บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเลขที่ 2/4 2540 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการเปิดการสอนหลักสูตรต่างๆ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท นับตั้งแต่ได้เปิดดำเนินการสอนมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 19 ปี มหาวิทยาลัย เวสเทิร์นมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากร ระบบการศึกษา และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางคุณภาพการศึกษา สร้างคลังแห่งขุมปัญญาที่จะพัฒนาบุคคลให้เป็นศึกษิต คือ บัณฑิตที่เป็นปัญญาชน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตน สังคม ประเทศชาติ และมนุษยชาติในที่สุด ด้วยอุดมการณ์แห่งความร่วมมือยิ่งกว่าการแข่งขัน อีกทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศยังไม่มีการเปิดสอนในหลักสูตรกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจนเฉพาะด้าน ประเทศยังขาดองค์ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนอย่างครบถ้วน ขาดบุคลากรทางด้านกฎหมายมหาชน ประชาชนขาดความเข้าใจในกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีพันธกิจ ที่สำคัญคือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในด้านกฎหมายมหาชน เพื่อการป้องกัน การสร้างเสริม การคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ที่ถูกเอาเปรียบจากการกระทำต่างๆ เพื่อลดผลกระทบและปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
“นิติศาสตร์มุ่งมั่น สรรค์สร้างความยุติธรรม เลิศล้ำความดีเป็นศรีเวสเทิร์น”
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเลขที่ 2/4 2540 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการเปิดการสอนหลักสูตรต่างๆ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท นับตั้งแต่ได้เปิดดำเนินการสอนมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 19 ปี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากร ระบบการศึกษา และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางคุณภาพการศึกษา สร้างคลังแห่งขุมปัญญาที่จะพัฒนาบุคคลให้เป็นศึกษิต คือ บัณฑิตที่เป็นปัญญาชน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตน สังคม ประเทศชาติ และมนุษยชาติในที่สุด ด้วยอุดมการณ์แห่งความร่วมมือยิ่งกว่าการแข่งขัน อีกทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศยังไม่มีการเปิดสอนในหลักสูตรกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจนเฉพาะด้าน ประเทศยังขาดองค์ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนอย่างครบถ้วน ขาดบุคลากรทางด้านกฎหมายมหาชน ประชาชนขาดความเข้าใจในกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีพันธกิจ ที่สำคัญคือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในด้านกฎหมายมหาชน เพื่อการป้องกัน การสร้างเสริม การคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ที่ถูกเอาเปรียบจากการกระทำต่างๆ เพื่อลดผลกระทบและปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ปี 2541
Course Work 1 ปีการศึกษา
ศูนย์การศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
สภามหาวิทยาลัยและกระทรวง อุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/ รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 4,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร | 168,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 172,000 | บาท | |
หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมสำหรับนิสิตต่างชาติระดับปริญญาเอก (USD 1500 ต่อภาคการศึกษา) |
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
วิธีสมัครเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
https://xregis.western.ac.th/index_enroll.html#/enroll
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และ ทําโครงร่างวิทยานิพนธ์และจัดทําวิทยานิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และมี การเสนอผลงานต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์คณะกรรมการสอบ
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาเฉพาะ | 18 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 9 | หน่วยกิต |
หมวดวิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต |
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 39 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาเฉพาะ | 18 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 15 | หน่วยกิต |
หมวดศึกษาค้นคว้าอิสระและสารนิพนธ์ | 6 | หน่วยกิต |
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 39 | หน่วยกิต |
วัตถุประสงค์ของวิชานี้ คือ การเตรียมนิสิตให้พร้อมสําหรับวิเคราะห์วิจัยกฎหมายเป็นภาษาอังกฤษที่มี ความลึกซึ้งและถี่ถ้วน นิสิตสามารถใช้ภาษาอังกฤษกฎหมายทั้งการเขียนและการพูดอย่างถูกต้อง และมีความหมาย นิสิตที่เข้าเรียนวิชานี้ต้องส่งงานเขียนอย่างสม่ําเสมอเพื่อเตรียมสําหรับการให้ความเห็นอย่างมีประสิทธิภาพในฐานะที่ ปรึกษากฎหมายต่อไป
วัตถุประสงค์ของวิชานี้ คือ การเตรียมนิสิตให้พร้อมสําหรับวิเคราะห์วิจัยกฎหมายเป็นภาษาอังกฤษที่มี ความลึกซึ้งและถี่ถ้วน นิสิตสามารถใช้ภาษาอังกฤษกฎหมายทั้งการเขียนและการพูดอย่างถูกต้อง และมีความหมาย นิสิตที่เข้าเรียนวิชานี้ต้องส่งงานเขียนอย่างสม่ําเสมอเพื่อเตรียมสําหรับการให้ความเห็นอย่างมีประสิทธิภาพในฐานะที่ ปรึกษากฎหมายต่อไป
ศึกษาทฤษฎีและหลักการหลักการของกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง ความหมายและการ แบ่งประเภทกฎหมายมหาชน วิวัฒนาการของปรัชญาและสถานะของกฎหมายมหาชนในยุคต่างๆ ตั้งแต่ยุคกรีกถึงยุค ปัจจุบัน แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนในสกุลกฎหมายต่างๆ และวิวัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศ ไทย ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐ โดยเน้นปรัชญาเกี่ยวกับรัฐ ลักษณะของรัฐ สถานะทางกฎหมายของรัฐความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐกับกฎหมายทฤษฎีเกี่ยวกับอํานาจโดยเน้นปรัชญาและหลักของอํานาจรัฐ ทฤษฎีการแบ่งแยกการใช้อํานาจอิปไตย การจัดรูปรัฐบาลแบบต่างๆ ตามความสัมพันธ์แห่งอํานาจ ความหมายและขอบเขตการกระทําทางนิติบัญญัติ ทางบริหารและทางตุลาการ ตลอดจนสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลยพินิจ และการใช้อํานาจในสถานการณ์ ไม่ปกติ ทฤษฎีนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน ทฤษฎีว่าด้วยความชอบธรรมในการใช้อํานาจและการควบคุมการใช้ อํานาจรัฐ หลักนิติรัฐและหลักการควบคุมการใช้อํานาจต่างๆ อย่างกว้าง
ศึกษาปัญหารากฐานทางทฤษฎีกฎหมายและทฤษฎีทางนิติศาสตร์ ศึกษาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ ความคิดของกฎหมายธรรมชาติและปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย ศึกษาแนวคิดกระแสหลักอื่นๆ ในทางนิติปรัชญา เช่น แนวความคิดสํานักกฎหมายปรู้วัติศาสตร์ ทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์ (Pure Theory of Law) นิติศาสตร์เชิงวิจารณ์ (critical legal Studies) แนวความคิดนิติศาสตร์ เชิงเศรษฐกิจ (Economical Philosophy) เชิงรัฐศาสตร์ (Polical Philosophy) และ เชิงสังคมวิทยา (Sociological Jurisprudence) ตลอดทั้งความคิดว่าด้วยยุติธรรม ปัญหาที่เกี่ยวกับ สภาพบังคับของกฎหมายกับศิลธรรม รวมถึงภารกิจของกิจของวิชานิติปรัชญาในยุคปัจจุบัน
ศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องรัฐและการปกครองแบบประชาธิปไตย การแบ่งแยกอํานาจ และรูปแบบการ ปกครองซึ่งมีที่มาจากการแบ่งแยกอํานาจ แนวความคิดว่าด้วยความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและ กระบวนการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ และศึกษาเกี่ยวกับหลักการว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และวิวัฒนาการทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักการดังกล่าว รวมตลอดไปถึงการศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับระบบพรรค การเมือง และกระบวนการเลือกตั้งในประเทศประชาธิปไตยต่างๆ การวิเคราะห์ผลบังคับกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันว่าที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขของไทย รวมทั้งบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ การตีความรัฐธรรมนูญ กรณีศึกษาบทบาทของหลักกฎหมายว่าด้วยสหภาพยุโรป
ศึกษาประวัติความเป็นมาหลักนิติรัฐและลักษณะของฝ่ายปกครองและกฎหมายปกครอง บ่อเกิดและ การใช้การตีความกฎหมายปกครอง การจัดโครงสร้างของฝ่ายปกครอง หลักการจัดทําบริการสาธารณะทฤษฎีว่าด้วย การกระทําของฝ่ายปกครอง หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และหลักความรับผิดชอบของฝ่ายปกครอง ตลอดทั้งหลักกฎหมายเกี่ยวกับบุคลากรและทรัพย์สินของฝ่ายปกครอง วิเคราะห์บทบาทของการปกครองถิ่นของไทย และหลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกฎหมายฝ่ายปกครอง วิเคราะห์บทบาทของศาลปกครองไทยในการคุ้มครอง สาธารณะประโยชน์ต่างๆ
ศึกษาทฤษฎีการคลังมหาชน หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการงบประมาณ การภาษีอากร ทฤษฎีเกี่ยวกับ นโยบายการเงินการคลังของรัฐ การใช้มาตรการทางการเงิน การคลัง และการภาษีอากรในการกําหนดนโยบาย เศรษฐกิจการคลังและการเงินของรัฐ ตลอดทั้งแนวความคิดเกี่ยวกับอํานาจของรัฐสภาและรัฐบาลในการควบคุมทาง การเงินและการคลังของรัฐ
ศึกษาปัญหาต่างๆ ว่าด้วยการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และมาตราการของผู้ใช้อํานาจของทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญ และปัญหากฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของการเมือง ปัญหาต่างๆ ในรัฐธรรมนูญว่าด้วยการกระทํา ของฝ่านิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายบริหาร ปัญหากฎหมายปกครอง กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ว่า ด้วยการกระทําฝ่ายปกครอง การควบคุมการกระทําของฝ่ายปกครอง การใช้ดุลยพินิจของฝ่ายปกครอง ตลอดทั้ง ศึกษาวิเคราะห์แนวทาง คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองของไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศ
ศึกษาแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับคดีปกครอง เขตอํานาจของศาลปกครอง หลักการพื้นฐานใน กระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครอง รูปแบบคําร้องในคดีปกครอง เงื่อนไขการฟ้องและการดําเนินกระบวนวิธีพิจารณา คดีปกครอง การควบคุมมิให้ขัดต่อขัดต่อกฎหมายโดยศาลปกครอง การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคคคคําพิพากษา การ ระงับกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครอง คําพิพากษาและผลของคําพิพากษาในคดีปกครอง การบังคับคดีตามคํา พิพากษาทั้งนี้โดยศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของต่างประเทศ ที่สําคัญ การวิเคราะห์บทบาทของศาลปกครองไทยในการคุ้มประโยชน์สาธารณะและสิทธิของเอกชนว่าสอดคล้องกับสภาพ สังคม เศรษฐกิจการเมืองของไทยอย่างไร
ให้นิสิตค้นคว้าวิจัยในหัวข้อศึกษาที่นิสิตเลือก โดยได้รับคําแนะนําและความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอน โดยเน้นให้นิสิตศึกษาด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลทางวิชาการตามระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ (Research Methodology) ที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้บรรยาย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ หลังจากนั้น จึงกําหนดวันให้นิสิตส่งผลงานวิจัยเข้าสัมมนาเพื่อนําเสนอในชั้นเรียน แล้วจัดให้มีการอภิปรายระหว่างนิสิตกับอาจารย์
ให้นิสิตเลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยแผน ก 2 ให้เลือกเรียน 9 หน่วยกิต และแผน ข ให้ เลือกเรียน 15 หน่วยกิต ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหาร คณะวิชา
ศึกษาว่าด้วยความคิดว่าด้วยรัฐสวัสดิการ อิทธิพลของความคิดว่าด้วยรัฐสวัสดิการที่ที่ต่างการ เปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของกฎหมายมหาชนของรัฐเสรีประชาธิปไตย โดยลักษณะของการกระทําทางเศรษฐกิจ ของรัฐทั้งในรูปของการใช้อํานาจควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเอกชน และในรูปของวิสาหกิจมหาชนต่างๆ ข้อความคิดว่าด้วยการกระทําในการปกครอง (Administrative Juristic act) เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ตลอดจนลักษณะของ ผลทางกฎหมายทั้งในกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนของการกระทําทางปกครองเกี่ยวกับเศรษฐกิจ
ศึกษาพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญและวิวัฒนาการของกฎหมายปกครองฝรั่งเศส ระบบกฎหมายปกครอง ฝรั่งเศส ความหมาย ที่มาลักษณะพิเศษของกฎหมายปกครองฝรั่งเศส และการจัดโครงสร้างทางปกครองในฝรั่งเศส หลักพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง อันได้แก่โครงสร้างและผู้พิพากศาลปกครองทั้งหลายโดยเฉพาะ อย่างยิ่งสภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ เขตอํานาจปกครองและศาลยุติธรรม ศาลคดีขัดกันลักษณะและประเภทของคดีปกครอง ที่ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณา กระบวนวิธีพิจารณาความปกครอง หลักในการควบคุมการกระทําทางปกครอง
ศึกษาพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญและวิวัฒนาการของกฎหมายปกครองเยอรมัน ระบบกฎหมายปกครอง เยอรมัน ความหมาย ที่มา ลักษณะพิเศษของกฎหมายปกครองเยอรมัน และการจัดโครงสร้างทางปกครองในเยอรมัน หลักพื้นฐานในกฎหมายปกครองโดยเฉพาะหลักความชอบด้วยกฎหมาย ทฤษฎีนิติกรรมทางปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครองในชั้นเจ้าหน้าที่ สัญญาทางปกครอง ความรับผิดของฝ่ายปกครองและเจ้าพนักงาน หลักพื้นฐานใน กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง ได้แก่ โครงสร้างและผู้พิพากษาศาลปกครองทั้งหลายของสหพันธรัฐเขตอํานาจ ศาลปกครองและศาลอื่น ลักษณะและประเภทของคดีปกครองที่ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาวิธีพิจารณาของศาล ปกครอง หลักกฎหมายในการควบคุมการกระทําและนิติกรรมทางปกครอง
ศึกษาวิวัฒนาการและรูปแบบของรัฐสภาไทยและต่างประเทศ การเข้าสู่ตําแหน่งของสมาชิกรัฐสภา ระบบการเลือกตั้งประเทศต่างๆ กฎหมายเลือกตั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อํานาจหน้าที่ของรัฐสภาในการ จัดทํากฎหมาย การควบคุมฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ และอํานาจหน้าที่อื่น ข้อบังคับการประชุมรัฐสภากลไกและ การจัดระบบองค์กรของรัฐสภา โดยเน้นบทบาทของพรรคการเมืองในขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าว
ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางธุรกิจที่สําคัญ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการซื้อ ขาย กฏหมายหุ้นส่วนและบริษัท กฎหมายตั๋วเงินและการชําระหนี้ในทางการค้ารูปแบบใหม่ พร้อมทั้งประเด็นทาง กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายและหลักปฏิบัติของระบบคอมมอนลอว์และระบบชีวิวลอว์
ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องหมายการค้าสิทธิบัตร และ ลิชสิทธิ์ตามกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศที่น่าสนใจ เช่น กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือ ประเทศภาคพื้นยุโรป ตลอดจนคดีสําคัญเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวในประเทศรวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศที่ เกี่ยวข้อง
ศึกษาและสัมมนาวิวัฒนาการทางกฎหมายของการรวบรวมตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปนับจากสมาคม ถ่านหินและเหล็ก ตลาดร่วมยุโรป ประชาคมยุโรป ยุโรปตลาดเดี่ยวถึงสหภาพยุโรป หลักเสรีภาพในการเคลี่ยนย้าย สินค้า เงินทุน และบุคคล สถานะทางกฎหมายของสหภาพยุโรป ศึกษากฎหมายสภาพยุโรปทั้งในแง่มุมของสถาบัน และความสัมพันธ์ภายนอกกับบุคคลในบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรป นโยบายร่วม ของสหภาพยุโรปด้านต่างๆ เช่น นโยบายเกษตรร่วม การเงินละอุตสาหกรรมรมร่วม รวมทั้งกิจกรรมอื่น ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาวิวัฒนาการทฤษฎีและหลักการฟื้นฟูกิจการและหลักการล้มละลาย ความจําเป็นที่ต้องมีการ ฟื้นฟูกิจการความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโดยรวม ขั้นตอน วิธีการฟื้นฟูกิจการ ศึกษากระบวนการพิจารณาคดีล้มละลาย ปัญหากฎหมายและวิธีปฏิบัติที่สําคัญเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย บทบาทของผู้ล้มละลาย เจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ ปัญหาเกี่ยวเนื่องระหว่างพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและการาพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ปัญหาและ ผลกระทบต่อการปลดจากการเป็นผู้ล้มละลาย
ศึกษาปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาเรื่องผูกขาดทางการค้าในประเทศ และระหว่างประเทศ ปัญหาการ ออกกฎหมายพิเศษ เพื่อควบคุมการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหาการปฏิบัติที่มิชอบในทางการค้า ปัญหา อันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านการผลิตและการค้า
ศึกษาลักษณะและรูปแบบของการนําเอาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ใน การทําสัญญาทางธุรกิจประเภทต่างๆ แทนการทําสัญญาแบบเดิม ผลกระทบทางกฎหมายที่มีต่อกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ลักษณะต่างๆ จากการที่นําเอาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการแสดงเจตนา ผูกนิติสัมพันธ์แทนการแสดงเจตนาบนเอกสาร ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อพัฒนาการทางกฎหมายของพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
ศึกษาปัญหาและพัฒนาการของปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมและเทคโนโลยีซึ่ง กําลังพัฒนาไปสู่สังคมข้อมูลข่าวสาร โดยเน้นศึกษากฎหมายอันเกิดจากการพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การจัดการข้อมูลข่าวสารสมัยใหม่
ศึกษาทฤษฎีและโครงสร้างของสัญญาระหว่างประเทศ สัญญาระหว่างประเทศที่สําคัญสัญญาร่วมลงทุน สัญญาร่วม ลงทุน สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ สัญญาขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสัญญาอนุญาต ให้ใช้สิทธิระหว่างร่วมทุน สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ ข้อกําหนดและเงื่อนไขของสัญญาระหวางประเทศที่สําคัญประเภทต่างๆ การร่าง ตรวจ และพิจารณาสัญญาระหว่างประเทศ การเจรจาต่อรองเกี่ยวกับสัญญาระหว่างประเทศ การระงับข้อพิพาทขอ สัญญาระหว่างประเทศ
ศึกษาหลักเกณฑ์และกฎหมายเกี่ยวกับตลาดทุน หลักทรัพย์ประเภทหนี้และกึ่งทุน การเสนอขาย หลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า การครอบงํากิจการ การกระทําอันไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ และปัญหากฎหมายในการพัฒนาตลาดทุน และในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น
ศึกษาแนวความคิดและวิวัฒนาการของประกันภัย ทฤษฎี หลักการและบทบาทการประกันภัยในการ พัฒนาและส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ ศึกษาทฤษฎีกฎหมายประกันภัยชั้นสูงซึ่ง เกี่ยวกับหลักการใช้ การตีความและการพัฒนากฎหมายประกันภัย เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งสริมและควบคุมการ ประกอบธุรกิจการประกันภัย โดยให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัญหาและ อุปสรรคที่มีต่อกฎหมายประกันภัย
ศึกษาปัญหากฎหมายการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางทะเลตามพระราชบัญญัติ การขนส่งของทางทะเล พศ. 2534 กฎหมายการขนส่งทางบกและกฎหมายการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยศึกษา ทั้งกฎหมายภายในของประเทศไทยเปรียบเทียบกับอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาสัมมนากฎหมายการบินพลเรือนระหว่างประเทศและภายในประเทศ องค์การบินพงเรือนระหว่าง ประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อํานาจอธิปไตยเหนือน่านฟ้า สิทธิการบิน กฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศ กฎหมายเกี่ยวกับการกระทําความผิดบนอากาศยาน การก่อการร้ายจี้เครื่องบินและการลงโทษ
ศึกษากฎหมายลักษณะพยานหลักฐานในระบบคอมมอนลอว์ลระบบชีวิลลอว์ อันได้แก่การศึกษา หลักเกณฑ์ในกฎหมายนี้ ทั้งในทางคดีแพ่งและคดีอาญาอย่างละเอียด โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายไทยกับ ต่างประเทศ ตลอดจนจิตวิทยาในการสืบพยาน
ศึกษาประวัติ วิวัฒนาการ และปรัชญาของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไทยในยุคสมัยต่างๆ ความสัมพันธ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากับการคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลในสังคมไทย บทบาทของ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในสังคมไทยที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในทางการเมือง สังคม และ เศรษฐกิจ โดยเน้นการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างความผิดอาญา ตามแนวความคิดของประเทศที่ใช้ระบบซิวิวลอว์ และ คอมมอนลอว์ วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาการทางความคิดและทฤษฎีของกฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ของเศรษฐกิจและสังคม ศึกษาอาชญากรรมทางธุรกิจประเภทต่างๆ รวมทั้งการฟอกเงินที่ได้รับจากประกอบ อาชญากรรม
ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎีและประวัติศาสตร์ของหลักพื้นฐานในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ สัญญาและละเมิด โดยวิเคราะห์จากทางทฤษฎีและแนวคําพิพากษา ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ เปรียบเทียบกับต่างประเทศ
ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หลักกฎหมายวิธีวิธีพิจารณา ความแพ่งของต่างประเทศที่สําคัญ หรือซึ่งเป็นที่มาของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หลักการและวิธี พิจารณาความแพ่งในศาลเฉพาะเรื่อง (ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลครอบครัวและเยาวชน) หลักการและวิธี พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ วิเคราะห์กระบวนพิจารณาความคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งเฉพาะเรื่อง การพิจารณาโดย อนุญาโตตุลาการ
ศึกษากําเนิดและวิวัฒนาการของข้อความคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญนิยม(Constitutionalism)และประวัติ ความเป็นมาของการสถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญนิยมในประเทศไทย
ศึกษาวิเคราะห์ แนวคืดและวิวัฒนาการของกฎหมาบอุตสาหกรรมความสําคัญของภาคอุตสาหกรรม และ การผลิตในส่วนที่เป็นปัจจัยสําคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจ แบบยั่งยืนโดยเน้นถึงมาตรการในการกําหนดทําเลที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม การเลือกใช้วัตถุดิบ พลังงาน เครื่องจักรกล การจัดสรรทรัพยากรการผลิต การควบคุมการผลิต การป้องกันอุบัติเหตุอันตราย การสร้างเสริมความ ปลอดภัยในการทํางาน การกําจัดมลพิษ (ด้านกาก ขยะ น้ําเสีย และอากาศเป็นพิษ) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมการลด ความสูญเสีย การประเมินความเสี่ยงมาตรฐาน ISO 9000 , ISO 14000 เป็นต้น โดยทําการศึกษาและเปรียบเทียบกับ กฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมเพื่อนํามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมใน ประเทศไทยเป็นต้น
ศึกษาทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร โดยศึกษาวิวัฒนาการของกฎหมายภาษีอากรในระบบการ ปกครองต่างๆ โดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตย ศึกษาความหมายและขอบเขตภาษีอากร ตลอดจนความสัมพันธ์กับ ศาสตร์อื่นและกฎหมายอื่น รวมทั้งที่มาและโครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร ศึกษาหลักการพื้นฐานของกฎหมาย ภาษีอากร ได้แก่ หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความเสมอภาค หลักความจําเป็น หลักการใช้และการตีความ กฎหมาย หลักเกี่ยวกับความรับผิดทางภาษีอากร เช่น การเกิด การร่วมกัน การระงับ การขอคืนภาษีอากร หลักเกี่ยวกับโทษทางภาษีอากร หลักอธิปไตย เป็นต้น รวมทั้งศึกษาวัตถุประสงค์และนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรใน ด้านต่างๆ ที่สําคัญ คือ ก้ายการคลัง สังคม เศรษฐกิจ และผลกระทบทางการเมือง
ศึกษาประวัติความเป็นมา พัฒนาการทางทฤษฎี หลักการสําคัญ ตัวบทกฎหมายและทางปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับภาษีอากรประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจําหน่ายจ่ายโอนหรือธุรกรรมข้ามชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การค้า หรือการให้บริการระหว่างประเทศ ทั้งในส่วนของกฎหมายภายในของไทยและในส่วนของกฎหมายระหว่าง ประเทศ เช่น อนุสัญญาทางภาษีที่ประเทศไทยทํากับต่างประเทศ หลักกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะ ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีอากรระหว่างประเทศและมาตรการตอบโต้ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับของ ต่างประเทศด้วย
ศึกษาลักษณะทั่วไปของเงิน การควบคุมปริมาณเงิน ธุรกิจการเงินระหว่างประเทศ การค้าระหว่าง ประเทศ การส่งสินค้าออกและสั่งสินค้าเข้า สัญญาซื้อขายและเอกสารระหว่างประเทศ วิธีการชําระเงินตรา ต่างประเทศ เลตเตอร์ออฟเครดิต และการให้สินเชื่อ การค้า ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดเงินตราต่างประเทศ อัตรา แลกเปลี่ยน ดุลการชําระเงินระหว่างประเทศ ธนาคารระหว่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย กองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ และ ธนาคารโลก
ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ใช้เป็นมาตรฐานในการลงทุน ซึ่งไม่ใช่มาตรการทาง กฎหมาย อาจเป็นสากลหรือไม่ก็ได้ การผลิตสินค้า การนําเข้าและการส่งออกสินค้า ตลอดทั้งบทบาทของมาตรการ และกฏเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับภายในและระหว่างประเทศที่มีต่อการพัฒนาธุรกิจแบบยั่งยืน อีกทั้งปัญหา การนํามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นเครื่องมือในการกีดกันสินค้าระหว่างประเทศ
ศึกษาขอบเขตและวิวัฒนาการของกฏ สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและประเทศตัวอย่าง โดยเฉพาะจากประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายต่างๆ กัน (เช่น ระบบ Civil Law กับระบบ Common Law) เพื่อนํามาศึกษา เปรียบเทียบบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร ภาคเอกชนและประชาชน ในการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ โดยจะเน้นหนักในเรื่องการแก้ไขปัญหามลพิษ (Pollution) การตัดต่อพันธุ์ กรรม (Genetic Engineering)การตรวจสอบและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Auditing) และพันธุ์กรรม (Genetic Engineering)การตรวจสอบและการประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Auditing) และการวางแผน ด้านการจัดทําผังเมืองและการก่อสร้างอาคารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการระงับข้อพิพาทนอกศาล (Alternative Dispute Resolution
ศึกษาถึงหลักการ เหตุผล และแนวคิดที่ทําให้เกิดความจําเป็นที่จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มาตรการต่างๆ ทางกฎหมายที่ใช้เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค วิธีการบังคับใช้กฎหมายตลอดจนมาตรการที่ใช้ เพื่อ เยียวยาแก่ผู้บริโภค ซึ่งได้รับความเสียหายและศึกษาเปรียบเทียบหลักการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ ไทยกับประเทศอื่นๆ รวมถึงปัญหาต่างๆ อันเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บิโภค
แนวคิดเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท การระงับข้อพิพาททางธุรกิจการค้าโดยใช้อนุญาโตตุลาการทาง การค้าระหว่างประเทศ ปัญหาของเขตอํานาจอนุญาโตตุลาการ การเลือกอนุญาโตตุลาการ การเลือกใช้กฎหมายและ กระบวนกานพิจารณา ผลของคําวินิจฉัยชี้ขาดและความเห็นของอนุญาโตตุลาการ และการบังคับตามคําวินิจฉัย ชี้ขาดนั้น
ศึกษากฏเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประกอบด้วยการรวมตัวทาง การค้าของกลุ่มประเทศต่างๆ เช่น กลุ่มประเทศประชาคมยุโรป NAFTA APEC บทบาทหน้าที่และสิทธิประโยชน์ ระหว่างกันรวมถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ที่มีต่อประเทศคู่ค้า องค์การการค้าโลก (WTO) ความตกลงทางการค้า ระหว่างประเทศว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากร (GATT) มาตรการต่างๆ ของรัฐในการป้องกันการกระทําไม่เป็นธรรม ในการค้าระหว่างประเทศ
ศึกษาแนวความคิดพื้นฐาน ตลอดจนภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญ พัฒนาการของศาลรัฐธรรมนูญ เขตอํานาจศาลรับธรรมนูญหลักการพื้นฐานในกระบวนวิธีการพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ เงื่อนไขการพิจารณาคดี รัฐธรรมนูญ การคุ้มครองชั่วคราวในคดีรัฐธรรมนูญ ทฤษฎีว่าด้วยคําวินิจฉัยและผลของคําวินิจฉัยและผลของ คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ การบังคับคดีรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้โดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญและ วิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ
ศึกษาพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญและวิวัฒนาการของกฎหมายปกครองอังกฤษ ระบบกฎหมายปกครอง อังกฤษ ความหมาย ที่มา ลักษณะพิเศษของกฎหมายปกครองอังกฤษและการจัดโครงสร้างทางปกครองในอังกฤษ หลักพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง อันได้แก่โครงสร้างและผู้พิพากษาองค์กรพิจารณาปกครอง ทั้งหลาย เขตอํานาจคดีปกครองและยุติธรรม ศาลคดีขัดกัน ลักษณะและประเภทของคดีปกครองที่องค์กรพิจารณา คดีปกครองมีอํานาจพิจารณา กระบวนการวิธีพิจารณาความปกครอง หลักในการควบคุมการกระทําทางปกครอง
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักพื้นฐานในการปกครองท้องถิ่น หลักนิติรัฐ การกระจายอํานาจการ ปกครอง การจัดองค์กรการปกครองท้องถิ่น ขอบเขตอํานาจหน้าที่การปกครองท้องถิ่นการบริหารสาธารณะ การ บริหารและสภาท้องถิ่น การงบประมาณท้องถิ่น การภาษีอากรท้องถิ่น การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ สําคัญได้แก่ เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ และอเมริการวมทั้งประเทศในกลุ่มอาเซียน นโยบายและปัญหาของประเทศ ไทยในการจักการปกครองท้องถิ่น
ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการบริการสาธารณะของรัฐ ประเภทของการบริการ สาธารณะ รูปแบบและสถานะภาพทางกฎหมายของรัฐวิสาหกิจ การใช้อํานาจของรัฐในการจัดทําบริการสาธารณะ การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มอเมริกา และยุโยปที่ควรเป็นกรณีศึกษา นโยบายและปัญหาของประเทศไทยในการจัดทําบริการสาธารณะ
ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีอากรท้องถิ่น ขอบเขตอํานาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี อากรท้องถิ่น ฐานภาษีอากรท้องถิ่น อัตราภาษีอากรท้องถิ่น การจัดเก็บภาษีอากรท้องถิ่น การจัดสรรภาษีอากรจาก รัฐบาลกลางสู่การปกครองท้องถิ่น การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มอเมริกาและยุโรปที่ควรเป็นกรณีศึกษา นโยบายและปัญหาของประเทศไทยในการจัดเก็บภาษีอากรท้องถิ่น
ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับแรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กระบวนการระงับข้อพิพาทแรงงาน สถานะทางกฎหมายและบทบาทของสหภาพแรงงาน องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์และปัญหาของกฏเกณฑ์ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศกับ กฎหมายแรงงานของไทย
ศึกษาลักษณะโครงสร้างของสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Asean) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) ข้อกําหนดและแผนงานของประชาคมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ข้อตกลงยอมรับ รวมของประเทศอาเซียน การเปิดเสรีเพื่อกลุ่มสมาชิกในอาเซียน
ศึกษาประวัติความเป็นมาของกฎหมายสิทธิมนุษยชน องค์กรสิทธิมนุษยชนในระดับโลก องค์กรสิทธิ มนุษยชนระดับภูมิภาค องค์กรสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติกาสากลว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การประยุกต์ใช้กฎหมาย สิทธิมนุษยชน เป็นต้น
(4.1) วิทยานิพนธ์ (สําหรับผู้ที่เลือกเรียนแผน ก แบบ ก2 ทําวิทยานิพนธ์)
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยได้รับอนุมัติ กํากับ ดูแล และ คําแนะนําคณะกรรมการที่ปรึกษาและดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอวิทยานิพนธ์ตามที่ มหาวิทยาลัยกําหนด
(4.2) การศึกษาค้นคว้าอิสระและสารนิพนธ์ (สําหรับผู้ที่เลือกเรียนแผน ข ไม่ทํา วิทยานิพนธ์)
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในปัญหาหรือเรื่องที่น่าสนใจ โดยได้รับอนุมัติ กํากับ ดูแล และแนะนําจาก คณะกรรมการที่ปรึกษาและเขียนรายงานทางวิชาการตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกําหนด
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มีความเหมาะสมสอดคล้องกับผู้ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ทำให้รู้สึกไม่เป็นภาระในการเรียน และไม่เสียใจ ไม่เสียดายที่เลือกเรียนกับสถาบันแห่งนี้ครับ
ตลอดเวลาที่รับราชการตำรวจ ผมทุ่มเทเวลาให้กับการปฏิบัติหน้าที่จนไม่คิดว่าตัวเองจะมีโอกาสและสามารถศึกษาต่อได้ในระดับปริญญาโท จวบจนเมื่อได้มีผู้ใหญ่แนะนำให้เรียนที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ซึ่งมีหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ตามที่ผมต้องการศึกษา และเมื่อได้เข้ามาศึกษาก็พบว่ารูปแบบการเรียนและองค์ความรู้ที่ได้จากอาจารย์ผู้สอนไม่ทำให้ผมผิดหวังที่ตัดสินใจเรียน ผมได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและอบอุ่นจากอาจารย์ทุกท่าน ทำให้ผมมีกำลังใจฟันฝ่าอุปสรรคจนสามารถสำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นเกียรติและเป็นความภาคภูมิใจกับผมและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นที่ให้โอกาส
Line Official ID : @western.md
โทร 02-0266659 (ส่วนงานบริการข่าว)