทางคลินิก และการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและภูมิคุ้มกันในร่างกายของ ผู้ติดเชื้อ การติดต่อ การระบาด การป้องกันและการควบคุมโรค ฝึกปฏิบัติการเก็บสิ่งส่งตรวจ เตรียมและรักษาสภาพสิ่งส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัย การย้อมสี การเพาะเชื้อรา การวิเคราะห์น้ําเหลืองโดยหลักการทางภูมิคุ้มกันเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสและเชื้อรา การควบคุมคุณภาพการ วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ สาธิตวิธีการวินิจฉัยแบบพิเศษ
วิวัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ อวัยวะ เนื้อเยื่อและเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน คุณสมบัติของสิ่ง กระตุ้นภูมิคุ้มกันและแอนติเจน กลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะและจําเพาะต่อสิ่งกระตุ้น และเชื้อโรค การสร้างแอนติบอดี ลักษณะโครงสร้างและชนิดของแอนติบอดี การทํางานของคอมพลีเมนต์ และการ ปรับสภาวะภูมิคุ้มกันโดยการกระตุ้นด้วยวัคซีน หลักการของปฏิกิริยาของแอนติเจนและแอนติบอดี และการ ประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ฝึกปฏิบัติการเตรียมเซลล์ทางภูมิคุ้มกัน เม็ดเลือดขาวชนิด mononuclear และ polymorphonuclear การทดสอบหน้าที่ของเม็ดเลือดขาวและคอมพลีเมนต์ การทดสอบปฏิกิริยาของแอนติเจนและแอนติบอดี เทคนิค Immunodiffusion, Precipitation, Agglutination, Enzyme Immunoassay, Flow cytometry, Fluorescent Immunoassay
วิวัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ อวัยวะ เนื้อเยื่อและเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน คุณสมบัติของสิ่ง กระตุ้นภูมิคุ้มกันและแอนติเจน กลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะและจําเพาะต่อสิ่งกระตุ้น และเชื้อโรค การสร้างแอนติบอดี ลักษณะโครงสร้างและชนิดของแอนติบอดี การทํางานของคอมพลีเมนต์ และการ ปรับสภาวะภูมิคุ้มกันโดยการกระตุ้นด้วยวัคซีน หลักการของปฏิกิริยาของแอนติเจนและแอนติบอดี และการ ประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ฝึกปฏิบัติการเตรียมเซลล์ทางภูมิคุ้มกัน เม็ดเลือดขาวชนิด mononuclear และ polymorphonuclear การทดสอบหน้าที่ของเม็ดเลือดขาวและคอมพลีเมนต์ การทดสอบปฏิกิริยาของแอนติเจนและแอนติบอดี เทคนิค Immunodiffusion, Precipitation, Agglutination, Enzyme Immunoassay, Flow cytometry, Fluorescent Immunoassay
วิชาบังคับก่อน : SM2310 ภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐาน กลไกและการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันในภาวะผิดปกติและโรค ได้แก่ ภาวะภูมิไวเกิน ภูมิต้านทาน ต่อเนื้อเยื่อตนเอง ภูมิคุ้มกันต่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อจุลชีพ การไม่ตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะการเพิ่มหรือลดจํานวนเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน หลักการตรวจวินิจฉัยโรคและความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน ฝึกปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรคและภาวะผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกันทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยการติด เชื้อจุลชีพโดยการตรวจหาแอนติเจน แอนติบอดี การเปลี่ยนแปลงของระดับคอมพลีเมนต์และชนิดย่อยของ แอนติบอดี ใช้ชุดทดสอบซึ่งอาศัยปฏิกิริยาของแอนติเจนและแอนติบอดี การแปลผลการทดสอบ และการควบคุม คุณภาพการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก
จุลทรรศนศาสตร์คลินิกและปรสิตวิทยาคลินิก
ระบบการสร้างเม็ดเลือด ได้แก่ โครงสร้างและหน้าที่ของไขกระดูก ต่อมน้ําเหลืองและม้าม กระบวนการ เจริญเติบโต รูปร่างลักษณะ โครงสร้าง เมแทบอลิซึม หน้าที่ของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด ระบบ การห้ามเลือดและการละลายลิ่มเลือด ความผิดปกติและหลักในการรายงานรูปร่างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและ เกล็ดเลือด ฝึกปฏิบัติการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดํา จากปลายนิ้ว ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางโลหิตวิทยาคลินิก การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ การแยกชนิดและระยะของเซลล์เม็ดเลือดปกติจากเสมียร์เลือดและไขกระดูกการย้อมสีพิเศษ การวัดระดับเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง การทดสอบเบื้องต้นเพื่อประเมินความปกติของเกล็ดเลือด หลอดเลือดและระบบการแข็งตัวของเลือด
ชนิด ลักษณะ วงจรชีวิตของเชื้อปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด พยาธิ ใบไม้ โปรโตซัว พาหะของปรสิต การจําแนกแมลงและสัตว์ขาปล้องที่มีความสําคัญทางการแพทย์ ฝึกปฏิบัติการเก็บ รักษาสภาพและเตรียมสิ่งส่งตรวจทางปรสิตวิทยา ได้แก่ อุจจาระ เลือด และสารน้ํา ฝึก จําแนกชนิดและระยะของตัวพยาธิ ไข่พยาธิชนิดต่างๆ โปรโตซัว แมลงและสัตว์ขาปล้องที่มีความสําคัญทาง การแพทย์ การรายงานผลและแปลผลการวิเคราะห์ การควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยา
วิชาบังคับก่อน : SM2311 โลหิตวิทยาพื้นฐาน พยาธิกําเนิด และความผิดปกติเชิงปริมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ ระบบการห้ามเลือด การเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาในโรคตามระบบต่างๆ ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ําเหลือง ภาวะบกพร่องปัจจัยการแข็งตัวของเลือด โรคผิดปกติของหลอดเลือดและ เกล็ดเลือด การเกิดลิ่มเลือดและการติดเชื้อทางกระแสเลือด ฝึกปฏิบัติการนับแยกและรายงานเซลล์ที่ปกติและผิดปกติจากเสมียร์เลือด ไขกระดูกและชิ้นส่วนต่อม น้ําเหลือง การย้อมสีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพื่อช่วยแยกชนิด การทดสอบความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงร่วมกับ การแปลผลปริมาณเหล็กในเลือด การวิเคราะห์ปริมาณและคุณภาพของปัจจัยการแข็งตัวของเลือดและเกล็ดเลือด การแปลผลการตรวจวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยโรค
วิชาบังคับก่อน : SM3312 โลหิตวิทยาคลินิก แนวคิด หลักการ วิธีการของเทคโนโลยีพื้นฐานและสมัยใหม่ เทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ เครื่องวิเคราะห์ อัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติที่ใช้สนับสนุนการวินิจฉัยโรคทางโลหิตวิทยา แนวโน้มความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการ รักษาโรคทางโลหิตวิทยาด้วยเซลล์ต้นกําเนิดเม็ดเลือดและยืนบําบัด การประกันคุณภาพการวิเคราะห์ทาง ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา
วิชาบังคับก่อน : SM2311 โลหิตวิทยาพื้นฐาน ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบสารน้ําในร่างกาย ได้แก่ น้ําไขสันหลัง น้ําไขข้อ น้ําคร่ํา น้ําอสุจิ น้ําซึมซาน น้ําในช่องว่างในร่างกาย พยาธิสรีรวิทยาและอาการทางคลินิกของโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคไตและภาวะ ผิดปกติซึ่งมีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบสารน้ํา หลักการเก็บตัวอย่าง การรักษาสภาพและการตรวจวิเคราะห์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคและภาวะผิดปกติ การตั้งครรภ์ ภาวะมีบุตรยาก หลักการของอุปกรณ์และเครื่องมือ กึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติฝึกปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์ของ ปัสสาวะและสารน้ําในร่างกายด้วยวิธีมาตรฐาน การรายงานผลและการควบคุมคุณภาพการตรวจในห้องปฏิบัติการ
วิชาบังคับก่อน : SM2310 ภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐาน และ SM2311 โลหิตวิทยาพื้นฐาน ทฤษฎีระบบหมู่เลือดของมนุษย์ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่วนประกอบของเลือด ลักษณะและ คุณสมบัติของแอนติเจนและแอนติบอดีในหมู่เลือดต่างๆ ปฏิกิริยาของแอนติเจนและแอนติบอดีของหมู่เลือด ความ ไม่เข้ากันของหมู่เลือด โรคเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกคลอด ระบบ Major Histocompatibility Complex (MHC) หลักการปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก ความเสี่ยงและความผิดปกติจากการถ่ายอวัยวะและไขกระดูก
Blood Banking วิชาบังคับก่อน : SM3315 โลหิตวิทยาภูมิคุ้มกัน แนวคิดและหลักการพื้นฐานในการบริหารธนาคารเลือด การรับบริจาคเลือด การคัดกรองผู้บริจาค การ ตรวจวิเคราะห์เชื้อโรคจากเลือดบริจาคตามหลักความปลอดภัย การแยกและเตรียมส่วนประกอบของเลือด การ เก็บรักษา การเตรียมเลือดก่อนให้ผู้ป่วย การทดสอบการเข้ากันได้ของเลือด การแก้ไขปัญหาความไม่สอดคล้องของ ผลการตรวจหมู่เลือดและปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากการได้รับเลือด การให้เลือดในเด็ก ปัญหาจากการรับเลือด ฝึกปฏิบัติการคัดกรองผู้บริจาค การรับบริจาคเลือด เตรียมและแยกส่วนประกอบของเลือด ตรวจหาหมู่ เลือดด้วยวิธีมาตรฐาน ตรวจวิเคราะห์การติดเชื้อในเลือดบริจาค ทดสอบการเข้ากันได้ของเลือด คัดกรองและ ตรวจหาแอนติบอดีชนิดต่างๆ ของเลือดบริจาค และการตรวจพิเศษที่จําเป็นอื่นๆ
วิชาบังคับก่อน : SC2105 ชีวเคมี เมแทบอลิซึมของสารชีวโมเลกุล ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เอนไซม์ อิเล็กโทรไลต์ เกลือแร่ สมดุลน้ํา กรด-ด่างและก๊าซในเลือด การทํางานของระบบทางเดินอาหาร ขับถ่าย อวัยวะ หัวใจ ตับ ตับอ่อน ไต การเปลี่ยนแปลงของสารโมเลกุลในเลือดและสารน้ําที่สัมพันธ์กับพยาธิสภาพของระบบและอวัยวะต่างๆ หลักการ วิเคราะห์สารชีวโมเลกุล ความสัมพันธ์ของโรคกับผลตรวจวิเคราะห์ และการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ทาง ห้องปฏิบัติการ ฝึกปฏิบัติการเก็บ เตรียมสิ่งส่งตรวจ วิเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่างๆจากสิ่งส่งตรวจ ได้แก่ กลูโคส โปรตีน เอนไซม์ ไขมัน ยูเรีย ครีเอตินิน ก๊าซและอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งอาศัยหลักการทางเคมีคลินิกแบบ Colorimetric, enzymatic, endpoint และ kinetic โดยใช้เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการ วิเคราะห์และการแปลผล
SM2317 เคมีคลินิกทั่วไป เมแทบอลิซึมของสารเคมีอันตราย พิษจสนศาสตร์และพิษพลศาสตร์ ผลกระทบและกลไกการทําให้เกิดพิษ การตอบสนองและการเกิดพยาธิสภาพของร่างกายต่อสารพิษ การจําแนกประเภทและชนิดของสารพิษต่างๆ หลักการเก็บตัวอย่างและการตรวจวิเคราะห์สารกําจัดศัตรูพืช แอลกอฮอล์ สารเสพติด ยารักษาโรค สารพิษตาม ธรรมชาติ โลหะหนัก ก๊าซพิษ สารระเหย บุหรี่ สารพิษจากสิ่งแวดล้อม วัตถุเจือปนในอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใน บ้านเรือน ฝึกปฏิบัติการเก็บ เตรียมสิ่งส่งตรวจ การวิเคราะห์สารเคมีและสารพิษชนิดต่างๆ รายงานผล แปลผลการ วิเคราะห์และการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพิษวิทยา
วิชาบังคับก่อน : SM2317 เคมีคลินิกทั่วไป ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ สารบ่งชี้มะเร็ง ภาวะผิดปกติ พยาธิสภาพและโรคซึ่งสัมพันธ์ กับระบบ หลักการตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ สารบ่งชี้มะเร็ง การประเมินคุณสมบัติของวิธีตรวจ วิเคราะห์ หลักการของเครื่องมือวิเคราะห์อัตโนมัติ ความสัมพันธ์ของโรคกับผลการตรวจวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ และสารบ่งชี้มะเร็ง จากชุดทดสอบและเครื่องมือ วิเคราะห์อัตโนมัติ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวิเคราะห์ การแปลผล และการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ทาง ห้องปฏิบัติการ
วิชาบังคับก่อน : SM3318 เคมีคลินิกเฉพาะทาง แนวคิด หลักการ วิธีการของเทคโนโลยีพื้นฐานและสมัยใหม่ ที่ใช้วินิจฉัยโรคและภาวะผิดปกติต่างๆทาง เคมีคลินิกในปัจจุบันและความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้ในอนาคต
วิชาบังคับก่อน : ทุกรายวิชาชีพในชั้นปีที่ 2 และ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง อาการแสดง ประวัติ ผลการตรวจร่างกาย และผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ แนวทางการเลือกวิธีวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างเหมาะสม ข้อควรคํานึงในการแปลผลการ วิเคราะห์ เรียนรู้จากกรณีศึกษา
วิชาบังคับก่อน : ทุกรายวิชาชีพในชั้นปีที่ 2 และ 3 หลักการสํารวจชุมชน วิเคราะห์ปัญหาอนามัยสุขภาพ การจัดทําแผนและดําเนินการโครงการสุขภาพ โดย บูรณาการความรู้ทางเทคนิคการแพทย์ ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและวินิจฉัยโรค ติดตามตรวจประสิทธิภาพ ของโครงการ ออกชุมชนเพื่อจัดโครงการสุขภาพจากการวิเคราะห์ปัญหาอนามัย ดําเนินการตามแผนงานที่กําหนด ร่วมประเมินผลสําเร็จของโครงการ
วิชาบังคับก่อน : ทุกรายวิชาชีพในชั้นปีที่ 2 และ 3 ฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคการแพทย์ในห้องปฏิบัติการทางคลินิกจําลองครอบคลุมทุกสาขา ได้แก่ เคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก ธนาคารเลือด โลหิตวิทยา จุลทรรศนศาสตร์และปรสิตวิทยาคลินิก ภายใต้ การดูแลและฝึกฝนของอาจารย์ประจําสาขา เน้นทักษะปฏิบัติทางวิชาชีพที่ใช้ในงานประจํา การรายงานผล การดู ความสัมพันธ์ของผลการทดสอบ การแปลผล และการประกันคุณภาพการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการตาม มาตรฐานวิชาชีพ
วิชาบังคับก่อน : ทุกรายวิชาในชั้นปีที่ 1-4 ฝึกปฏิบัติงานทางเทคนิคการแพทย์ในห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ได้รับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการและมีการตรวจวิเคราะห์ครบทุกสาขา โดยใช้วิธีและเทคนิคที่ได้มาตรฐาน การ ทดสอบพิเศษ ฝึกใช้งาน ดูแลเครื่องมือวิเคราะห์กึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติที่ทันสมัย เรียนรู้ระบบบริหารจัดการ ห้องปฏิบัติการอย่างครบวงจร ระบบประกันคุณภาพ ทํางานร่วมกับผู้ร่วมงาน แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปฏิบัติตาม จรรยาบรรณวิชาชีพ ร่วมปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันและวินิจฉัยภาวะสุขภาพให้กับผู้เข้ารับบริการและ ชุมชน มีส่วนร่วมในการทําวิจัยในห้องปฏิบัติการคลินิก
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้ และ/หรือจากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย เวสเทิร์นและ/หรือในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา
ประเภทและคุณสมบัติทางชีวเคมีของสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ํา ความจําเป็นในการได้รับสารอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ หลักการประเมินภาวะโภชนาการ การคํานวณคุณค่า สารอาหาร ภาวะสมดุลของอาหารและสุขภาพ ภาวะทุโภชนาการ ปัญหาทางโภชนาการในปัจจุบัน โภชนบําบัดทาง การแพทย์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และรักษาโรคหรือภาวะเจ็บป่วยต่างๆ บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระ
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ยาบําบัดโรค ประเภทของยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาและฤทธิ์อันไม่พึง ประสงค์ของยา การดูดซึม การกระจายตัว การคงอยู่ และการขับออกของยา ข้อบ่งใช้และข้อห้ามใช้ การเสริมฤทธิ์ และการต้านฤทธิ์ของยา
กระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ ระบบกระบวนการยุติธรรม หลักการ วิธีการเก็บหลักฐานในสถานที่ เกิดเหตุ การตรวจวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานทางพันธุศาสตร์ การประเมินอัตลักษณ์ การตรวจสารพิษทางนิติ วิทยาศาสตร์ การประเมินบาดแผล การประมาณเวลาตายและสาเหตุการตาย
ชนิด ลักษณะโครงสร้าง การเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ โพรไอโอติก การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ในอุตสาหกรรมอาหาร การเสื่อมคุณค่าและการเน่าเสียของอาหารโดยจุลินทรีย์ วิธีการควบคุมการเน่าเสียของ อาหาร จุลินทรีย์ที่บ่งชี้คุณภาพของอาหารและน้ําดื่ม
ศัพท์ทางการแพทย์ภาษาอังกฤษ หลักการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษในวิชาชีพทางการแพทย์ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน การเขียนบทความเชิงวิชาการและการอภิปรายถกเถียงเชิงวิชาการ
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น