คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีที่หลากหลาย สามารถนำความคิดสร้างสรรค์สร้างวิสัยทัศน์ และผสมผสานความรู้สากล กับภูมปัญญาไทย เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ที่หลากหลาย
“บริหารรัฐกิจเป็นมิตรปวงชน”
คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีที่หลากหลาย สามารถนำความคิดสร้างสรรค์สร้างวิสัยทัศน์ และผสมผสานความรู้สากล กับภูมปัญญาไทย เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ปี 2541
4 ปีการศึกษา
ศูนย์การศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
สภามหาวิทยาลัย และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 3,500 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร | บาท | |
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย | 144,000 | บาท | |
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา | 96,000 | บาท | |
รวมทั้งหมด | บาท | ||
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย | 147,500 | บาท | |
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา | 99,500 | บาท |
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน | 3,500 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | รวมทั้งหมด | 3,500 | บาท |
เมื่อชำระค่าสมัครเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดจนชำระค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนแล้ว ภายหลังไม่ประสงค์จะเข้าศึกษาหรือต้องสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัยฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนค่าใช้จ่ายไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
หมวดวิชา | จำวนหน่วยกิต | ||
---|---|---|---|
(1) | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | หน่วยกิต |
1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 9 | หน่วยกิต | |
(1.2) กลุ่มวิชาภาษา
| 15 | หน่วยกิต | |
(1.3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต | |
(2) | หมวดวิชาเฉพาะ | 84 | หน่วยกิต |
(2.1) กลุ่มวิชาแกน | 39 | หน่วยกิต | |
(2.2) กลุ่มวิชาเอก | 30 | หน่วยกิต | |
(2.3) กลุ่มวิชาโท | 15 | หน่วยกิต | |
(3) | หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |
รวมจํานวนหน่วยกิตตลอด หลักสูตร | 120 | หน่วยกิต |
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณบดี
ศึกษาแนวคิดและพื้นฐานเกี่ยวกับชาติ การพัฒนาชาติโดยการเสริมสร้างพลังอํานาจในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร เทคโนโลยี สังคม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงและวิธีการประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจและ สังคมไทยเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้น การศึกษายังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ความ สัมฤทธิ์ผลของกรณีศึกษา (Case Studies) ต่างๆ ที่มีการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเหตุการณ์จริง ศาสนา ภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้าง พลังอํานาจแห่งชาติ จิตวิญญาณ จิตสาธารณะ หลักธรรมาภิบาล องคาพยพของสังคม การเปลี่ยนแปลงและการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงบทบาทของประชาชนในการมีส่วน ร่วมทางการเมือง
ศึกษาด้านจิตวิทยาประยุกต์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการดําเนินชีวิต การปรับตัว การทํางาน ร่วมกับผู้อื่น มนุษย์สัมพันธ์ ทักษะในการทํางาน การคิดและการใช้เหตุผล จิตบริการ ศักยภาพในการทํางาน ภาวะ ผู้นํา ความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาบุคลิกภาพ การตัดสินใจ
ศึกษาหลักคุณธรรม จริยธรรม และจริยศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประยุกต์ใช้ในชีวิต บทบาทหน้าที่ในสังคม การดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อให้นิสิตเข้าใจและสามารถที่จะปฏิบัติ ตนได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรมในบทบาทที่ตนดํารงอยู่ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและส่งเสริมการพัฒนาให้ดําเนิน ควบคู่ไปกับจริยธรรม การบําเพ็ญประโยชน์ เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมจิตสํานึกแห่ง ความรับผิดชอบต่อตนเอง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาปัญหาจริยศาสตร์ที่สําคัญ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการดําเนินชีวิตและการแก้ปัญหาจริยธรรมที่พบในสังคมปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญา มนุษย์กับการแสวงหาความจริงของชีวิต ปรัชญาชีวิต วิเคราะห์หา เหตุผลในการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ ศึกษาแนวคิดของหลักศาสนา ศาสนาเปรียบเทียบ สามารถนําหลักคําสอนของศาสนาต่างๆ มาใช้ในการดําเนินชีวิตอย่างผาสุกและเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งศึกษา การก่อเกิดวัฒนธรรม ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยอันเป็น เอกลักษณ์ของความเป็นไทย
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณบดี
ศึกษาการใช้ภาษาไทยเพื่อให้เกิดทักษะในการสื่อความหมาย โดยคํานึงถึงความลึกในเชิงความรู้ ความ สมเหตุสมผล ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ให้มี ประสิทธิภาพในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้อ่านงานเขียนประเภทต่างๆ โดยเน้นทักษะการ เขียนที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานทั้งทางราชการและทางธุรกิจ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในด้านอาชีพและการศึกษาใน ระดับสูงต่อไป
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน โดยจะเน้นในด้านโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ง่ายๆ เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคในภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเน้นรูปควบคู่ไปกับหลักการอ่านและรูปแบบการอ่านแบบต่างๆ เช่น ข่าว เรื่องสั้น เรื่องยาวและการจับ ใจความ นิสิตจะได้รับการฝึกฝนจนสามารถฟังคําศัพท์และรูปประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้ในระดับพื้นฐาน
วิชาบังคับก่อน : EN1001 ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน โดยจะเน้นศึกษาโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ที่ลึกซึ้ง เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคและศัพท์ขั้นสูง พร้อมทั้งเน้นฝึกทักษะในการเขียนประโยคสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ที่ได้ศึกษามา พร้อมทั้งเริ่มฝึกทักษะ ทางด้านการฟังและการพูดประโยคและบทสนทนาสั้นๆ จากสิ่งที่ได้เรียนมา
วิชาบังคับก่อน : EN1002 ศึกษาเกี่ยวกับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะให้นิสิตสามารถอ่านและเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษในเชิง วิชาการและการสื่อสารแบบต่างๆ ของวงการธุรกิจ รวมถึงการศึกษาหนังสือหรือข้อความทางธุรกิจที่เกี่ยวกับข่าว คราวความเคลื่อนไหวต่างๆ ในวงการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยรูปประโยคที่ สลับซับซ้อนขึ้นและคําศัพท์ทางวิชาการและวงการธุรกิจในด้านการเขียน ซึ่งนิสิตจะได้รับการฝึกให้เขียนข้อความสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ดังกล่าว การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและหลักที่ใช้เพื่อให้การใช้นั้นถูกต้องในสถานการณ์ที่ ต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาทักษะด้านการฟังและการพูดเพื่อให้มีความสามารถในการสนทนาในหัวข้อและเนื้อหาที่ เกี่ยวกับชีวิตประจําวันและใช้ได้ในวงการธุรกิจในลักษณะที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับธุรกิจและเศรษฐกิจ รวมถึง การเรียนรู้สํานวนที่ถูกต้องในการสนทนาในโอกาสต่างๆ เช่น การทักทาย การพูดทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์เพื่อ เข้าทํางาน การเล่าเรื่องสั้นๆ
วิชาบังคับก่อน : EN2003 ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนและปัญหาในการเขียนภาษาอังกฤษของคนไทย ตลอดจนแนวทางแก้ไขการ เขียน และการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนสํานวนที่ถูกต้องของภาษาทั้งในด้านตรรกวิทยา ความเชื่อถือได้อย่างมี หลักเกณฑ์ โดยเน้นทางด้านธุรกิจและชีวิตประจําวันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอีกทั้งยังศึกษาความหมายที่ลึกซึ้ง สามารถ ติดต่องานธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสําเร็จ นอกจากนี้ยังฝึกฝนทักษะในการเขียนข้อมูลส่วนตัว การ เขียนใบสมัครเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ การเขียนภาษาอังกฤษเทคนิค การเขียนรายงาน และการเขียนจดหมายติดต่อ ภาษาอังกฤษ รวมถึงการศึกษาหลักการจดข้อความและฝึกการเขียนบันทึกข้อความที่ใช้ในวงการธุรกิจทั่วไปและคํา บรรยายทั้งจากการฟัง การพูด และการอ่าน พร้อมทั้งฝึกเขียนย่อความ รวมทั้งเน้นฝึกฝนทักษะในการอ่านสิ่งตีพิมพ์ ต่างๆ การเขียนจดหมายสั่งซื้อ รวมถึงการเขียนสรุป การสัมภาษณ์ การรายงานปากเปล่าจากรายงานที่สรุปจาก สิ่งพิมพ์ต่างๆ และการสนทนาทางธุรกิจในหัวข้อต่างๆ
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณบดี
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและพัฒนาการ ความคิดทางคณิตศาสตร์ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีคิดแบบคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจําวัน การคํานวณ พื้นฐานเพื่อนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน การนําวิธีพื้นฐานมาใช้แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยนําหลักการทางคณิตศาสตร์มา ประยุกต์ ได้แก่ เซต สมการ สถิติเบื้องต้น การแจกแจงความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบ สมมติฐานและความมีนัยสําคัญ การถดถอย สหสัมพันธ์ คณิตศาสตร์การเงิน และการคํานวณภาษีเงินได้
ศึกษาหลักการและความสําคัญของวิทยาศาสตร์ พัฒนาการของวิทยาศาสตร์ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มถึง ปัจจุบัน บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ สสาร ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน การเปลี่ยนแปลงของโลกและบรรยากาศ เทคโนโลยีพลังงาน การสื่อสาร และ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจําวัน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อสังคม มนุษย์และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศเพื่อประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้ ขั้นตอนการค้นคว้า การนําเสนอสารสนเทศ วิธีการรวบรวมบรรณานุกรม การจัดหมู่หนังสือ บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง ดรรชนี หลักเกณฑ์และวิธีการสืบค้นเอกสารและสิ่งพิมพ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ การอ่านและการจดบันทึก ข้อความเพื่อนํามาเรียบเรียงรายงานวิชาการ รูปแบบของรายงาน และการเขียนรายงานอ้างอิง รวมถึงจริยธรรมของ ผู้ใช้สารสนเทศ
ศึกษาแนวคิดและบทบาทของภาษีอากรในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายการคลังของรัฐ ลักษณะของภาษี อากรตามประมวลรัษฎากร หลักเกณฑ์ วิธีการประเมินและการจัดเก็บภาษีอากรต่างๆ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษี เงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ภาษีศุลกากร ภาษี สรรพสามิต ภาษีระหว่างประเทศ และภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการดําเนินธุรกิจโดยทั่วไป รวมถึงศึกษาถึงผลกระทบทาง ภาษีที่มีต่อการตัดสินใจทางการเงินและการบริหารงาน
ศึกษาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ หลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์จุลภาค พฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรม ผู้ผลิต และพฤติกรรมของรัฐในระบบเศรษฐกิจการตลาด หลักทั่วไปของเศรษฐศาสตรมหภาค รายได้ประชาชาติ และ การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่าย การออม การลงทุน การจ้างงาน ระดับราคา การเงิน และการคลัง อัตราดอกเบี้ย เงิน เฟ้อ เงินฝืด การค้าต่างประเทศ ดุลการค้า ดุลการเงินและบริการ หรือดุลบัญชีเดินสะพัด การเติบโต และการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจที่กระจายผู้ผลิตและผู้บริโภค และศึกษาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่ เกี่ยวข้อง
ศึกษาทฤษฎีองค์การและการจัดการ วิวัฒนาการของการจัดองค์การ หน้าที่ของการบริหารและการ จัดการสมัยใหม่ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การจูงใจ การสื่อสาร การ ประสานงาน และการควบคุมงานในองค์การ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดย ครอบคลุมกระบวนการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ การให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การธํารง รักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์เพื่อการปฏิบัติงาน มาตรฐานระดับสูง และศึกษาเกี่ยวกับการจัดการองค์การและ ทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาถึงการนําเอาความรู้ในแขนงต่างๆ มาใช้ในการกําหนดนโยบายธุรกิจและกลยุทธ์ในการดําเนิน ธุรกิจ โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งต้องคํานึงถึงการเงิน การตลาด การเมือง ภาวะเศรษฐกิจ และ เทคโนโลยี ตลอดจนวิธีการดําเนินงานของธุรกิจที่เป็นอยู่ และการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจประเภทต่างๆ เพื่อ สนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ระหว่างประเทศ
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี สภาพ ขอบเขต และการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมือง การปกครอง สถาบันการเมือง กระบวนการทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ศึกษาถึงลักษณะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ ขอบข่ายของ รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย ปทัสถานของรัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีองค์การ การ จัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ การคลังสาธารณะ การบริหารเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา นโยบาย สาธารณะ การจัดการภาครัฐแนวใหม่ จริยธรรมข้าราชการ ตลอดจนแนวโน้มของรัฐประศาสนศาสตร์
ศึกษาหลักการและความสําคัญของกฎหมายปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายปกครองกับ การศึกษาทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดเกี่ยวกับรัฐอํานาจอธิปไตยและการจัดองค์กรทางปกครอง ของรัฐ การกระทําทางปกครองและนิติกรรมทางปกครอง ความหมายและความสําคัญของการควบคุมฝ่ายปกครอง วิธีการควบคุมฝ่ายปกครอง โดยวิถีทางการเมือง และไม่ใช่วิถีทางการเมือง ได้แก่ วิธีการร้องเรียนภายใน วิธีการ ในลัษณะกึ่งข้อพิพาทและในลักษณะข้อพิพาท ตลอดจนการควบคุมฝ่ายปกครอง โดยศาลปกครอง ทั้งในส่วนของ โครงสร้างอํานาจหน้าที่และวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครอง
ศึกษาถึงแนวคิดของการเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับการพัฒนาและ ปัญหาต่างๆ ของการเมืองและการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตย เหตุการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ ตลอดจน สถานการณ์ทางการเมืองและการปกครองไทยในปัจจุบันและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงการเมือง การปกครองไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา รัตนโกสินทร์ จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 P02105 การปกครองท้องถิ่นไทย 3(3-0-6) Thai Local Government ศึกษาถึงความสําคัญของการปกครองท้องถิ่นไทย แนวความคิดเกี่ยวกับการรวมอํานาจและการ กระจายอํานาจ ความเป็นมาและพัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นไทยรูปแบบและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น การบริหารงาน การคลัง และที่มาของรายได้ของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
ศึกษาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ความหมายของการวิจัย ศาสตร์กับการวิจัย ความสําคัญของทฤษฎี ต่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ การกําหนดประเด็นสําหรับการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและกําหนดตัวแปรสําหรับ การวิจัยการสร้างกรอบแนวคิดและสมมติฐานสําหรับการวิจัย การกําหนดพื้นที่และประชากรที่ใช้ในการศึกษา การ สุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวัดทัศนคติ พร้อมทั้งศึกษาถึงสถิติที่ใช้ในการวิจัย การ ประมวลผล การวิเคราะห์ผลการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย พร้อมทั้งศึกษาถึงวิธีวิทยาการวิจัย
ศึกษาแนวคิดและการวิเคราะห์เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะและการวางแผน นโยบายสาธารณะและ สิ่งแวดล้อม ประเภทของนโยบายสาธารณะ ตัวแบบนโยบายสาธารณะ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ กระบวนการ นโยบายสาธารณะ การก่อรูปนโยบาย รวมถึงการกําหนดทางเลือก การตัดสินใจนโยบายและประเมินผลกระบทบ โครงการสาธารณะ เป็นต้น
ศึกษาระบบเศรษฐกิจและหน้าที่ของรัฐบาล แนวทางการศึกษาวิชาการบริหารการคลัง งบประมาณ แผ่นดิน รายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาล หนี้สาธารณะ การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การปกครอง ท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างการคลังภาครัฐบาลกับการคลังท้องถิ่น
ศึกษาหลักการ ความหมาย และความสําคัญของรัฐธรรมนูญพัฒนาการและการสถาปนารัฐธรรมนูญ ประเภทของรัฐธรรมนูญ สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตลอดจน แนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและอํานาจอธิปไตย หลักการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตย และการจัดความสัมพันธ์ระหว่าง อํานาจบริหาร อํานาจนิติบัญญัติ และอํานาจตุลาการ รวมทั้งสถาบันการเมืองอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ
ให้นิสิตเลือกศึกษากลุ่มวิชาใดวิชาหนึ่งเพียงกลุ่มวิชาเดียวเท่านั้น
ศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างขององค์การ เป้าหมายขององค์การ วิธีดําเนินงานในรูปต่างๆ ที่มีผลต่อ การจัดการองค์การ อํานาจหน้าที่และการควบคุมงาน การติดต่อสื่อสาร และการบังคับบัญชาภายในองค์การในระดับ องค์กร ระดับประเทศ และระดับสากล
ศึกษาปรัชญาและความเป็นมาของการบริหารงานบุคคลในภาครัฐ แนวคิดและนโยบายของการ บริหารงานบุคคล กระบวนการบริหารตั้งแต่การวางแผนกําลังคน การกําหนดงานและตําแหน่ง การกําหนด ค่าตอบแทน การสรรหา-คัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน การพัฒนาบุคคล การประเมินผล การปฏิบัติงาน การเลื่อน ตําแหน่ง การสับเปลี่ยนหมุนเวียน และโอนย้าย ตลอดจนการเสริมสร้างขวัญและกําลังใจ การศึกษาถึงวินัย จรรยาบรรณ ข้าราชการพลเรือน การลาออกจากราชการ และบําเหน็จบํานาญ การศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิ ภาพการบริหารงานบุคคลที่มีต่อการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม
ศึกษาถึงความหมาย ทฤษฎี หลักการ และองค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา ปัจจัยแวดล้อม ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นต้น รวมทั้งองค์การต่างๆ ที่มีบทบาทสําคัญในการบริหารงานพัฒนาของ ประเทศ ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาพื้นฐานในการบริหารโครงการพัฒนา อาทิ ปัญหาการประสานงาน ปัญหาการขาด แคลนทรัพยากร โดยเน้นศึกษาการบริหารการพัฒนาในประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศที่กําลังพัฒนาอื่นๆ
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารโครงการ การกําหนดและการเลือกโครงการ การจัดองค์การ ของโครงการ การกําหนดอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ดําเนินการตามโครงการ การวางแผนปฏิบัติ การ ปฏิบัติการควบคุมและติดตามผลสภาพแวดล้อมของการบริหารโครงการ
ศึกษาถึงระเบียบวิธีทฤษฎีและแบบเปรียบเทียบการบริหารรัฐกิจ ประโยชน์ที่จะพึงได้รับ และจะได้ ศึกษาเปรียบเทียบระบบการบริหารรัฐกิจของประเทศไทยกับนานาประเทศทั้งที่กําลังพัฒนาและที่พัฒนาแล้วพิจารณา ลักษณะสําคัญ และปัญหาของระบบการบริหารของประเทศต่างๆ อันเป็นผลมาจากอิทธิพลทางการเมือง ระบบ กฎหมาย วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบถึงวิวัฒนาการแนวความคิด โครงสร้าง ตลอดจนปัญหาการบริหารรัฐกิจ ของประเทศที่กําลังพัฒนา เช่น การบริหารงานบุคคล การจัดองค์การ การคลัง การงบประมาณ ฯลฯ ในการศึกษา อาจมีการค้นคว้ารายงาน การศึกษาเฉพาะกรณีเกี่ยวกับปัญหาการบริหารรัฐกิจของไทยและเปรียบเทียบกับของ ต่างประเทศ
ศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของพฤติกรรมบุคคลในองค์การ เทคนิคต่างๆ ที่จะนํามาประยุกต์ใช้ เพื่อ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและความพึงพอใจในองค์การ การศึกษาจะครอบคลุมบทบาทของผู้บริหารที่มีต่อพฤติกรรม บุคคลในองค์การ กระบวนการพฤติกรรมบุคคลระหว่างบุคคล กลไกและพฤติกรรมของกลุ่ม กระบวนการของ องค์การที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมบุคคล รวมถึงการเปลี่ยนองค์การ ตลอดจนปัจจัยทางด้านพฤติกรรมอื่นๆ
ศึกษาถึงแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การ ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญในการบริหารองค์การ โดยเน้นการ พัฒนาคน โดยเฉพาะผู้นําในระบบราชการไทย ให้มีทักษะต่างๆ ในการเป็นผู้นํา ตลอดจนเป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณและ คุณธรรม
ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน การบริหารงานการคลัง การควบคุมจากส่วนกลาง และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ วิธีการในการจัดทําโครงการสาธารณะต่างๆ และวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของ โครงการ ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักเกณฑ์ของการประเมินโครงการสาธารณะ
ให้นิสิตเลือกเรียนจากกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้เพียงกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่ง ตาม ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณบดี
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการค่าตอบแทนที่เหมาะสมยุติธรรม โดยกําหนดค่าจ้างอย่างเป็นระบบเริ่มตั้งแต่ วิเคราะห์งาน การประเมินค่างาน โครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน การสํารวจค่าจ้างเงินเดือน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการ จ่ายค่าจ้างเงินเดือน ทฤษฎีค่าจ้าง ประโยชน์และการบริการ รวมทั้งค่าตอบแทนแบบจูงใจ กฎหมายเกี่ยวกับ ค่าตอบแทน และการรับรองสภาพของค่าจ้างตามมาตรฐาน รวมทั้งการจัดการสวัสดิการสุขภาพและความปลอดภัย
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและความสําคัญของการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศึกษา ความแตกต่างระหว่างการฝึกอบรมและการพัฒนา การวิเคราะห์เพื่อหาความจําเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs) การจัดโครงการฝึกอบรมเทคนิคและเครื่องมือในการฝึกอบรม ตลอดจนปัญหาต่างๆ ในการฝึกอบรมและการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ การประเมินผลโครงการฝึกอบรม เครื่องมือและวิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร รวมทั้งหลักเกณฑ์ของการเป็นวิทยากรฝึกอบรม
ศึกษาแนวความคิด รูปแบบ และการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นในประเทศต่างๆ เช่นประเทศไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริการ ญี่ปุ่น ในลักษณะของการศึกษาแบบเปรียบเทียบ ทั้งในด้านของโครงสร้างของรัฐกับ การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารงานท้องถิ่นเปรียบเทียบ การคลังส่วนท้องถิ่นเปรียบเทียบทิศทางและการ พัฒนาการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ
ศึกษาความหมายและเป้าหมายการพัฒนาเมืองและชนบท ศึกษาปรัชญา แนวคิดและหลักการพัฒนา การพัฒนาของไทย ตลอดจนปัญหาและแนวทางแก้ไขการพัฒนาของไทย
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ประวัติและความเป็นมาของงานสวัสดิการสังคมไทย สํานึก คิดที่มีอิทธิพลต่อระบบสวัสดิการสังคม แนวคิดสิทธิมนุษยชนกับงานสวัสดิการสังคมไทยหลังสมัยใหม่ Postmodem กับงานสังคมสงเคราะห์ ทฤษฎีสวัสดิการ โดยรัฐ Theories of State Welfare ตลอดจนจรรยาบรรณทางวิชาชีพของนักสังคม สงเคราะห์
ศึกษาการประเมินการปฏิบัติงานในภาพรวม ความท้าทายในการประเมินการปฏิบัติงาน การพัฒนา ระบบการประเมินที่มีประสิทธิผล แนวทางในการออกแบบระบบการประเมิน วิธีการประเมินและผลที่เกิดขึ้นตามมา การกําหนดผู้ประเมิน การออกแบบระบบการประเมินที่สมบูรณ์ การนําระบบการประเมินไปสู่การปฏิบัติ กระบวนการ ประเมินการปฏิบัติงาน การสร้างความคาดหวังจากการปฏิบัติงาน การกําหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การ ตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน การประเมินการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล การวิเคราะห์ความแตกต่าง ระหว่างการปฏิบัติงานที่ต้องการกับการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การ บริหารผลการปฏิบัติงาน การตัดสินใจทางการบริหาร การจัดทําแผนการปรับปรุงการปฏิบัติงาน การบริหารปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ประเด็นสําคัญในการออกแบบระบบการประเมินการปฏิบัติงาน ระบบค่าตอบแทนที่ได้รับ แรงผลักดันมาจากการประเมิน ตลอดจนการประเมินเข้ากับระบบทรัพยากรมนุษย์ระบบอื่นๆ
ศึกษาประวัติความเป็นมาของระบบเศรษฐกิจของชุมชน รวมถึงขอบเขต ความหมาย และความสําคัญ ของเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น ครัวเรือนในระบบเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น เศรษฐกิจนอกตลาดและ แนวนโยบาย เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
ศึกษาความหมายและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้ง ความขัดแย้งที่เกิดในองค์กรระหว่างบุคคล ศึกษาความสัมพันธ์ของความขัดแย้งกับความแตกต่างในองค์กร ข้อดีและข้อเสียของความขัดแย้ง การจัดการความ ขัดแย้งและการกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง การแก้ไขความขัดแย้งแบบผสานความร่วมมือ วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง โดยสันติวิธีและสร้างสรรค์ พร้อมทั้งศึกษาถึงประเด็นความขัดแย้งกับวัฒนธรรมองค์กรและผู้นําองค์กรและผู้นํา องค์กรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาท้องถิ่นเมืองและชนบท ชุมชนท้องถิ่นในอุดมคติ แนวคิดนโยบาย และแผนการพัฒนาพื้นที่ การศึกษาและวิเคราะห์ ระบบภูมินิเทศท้องถิ่น กลยุทธ์ กระบวนการและเทคนิคการวางแผน พัฒนาพื้นที่ท้องถิ่น เทคนิคภูมิสนเทศเพื่อการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่น การกําหนดเขตการจัดการ การวางผังเมืองและ ท้องถิ่น ชุมชนน่าอยู่ การจัดการภูมิทัศน์ และพื้นที่สาธารณะ การพัฒนาท้องถิ่นในลักษณะบูรณาการ
ศึกษาความหมายแนวความคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปัญหาการใช้ประโยชน์และความเสื่อมโทรมของ ทรัพยมกรธรรมชาติ ทั้งในเมืองและชนบท ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลักการบริหารการควบคุมประเมินผล ตลอดจนการบํารุงรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบทบาทของรัฐและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ให้นิสิตเลือกเรียนกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่งเพียงกลุ่มวิชาเดียวที่เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเป็นวิชาโท โดยเลือกเรียนให้ครบจํานวน 15 หน่วยกิต ตามความเห็นชอบของคณบดี
ให้นิสิตเลือกรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยจํานวน 6 หน่วยกิต หรือนิสิตจะเลือกวิชาสหกิตศึกษา ตามความเห็นชอบของคณบดี
การปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่มีการดําเนินงานที่ตรงหรือเกี่ยวข้องกับ สาขาวิชาของนิสิต โดยเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในสาขาวิชากับการปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้นิสิตจะต้องผ่านการฝึกงานเป็นเวลา 500 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 1ภาคการศึกษาปกติ และ จะต้องได้รับรองจากสถานประกอบการ อาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการวิชาการคณะบริหารธุรกิจและ รัฐประศาสนศาสตร์
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น