คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีที่หลากหลาย สามารถนำความคิดสร้างสรรค์สร้างวิสัยทัศน์ และผสมผสานความรู้สากล กับภูมิปัญญาไทย เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ที่หลากหลาย
“BBA, Western U. มาร่วมกันก้าวสู่ความเป็นผู้นำ”
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีที่หลากหลาย สามารถนำความคิดสร้างสรรค์สร้างวิสัยทัศน์ และผสมผสานความรู้สากล กับภูมปัญญาไทย เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ปี 2541
4 ปีการศึกษา
ศูนย์ศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
สภามหาวิทยาลัย และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 3,500 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร | บาท | |
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย | 144,000 | บาท | |
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา | 96,000 | บาท | |
รวมทั้งหมด | บาท | ||
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย | 147,500 | บาท | |
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา | 99,500 | บาท | |
หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมสำหรับนิสิตต่างชาติระดับปริญญาตรี (USD 1000 ต่อภาคการศึกษา) |
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
วิธีสมัครเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
https://xregis.western.ac.th/index_enroll.html#/enroll
หมวดวิชา | หลักสูตร | ||
---|---|---|---|
(1) | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | หน่วยกิต |
(1.1) | กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต |
(1.2) | กลุ่มวิชาภาษา | 15 | หน่วยกิต |
(1.3) | กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต |
(2) | หมวดวิชาเฉพาะ | 84 | หน่วยกิต |
(2.1) | กลุ่มวิชาแกน | 30 | หน่วยกิต |
(2.2) | กลุ่มวิชาเอกเฉพาะด้าน | 54 | หน่วยกิต |
ด้านองค์การและระบบสารสนเทศ | 21 | หน่วยกิต | |
ด้านเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ | 15 | หน่วยกิต | |
ด้านเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ | 9 | หน่วยกิต | |
ด้านโครงสร้างของระบบ | 9 | หน่วยกิต | |
(2.3) | กลุ่มวิชาเอกเลือก | - | หน่วยกิต |
(3) | หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |
รวมตลอดหลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณบดี
ศึกษาแนวคิดและพื้นฐานเกี่ยวกับชาติ การพัฒนาชาติโดยการเสริมสร้างพลังอํานาจในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร เทคโนโลยี สังคม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงและวิธีการประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจและ สังคมไทยเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้น การศึกษายังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ความ สัมฤทธิ์ผลของกรณีศึกษา (Case Studies) ต่างๆ ที่มีการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเหตุการณ์จริง ศาสนา ภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้าง พลังอํานาจแห่งชาติ จิตวิญญาณ จิตสาธารณะ หลักธรรมาภิบาล องคาพยพของสังคม การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงบทบาทของประชาชนในการมีส่วน ร่วมทางการเมือง
ศึกษาด้านจิตวิทยาประยุกต์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการดําเนินชีวิต การปรับตัว การทํางาน ร่วมกับผู้อื่น มนุษย์สัมพันธ์ ทักษะในการทํางาน การคิดและการใช้เหตุผล จิตบริการ ศักยภาพในการทํางาน ภาวะ ผู้นํา ความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาบุคลิกภาพ การตัดสินใจ
ศึกษาหลักคุณธรรม จริยธรรม และจริยศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประยุกต์ใช้ในชีวิต บทบาทหน้าที่ในสังคม การดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อให้นิสิตเข้าใจและสามารถที่จะปฏิบัติ ตนได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรมในบทบาทที่ตนดํารงอยู่ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและส่งเสริมการพัฒนาให้ดําเนิน ควบคู่ไปกับจริยธรรม การบําเพ็ญประโยชน์ เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมจิตสํานึกแห่ง ความรับผิดชอบต่อตนเอง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาปัญหาจริยศาสตร์ที่สําคัญ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการดําเนินชีวิตและการแก้ปัญหาจริยธรรมที่พบในสังคมปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญา มนุษย์กับการแสวงหาความจริงของชีวิต ปรัชญาชีวิต วิเคราะห์หา เหตุผลในการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ ศึกษาแนวคิดของหลักศาสนา ศาสนาเปรียบเทียบ สามารถนําหลักคําสอนของศาสนาต่างๆ มาใช้ในการดําเนินชีวิตอย่างผาสุกและเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งศึกษา การก่อเกิดวัฒนธรรม ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยอันเป็น เอกลักษณ์ของความเป็นไทย
ศึกษาการใช้ภาษาไทยเพื่อให้เกิดทักษะในการสื่อความหมาย โดยคํานึงถึงความลึกในเชิงความรู้ ความ สมเหตุสมผล ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ให้มี ประสิทธิภาพในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้อ่านงานเขียนประเภทต่างๆ โดยเน้นทักษะการ เขียนที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานทั้งทางราชการและทางธุรกิจ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในด้านอาชีพและการศึกษาใน ระดับสูงต่อไป
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน โดยจะเน้นในด้านโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ง่ายๆ เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคในภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเน้นรูปควบคู่ไปกับหลักการอ่านและรูปแบบการอ่านแบบต่างๆ เช่น ข่าว เรื่องสั้น เรื่องยาวและการจับ ใจความ นิสิตจะได้รับการฝึกฝนจนสามารถฟังคําศัพท์และรูปประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้ในระดับพื้นฐาน
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน โดยจะเน้นศึกษาโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ที่ลึกซึ้ง เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคและศัพท์ขั้นสูง พร้อมทั้งเน้นฝึกทักษะในการเขียนประโยคสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ที่ได้ศึกษามา พร้อมทั้งเริ่มฝึกทักษะ ทางด้านการฟังและการพูดประโยคและบทสนทนาสั้นๆ จากสิ่งที่ได้เรียนมา
ศึกษาเกี่ยวกับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะให้นิสิตสามารถอ่านและเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษในเชิง วิชาการและการสื่อสารแบบต่างๆ ของวงการธุรกิจ รวมถึงการศึกษาหนังสือหรือข้อความทางธุรกิจที่เกี่ยวกับข่าว คราวความเคลื่อนไหวต่างๆ ในวงการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยรูปประโยคที่ สลับซับซ้อนขึ้นและคําศัพท์ทางวิชาการและวงการธุรกิจในด้านการเขียน ซึ่งนิสิตจะได้รับการฝึกให้เขียนข้อความสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ดังกล่าว การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและหลักที่ใช้เพื่อให้การใช้นั้นถูกต้องในสถานการณ์ที่ ต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาทักษะด้านการฟังและการพูดเพื่อให้มีความสามารถในการสนทนาในหัวข้อและเนื้อหาที่ เกี่ยวกับชีวิตประจําวันและใช้ได้ในวงการธุรกิจในลักษณะที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับธุรกิจและเศรษฐกิจ รวมถึง การเรียนรู้สํานวนที่ถูกต้องในการสนทนาในโอกาสต่างๆ เช่น การทักทาย การพูดทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์เพื่อ เข้าทํางาน การเล่าเรื่องสั้นๆ
ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนและปัญหาในการเขียนภาษาอังกฤษของคนไทย ตลอดจนแนวทางแก้ไขการ เขียน และการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนสํานวนที่ถูกต้องของภาษาทั้งในด้านตรรกวิทยา ความเชื่อถือได้อย่างมี หลักเกณฑ์ โดยเน้นทางด้านธุรกิจและชีวิตประจําวันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอีกทั้งยังศึกษาความหมายที่ลึกซึ้ง สามารถ ติดต่องานธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสําเร็จ นอกจากนี้ยังฝึกฝนทักษะในการเขียนข้อมูลส่วนตัว การ เขียนใบสมัครเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ การเขียนภาษาอังกฤษเทคนิค การเขียนรายงาน และการเขียนจดหมายติดต่อ ภาษาอังกฤษ รวมถึงการศึกษาหลักการจดข้อความและฝึกการเขียนบันทึกข้อความที่ใช้ในวงการธุรกิจทั่วไปและคํา บรรยายทั้งจากการฟัง การพูด และการอ่าน พร้อมทั้งฝึกเขียนย่อความ รวมทั้งเน้นฝึกฝนทักษะในการอ่านสิ่งตีพิมพ์ ต่างๆ การเขียนจดหมายสั่งซื้อ รวมถึงการเขียนสรุป การสัมภาษณ์ การรายงานปากเปล่าจากรายงานที่สรุปจาก สิ่งพิมพ์ต่างๆ และการสนทนาทางธุรกิจในหัวข้อต่างๆ
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณบดี
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและพัฒนาการ ความคิดทางคณิตศาสตร์ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีคิดแบบคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจําวัน การคํานวณ พื้นฐานเพื่อนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน การนําวิธีพื้นฐานมาใช้แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยนําหลักการทางคณิตศาสตร์มา ประยุกต์ ได้แก่ เซต สมการ สถิติเบื้องต้น การแจกแจงความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบ สมมติฐานและความมีนัยสําคัญ การถดถอย สหสัมพันธ์ คณิตศาสตร์การเงิน และการคํานวณภาษีเงินได้
ศึกษาหลักการและความสําคัญของวิทยาศาสตร์ พัฒนาการของวิทยาศาสตร์ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มถึง ปัจจุบัน บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ สสาร ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน การเปลี่ยนแปลงของโลกและบรรยากาศ เทคโนโลยีพลังงาน การสื่อสาร และ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจําวัน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อสังคม มนุษย์และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศเพื่อประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้ ขั้นตอนการค้นคว้า การนําเสนอสารสนเทศ วิธีการรวบรวมบรรณานุกรม การจัดหมู่หนังสือ บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง ดรรชนี หลักเกณฑ์และวิธีการสืบค้นเอกสารและสิ่งพิมพ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ การอ่านและการจดบันทึก ข้อความเพื่อนํามาเรียบเรียงรายงานวิชาการ รูปแบบของรายงาน และการเขียนรายงานอ้างอิงรวมถึงจริยธรรมของ ผู้ใช้สารสนเทศ
ให้นิสิตเลือกเรียนจากกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้ ตามความเห็นชอบขอ คณะกรรมการ บริหารหลักสูตรหรือคณบดี
ศึกษากรอบแนวความคิด มาตรฐานรายงานทางการเงิน ความหมาย วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของ การบัญชี ประวัติของวิชาชีพบัญชีวงจรบัญชี การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันและการผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี การจัดทํางบทดลอง กระดาษทําการและงบการเงินของกิจการบริการ ขายสินค้าและผลิต สินค้า การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ ระบบเงินสดย่อย งบต้นทุนการผลิต ระบบใบสําคัญ ศึกษา บทบาทของจริยธรรมในวิชาชีพและที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ข้อบังคับทางบัญชี และ จรรยาบรรณวิชาชีพ
วิชาบังคับก่อน : AC1101 หลักการบัญชีเบื้องต้น (Principles of Accounting)
ศึกษาถึงบทบาทและความเข้าใจระบบบัญชีต้นทุนฟื้นฐาน การรวบรวมข้อมูลและการนําข้อมูล ทางการบัญชีไม่ใช้ประโยชน์ด้านการวางแผน การควบคุม การประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนความเข้าใจด้าน เทคนิคและแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงการตัดสินใจของผู้บริหารและข้อจํากัด ของการใช้ข้อมูลจากทางการบัญชี เพื่อการบริหาร การภาษีอากร
ศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์วิธีการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรที่บังคับใช้ในปัจจุบัน วิธีการ ประเมินและการจัดเก็บภาษีอากรต่างๆ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีระหว่างประเทศ และภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการดําเนินธุรกิจโดยทั่วไป ความแตกต่างระหว่างการวางแผนภาษี การหลีกเลี่ยงภาษีและการหนีภาษี รวมถึงศึกษาผลกระทบทางภาษีที่มีต่อการตัดสินใจทางการเงินและการบริหารงาน
ศึกษาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ หลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์จุลภาค พฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรม ผู้ผลิต และพฤติกรรมของรัฐในโครงสร้างตลาดประเภทต่าง ๆ รวมถึงการแข่งขันสมบูรณ์ การแข่งขันแบบผูกขาดหลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์มหภาค รายได้ประชาชาติ และการเปลี่ยนแปลงในดัชนีชี้วัดต่อกิจกรรมทางธุรกิจ การ ออม การลงทุน การจ้างงานระดับราคา การเงิน และการคลัง อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ เงินฝืด ดุลการค้า ดุลการเงิน และบริการ หรือดุลบัญชีเดินสะพัด การเติบโต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจที่กระจาย ผู้ผลิตและผู้บริโภค และศึกษาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาขอบเขต บทบาท และหน้าที่ด้านการเงินและการจัดการเงิน เครื่องมือทางการเงิน ของผู้บริหาร ฝ่ายการเงิน รวมถึงเป้าหมาย และความสําคัญของการจัดการการเงินในองค์กรธุรกิจ การวิเคราะห์การเงินขั้นพื้นฐาน จากงบการเงิน การจัดการสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การจัดหาแหล่งเงินทุน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว การพิจารณาการลงทุน โครงสร้างของเงินทุน รวมถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผล ของธุรกิจ
ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้ง อํานาจหน้าที่ การดําเนินการและการเลิกกิจการสําหรับห้าง หุ้นส่วน บริษัทจํากัด และบริษัทมหาชนจํากัด พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ รวมถึงกฎหมาย เอกเทศสัญญาที่สําคัญบางเรื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ
ศึกษาการวิเคราะห์เชิงปริมาณธุรกิจ ระบบการผลิตและปฏิบัติการ การจัดองค์การเพื่อการผลิต หน้าที่ ของงานด้านการผลิต การเลือกทําเลที่ตั้งโรงงาน การวางผังโรงงาน การออกแบบงาน การวิเคราะห์ระบบงาน การ ควบคุมคุณภาพของสินค้า และการวางแผนการจัดการสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาถึงการนําเอาความรู้ในแขนงต่างๆ มาใช้ในการกําหนดนโยบายธุรกิจและกลยุทธ์ในการดําเนิน ธุรกิจ โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งต้องคํานึงถึงการเงิน การตลาด การเมือง ภาวะเศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี กําหนดกลยุทธ์ ดําเนินกลยุทธ์ การประเมินผลกลยุทธ์ ตลอดจนวิธีการดําเนินงานของธุรกิจที่เป็นอยู่ และ การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจประเภทต่างๆ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ ระหว่างประเทศ
ศึกษาการวิเคราะห์ปัญหาทางธุรกิจในเชิงสถิติและคณิตศาสตร์ โดยศึกษาการวัดแนวโน้มเข้าสู่ ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การประเมินค่า การทดสอบสมมติฐานของค่าพารามิเตอร์ การวิเคราะห์ความ แปรปรวน ฟังก์ชั่น ความชันของส่วนโค้ง สูตรอนุพันธ์ของฟังก์ชั่น สัมพันธ์กับการดําเนินธุรกิจ การนําสถิติและ คณิตศาสตร์มาใช้เพื่อการวิเคราะห์ การนําวิธีการเชิงปริมาณและสถิติไปใช้การการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทาง ธุรกิจ และการวิจัย
ให้นิสิตเลือกเรียนจากกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้เพียงกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่ง ตาม ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณบดี
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํา การจัดการความสัมพันธ์ และการประยุกต์ใช้ ที่มีต่อองค์กรและธุรกิจของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบข่าวสารข้อมูล ระบบสารสนเทศ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ศึกษาพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอดีตถึงปัจจุบัน โครงสร้าง ส่วนประกอบ หน่วยประมวลผล หน่วยความจํา ระบบบัส สัญญาณสั่งการ ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ วงจรตรรกะ วงจรควบคุม โครงสร้างระบบไมโครคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์ โครงสร้าง หน่วยความจํา และวิเคราะห์ คัดเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํางานของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรม มาตรฐานและอุปกรณ์ของการเชื่อมต่อเครือข่าย มาตรฐานของการติดต่อและสื่อสารข้อมูล ระดับชั้น ของข้อมูล ความปลอดภัยในระบบเครือข่าย การตรวจสอบและแก้ไขความผิดพลาดจากการเชื่อมต่อ แนวทางการ ออกแบบ การพัฒนา การจัดการ การบํารุงรักษาระบบเครือข่าย กฎหมายเบื้องต้นและจริยธรรมด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร และคัดเลือกอุปกรณ์สําหรับเครือข่าย ประยุกต์ใช้งานในองค์กรและระบบงานทางธุรกิจได้
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํางาน การจัดการความสัมพันธ์ การพัฒนา การควบคุม การบํารุงรักษา กฎหมายเบื้องต้นและจริยธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสามารถประยุกต์ใช้ งานระบบสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กรและระบบงานทางธุรกิจ เพื่อการวางแผน การ บริหารจัดการ การประมาณการเงินและบัญชี การสนับสนุนการตัดสินใจ การสนับสนุนกระบวนการธุรกิจ และ วางแผน ออกแบบด้านเทคโนโลยีระบบสารสนเทศรวมทั้งคัดเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะกับธุรกิจ
ศึกษาทฤษฎีองค์การและการจัดการ วิวัฒนาการของการจัดองค์การ หน้าที่ของการบริหารทรัพยากร มนุษย์และการจัดการสมัยใหม่ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การจูงใจ การ สื่อสาร การประสานงาน และการควบคุมงานในองค์การ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ของการจัดการทรัพยากร มนุษย์โดยครอบคลุมกระบวนการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ การให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การธํารงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์เพื่อการปฏิบัติงาน มาตรฐานระดับสูง และศึกษาเกี่ยวกับการจัดการ องค์การและทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ศึกษานโยบายและการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ การจัดการและการบริการ ด้านความมั่นคงปลอดภัย ประเภทของภัยคุกคามและการป้องกัน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์และความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ จริยธรรมและศีลธรรมในการประกอบธุรกิจและงานด้านการ จัดการ สารสนเทศ และวางแผน ออกแบบจัดการความเสี่ยงและการควบคุมระบบ บุคลากร
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยในการสนับสนุนกิจกรรมทั้งของธุรกิจที่ ทํางานใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์และคู่ค้า ตลอดจนการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า การ บริหารจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการสั่งจ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย กลยุทธ์ทางธุรกิจ ประเด็นเกี่ยวกับการจัดการ จรรยาบรรณ ข้อกฎหมายทางเทคโนโลยีและกฎระเบียบต่างๆ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ และเลือกใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับธุรกิจ - ด้านเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 15 หน่วยกิต
ศึกษาแนวคิดและหลักการ ความหมาย ความสําคัญ และระเบียบวิธีการดําเนินการวิจัย เทคนิคและ หลักทําวิจัยทางธุรกิจ แนวทางในการจัดทําโครงการ วิจัยทางธุรกิจ การวางแผนโครงการวิจัยปัญหาและข้อ สมมติฐานทางสถิติ และการรวบรวมและจัดระเบียบ ข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป การแปล ความหมายและการรายงานผลการวิจัยศึกษา ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยศึกษาด้วยวิธีออกภาคสนามและ ทําโครงการจริง และนําผลการวิจัยเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ศึกษากรณีศึกษาและบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านระบบเทคโนโลยีสาร สารสนเทศและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและระบบงานทางธุรกิจ ที่กําลังเป็นประเด็น ณ ปัจจุบัน และอภิปรายสรุปผลร่วมกัน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และความ มั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ
ศึกษาและพัฒนาโครงงานระบบเทคโนโลยีสารสารสนเทศโดยใช้โปรแกรมพัฒนาที่เหมาะสมเพื่อ องค์กรและระบบงานทางธุรกิจ ให้สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ ระบบฐานข้อมูล ตามหลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศสําหรับงานธุรกิจ การค้นคว้า พัฒนาระบบงาน จัดทําเอกสาร ประกอบโครงงาน การนําเสนอผลงาน
เทคโนโลยีเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต โปรแกรมประยุกต์สําหรับการพัฒนาเว็บเพจ การสร้างเว็บเพจ เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลกับเว็บเพจด้วยภาษา ASP หรือ PHP หรือ JSP การใช้งานเว็บสําเร็จรูป (CMS) ให้มีความ ทันสมัยกับการนําไปใช้งาน การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้งานรวมทั้งสร้างเว็บเพจเพื่อการจัดการงานธุรกิจบนเว็บได้ และจรรยาบรรณ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ศึกษาหลักการ องค์ประกอบ ชนิดข้อมูลของมัลติมีเดีย ทฤษฎีการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และการปรับแต่งขนาดข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์ที่ เหมาะสม ในการสร้างมัลติมีเดีย อาทิ เสียง วิดีโอ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพสามิติ การผลิตสื่อ และ การออกแบบ รวมถึงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา ความเสียหายที่เกิดขึ้นของ ข้อมูลและทําการออกแบบ วางแผนผลิตพัฒนางานมัลติมีเดียในงานธุรกิจ - ด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 9 หน่วยกิต
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํางานของโครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน การสร้างและวัด ประสิทธิภาพอัลกอริทึม โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์ พอยน์เตอร์ ลิงค์ลิสต์ สแตก คิว ทรี กราฟ และตารางแฮช การประมวลผลโครงสร้างข้อมูล ด้วยการจัดเรียงและการค้นหาข้อมูล และออกแบบ พัฒนาโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ เพื่อแก้ปัญหาในธุรกิจ
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํางานของระบบฐานข้อมูล ประเภท สถาปัตยกรรม ความสัมพันธ์ และชนิดความสัมพันธ์ของข้อมูล แบบจําลองข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ รูปแบบบรรทัดฐาน ระบบ จัดการฐานข้อมูล ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง ระบบความปลอดภัยและความคงสภาพของข้อมูล การจัดการ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การกู้และสํารองข้อมูล การปรับระบบให้มีประสิทธิภาพ จริยธรรมสําหรับผู้บริหาร ฐานข้อมูล และประยุกต์ใช้งานในองค์กรและระบบงานทางธุรกิจ
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํางาน ของระบบสํานักงานอัตโนมัติ เทคโนโลยีที่สนับสนุน การพัฒนาระบบสํานักงานอัตโนมัติ การพิจารณาและเปรียบเทียบเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจเลือกใช้งาน การ วิเคราะห์และออกแบบระบบ การทดสอบและตรวจสอบการทํางาน การประเมินผล อุปกรณ์และเครื่องมือใน สํานักงาน สํานักงานอิเล็กทรอนิกส์ สิทธิส่วนบุคคล สิทธิตามรัฐธรรมนูญ นโยบายด้านสารสนเทศ ของภาครัฐบาล และภาคเอกชน การประยุกต์ใช้ความรู้ตามหลักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และประยุกต์ใช้งานในองค์กรและระบบงาน ทางธุรกิจ - ด้านเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 9 หน่วยกิต
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํางานของการเขียนโปรแกรม ตรรกะ ขั้นตอนวิธี การ ออกแบบ การสร้างผังงาน หลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง การควบคุมการแสดงผลทางหน้าจอ ประเภท ของข้อมูล ตัวแปรและประเภทของตัวแปร ตัวดําเนินการ กลุ่มคําสั่งควบคุมทิศทางการทํางานแบบเลือกทําและแบบ วนรอบ ฟังก์ชัน โปรแกรมย่อย การติดต่อกับไฟล์ การตรวจสอบ จริยธรรมและศีลธรรม กฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาและการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา และสามารถทดสอบการทํางาน การจัดทําเอกสารประกอบ
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํางาน กระบวนการ ขั้นตอนการดําเนินงานของวงจรการ วิเคราะห์และการออกแบบระบบ วงจรการพัฒนาระบบ บทบาทและหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เทคนิคและเครื่องมือ แนว ทางการพัฒนาโครงการวิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยการวางแผน การกําหนดวัตถุประสงค์ การกําหนดขอบเขต องค์ประกอบการทํางาน ข้อมูลนําเข้า ผลลัพธ์ การประมวลผล การควบคุม การตรวจสอบการทดสอบการทํางาน การจัดทําเอกสารประกอบ การประเมินผล การบํารุงรักษากฎหมายเบื้องต้นและจริยธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร รวมถึงระบบความมั่นคงของระบบสารสนเทศ และพัฒนาประยุกต์ใช้งานในองค์กรและระบบงานทาง ธุรกิจ
ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ หลักการทํางาน และการขยายช่องทางการทํางานของกระบวนการ ธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ การทํางานขององค์กรและระบบงานทางธุรกิจ การพัฒนารูปแบบของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การเข้ารหัสและถอดรหัส พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาและการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา โดยสามารถเขียนโปรแกรมบนเว็บและการประยุกต์ใช้งานระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการดําเนินธุรกิจด้วยอิเล็กทรอนิกส์
ให้นิสิตเลือกเรียนสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งเพียงสาขาเดียวที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเป็นวิชาโท โดยเลือกเรียนให้ครบจํานวน 15 หน่วยกิต
การปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่มีการดําเนินงานที่ตรงหรือเกี่ยวข้องกับ สาขาวิชาของนิสิต โดยเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในสาขาวิชากับการปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้นิสิตจะต้องผ่านการฝึกงานเป็นเวลา 500 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาปกติ และ จะต้องได้รับรองจากสถานประกอบการ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และหรือคณบดีคณะฯ
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น