หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดการศึกษา และพัฒนาหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญให้สามารถประกอบวิชาชีพ เพื่อให้กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในการบริหารจัดการ เพื่อการป้องกัน การสร้างเสริม การดูแลสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยแก่ประชาชนและผู้ประกอบอาชีพ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชุมชนหรือสถานประกอบการ ลดผลกระทบและปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการตระหนักถึงการเกิดประโยชน์สูงสุดผู้ประกอบอาชีพ ประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญ มีความใฝ่เรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมจริยธรรม และคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
It’s All About Saving Life
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดการศึกษา และพัฒนาหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญให้สามารถประกอบวิชาชีพ เพื่อให้กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในการบริหารจัดการ เพื่อการป้องกัน การสร้างเสริม การดูแลสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยแก่ประชาชนและผู้ประกอบอาชีพ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชุมชนหรือสถานประกอบการ ลดผลกระทบและปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการตระหนักถึงการเกิดประโยชน์สูงสุดผู้ประกอบอาชีพ ประชาชน ชุมชน และสังคมเป็นสำคัญ มีความใฝ่เรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมจริยธรรม และคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
ปี 2552
4 ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิทยาเขตกาญฯ
สภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น สภาการสาธารณสุขชุมชน และกระทรวงอุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน | 18,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียน (4 ปี) 90,000 บาท/ปี | 360,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 378,000 | บาท |
มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดระบบการชำระค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเป็นแบบระบบเหมาจ่าย กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาตลอดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เป็นจำนวนเงิน 360,000 บาท (ปีการศึกษาละ 90,000 บาท) โดยกำหนดให้นิสิตแบ่งชำระเป็นรายภาคการศึกษาละ 45,000 บาท เป็นระยะเวลา 4 ปีการศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ
ค่าหอพัก ห้องพักธรรมดา ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี พักอาศัย 2 คน/ห้อง | |||
---|---|---|---|
(1) | ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์หอพัก เมื่อแรกเข้าพัก คนละ | 3,500 | บาท |
(2) | ค่าหอพัก (4 ปี) 36,000 บาท/ปี | 144,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 147,500 | บาท | |
หมายเหตุ | (1) ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 7 บาท | ||
(2) ค่าน้ำ คิดเป็นเหมาจ่ายปีละ 600 บาท/คน |
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ก าหนดให้เงินกู้ยืมค่าลงทะเบียนเรียนไม่เกินปีละ 90,000 บาท และค่า ครองชีพไม่เกินปีละ 36,000 บาท ดังนั้น นิสิตจะต้องช าระส่วนต่างค่าลงทะเบียนเรียนเป็นจ านวนเงิน 0 บาทต่อปี ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ( 0 บาท ต่อภาคการศึกษา)
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืม เพื่อการศึกษาส าหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการ ผลิตก าลังคนและมีความจ าเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน / ถ้าเรียนปรับพื้นฐาน | 9,000 | บาท |
---|---|---|---|
รวมทั้งหมด | 9,000 | บาท |
เมื่อชำระค่าสมัครเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดจนชำระค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนแล้ว ภายหลังไม่ประสงค์จะเข้าศึกษาหรือต้องสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัยฯ สงวนสิทธิ์ในการคืนค่าใช้จ่ายไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
หมวดวิชา | หลักสูตร | ||
---|---|---|---|
(1) | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | หน่วยกิต |
(1.1) | กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
| 9 | หน่วยกิต |
(1.2) | กลุ่มวิชาภาษา | 15 | หน่วยกิต |
(1.3) | กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 6 | หน่วยกิต |
(2) | หมวดวิชาเฉพาะ | 103 | หน่วยกิต |
(2.1) | วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 21 | หน่วยกิต |
(2.2) | กลุ่มวิชาชีพ | 24 | หน่วยกิต |
(2.3) | กลุ่มวิชาชีพเฉพาะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 58 | หน่วยกิต |
(3) | หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |
จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 139 | หน่วยกิต |
หมวดวิชา | หลักสูตร | ||
---|---|---|---|
(1)
| หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
| 30 | หน่วยกิต |
(1.1) | กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
| 9 | หน่วยกิต |
(1.2) | กลุ่มวิชาภาษา | 15 | หน่วยกิต |
(1.3) | กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์
| 6 | หน่วยกิต |
(2) | หมวดวิชาเฉพาะ | 103 | หน่วยกิต |
(2.1) | กลุ่มวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 21 | หน่วยกิต |
(2.2) | กลุ่มวิชาชีพ | 24 | หน่วยกิต |
(2.3) | กลุ่มวิชาชีพเฉพาะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 58 | หน่วยกิต |
(3) | หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |
รวม | 139 | หน่วยกิต |
ให้นิสิตเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย เวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์
ศึกษาแนวคิดและพื้นฐานเกี่ยวกับชาติ การพัฒนาชาติโดยการเสริมสร้างพลังอํานาจในด้านการเมืองการ ปกครอง การทหาร เทคโนโลยี สังคม บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงและวิธีการประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจและ สังคมไทยเพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นการศึกษายังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ความ สัมฤทธิ์ผลของกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับเหตุการณ์จริง ศาสนา ภูมิปัญญาไทย และท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมสิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างพลังอํานาจ แห่งชาติ จิตวิญญาณ จิตสาธารณะ หลักธรรมาภิบาล องคาพยพของสังคม การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมทาง การเมือง
ศึกษาด้านจิตวิทยาประยุกต์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการดําเนินชีวิต การปรับตัว การทํางานร่วมกับผู้อื่น มนุษยสัมพันธ์ ทักษะในการทํางาน การคิดและการใช้เหตุผล จิตบริการ ศักยภาพในการทํางาน ภาวะผู้นํา ความคิด สร้างสรรค์ และทักษะในการแก้ไขปัญหา การตัดสินใจ การพัฒนาบุคลิกภาพ
ศึกษาหลักคุณธรรม จริยธรรม และจริยศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประยุกต์ใช้ในชีวิต บทบาทหน้าที่ในสังคม การดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อให้นิสิตเข้าใจและสามารถที่จะปฏิบัติ ตนได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรมในบทบาทที่ตนดํารงอยู่ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและส่งเสริมการพัฒนาให้ดําเนิน ควบคู่ไปกับจริยธรรม การบําเพ็ญประโยชน์ เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่น โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมจิตสํานึกแห่ง ความรับผิดชอบต่อตนเอง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษาปัญหาจริยศาสตร์ที่สําคัญ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการดําเนินชีวิตและการแก้ปัญหาจริยธรรมที่พบในสังคมปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญา มนุษย์กับการแสวงหาความจริงของชีวิต ปรัชญาชีวิต วิเคราะห์หาเหตุผล ในการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ ศึกษาแนวคิดของหลักศาสนา ศาสนาเปรียบเทียบ สามารถนําหลักคําสอนของศาสนาต่างๆ มาใช้ในการดําเนินชีวิตอย่างผาสุกและเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งศึกษา การก่อเกิดวัฒนธรรม ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยอันเป็น เอกลักษณ์ของความเป็นไทย
ให้นิสิตเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย เวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์
ศึกษาการใช้ภาษาไทยเพื่อให้เกิดทักษะในการสื่อความหมาย โดยคํานึงถึงความลึกในเชิงความรู้ ความ สมเหตุสมผล ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้องและพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ให้มี ประสิทธิภาพในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้นิสิตได้อ่านงานเขียนประเภทต่างๆ โดยเน้นทักษะ การเขียนที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานทั้งทางราชการและทางธุรกิจ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในด้านอาชีพและการศึกษา ในระดับสูงต่อไป
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน โดยจะเน้นในด้านโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ง่ายๆ เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคในภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเน้นรูปควบคู่ไปกับหลักการอ่านและรูปแบบการอ่านแบบต่างๆ เช่น ข่าว เรื่องสั้น เรื่องยาว และการ จับใจความ นิสิตจะได้รับการฝึกฝนจนสามารถฟังคําศัพท์และรูปประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้ในระดับพื้นฐาน
ศึกษาพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน โดยจะเน้นศึกษาโครงสร้างประโยคและคําศัพท์ที่ลึกซึ้ง เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงการใช้ประโยคและศัพท์ขั้นสูง พร้อมทั้งเน้นฝึกทักษะในการเขียนประโยคสั้นๆ จากรูปประโยคและคําศัพท์ที่ได้ศึกษามา พร้อมทั้งเริ่มฝึกทักษะ ทางด้านการฟังและการพูดประโยคและบทสนทนาสั้นๆ จากสิ่งที่ได้เรียนมา
ศึกษาเกี่ยวกับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะให้นิสิตสามารถอ่านและเข้าใจข้อความภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการ และการสื่อสารแบบต่างๆ ของวงการธุรกิจ รวมถึงการศึกษาหนังสือหรือข้อความทางธุรกิจที่เกี่ยวกับข่าวคราวความ เคลื่อนไหวต่างๆ ในวงการธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยรูปประโยคที่สลับซับซ้อนขึ้นและ คําศัพท์ทางวิชาการและวงการธุรกิจในด้านการเขียน ซึ่งนิสิตจะได้รับการฝึกให้เขียน ข้อความสั้นๆ จากรูปประโยค และคําศัพท์ดังกล่าว การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและหลักที่ใช้เพื่อให้การใช้นั้นถูกต้องในสถานการณ์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาทักษะด้านการฟังและการพูดเพื่อให้มีความสามารถในการสนทนาในหัวข้อและเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ชีวิตประจําวันและใช้ได้ในวงการธุรกิจในลักษณะที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับธุรกิจและเศรษฐกิจ รวมถึงการเรียนรู้ สํานวนที่ถูกต้องในการสนทนาในโอกาสต่างๆ เช่น การทักทาย การพูดทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์เพื่อเข้าทํางาน การเล่าเรื่องสั้นๆ
ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนและปัญหาในการเขียนภาษาอังกฤษของคนไทย ตลอดจนแนวทางแก้ไขการเขียน และการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนสํานวนที่ถูกต้องของภาษาทั้งในด้านตรรกวิทยา ความเชื่อถือได้อย่างมี หลักเกณฑ์ โดยเน้นทางด้านธุรกิจและชีวิตประจําวันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอีกทั้งยังศึกษาความหมายที่ลึกซึ้ง สามารถ ติดต่องานธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสําเร็จ นอกจากนี้ยังฝึกฝนทักษะในการเขียนข้อมูลส่วนตัว การ เขียนใบสมัครเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ การเขียนภาษาอังกฤษเทคนิค การเขียนรายงาน และการเขียนจดหมายติดต่อ ภาษาอังกฤษ รวมถึงการศึกษาหลักการจดข้อความและฝึกการเขียนบันทึกข้อความที่ใช้ในวงการธุรกิจทั่วไปและคํา บรรยายทั้งจากการฟัง การพูด และการอ่าน พร้อมทั้งฝึกเขียนย่อความ รวมทั้งเน้นฝึกฝนทักษะในการอ่านสิ่งตีพิมพ์ ต่างๆ การเขียนจดหมายสั่งซื้อ รวมถึงการเขียนสรุป การสัมภาษณ์ การรายงานปากเปล่าจากรายงานที่สรุปจาก สิ่งพิมพ์ต่างๆ และการสนทนาทางธุรกิจในหัวข้อต่างๆ
ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในวิชาชีพ การแสดงบทบาทสมมติ ในการสื่อสารกับผู้ใช้บริการและทีมสหสาขาวิชาชีพ การอภิปรายถกเถียงในประเด็นของวิชาชีพ
ให้นิสิตเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย เวสเทิร์น ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์
ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางคอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้ ขั้นตอนการ ค้นคว้า การนําเสนอสารสนเทศ วิธีการรวบรวมบรรณานุกรม การจัดหมู่หนังสือ บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง ดรรชนี หลักเกณฑ์และวิธีการสืบค้นเอกสารและสิ่งพิมพ์ การอ่านและการจดบันทึกข้อความเพื่อนํามาเรียบเรียงรายงาน วิชาการ รูปแบบของรายงาน และการเขียนรายงานอ้างอิง รวมถึงจริยธรรมของผู้ใช้สารสนเทศ
สถิติพื้นฐาน ระเบียบวิธีการทางสถิติเพื่อนําไปใช้ในการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงความถี่ การ ทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การประยุกต์ใช้ สถิติในงานวิจัย
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและพัฒนาการความคิดทางคณิตศาสตร์ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลัก เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีคิดแบบคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจําวัน การคํานวณ พื้นฐานเพื่อนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน การนําวิธีพื้นฐานมาใช้แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยนําหลักการทางคณิตศาสตร์ มาประยุกต์ ได้แก่ เซต สมการ ความน่าจะเป็น คณิตศาสตร์การเงิน และการคํานวณภาษีเงินได้
ปริมาณสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี สมบัติของของแข็ง ก๊าซ และของเหลว สารละลายและ คุณสมบัติของสารละลาย จลนศาสตร์เคมี สมดุลเคมี กรดและเบส ไฟฟ้าเคมี ตารางธาตุและเคมีของธาตุ เคมี นิวเคลียร์และปฏิบัติการเคมีที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี และการเกิดไฮบริไดเซชั่น สมบัติทางเคมีและทางกายภาพ การอ่านชื่อปฏิกิริยา การเตรียมและปฏิกิริยาการสังเคราะห์ของสารประกอบกรด-เบส อัลเคน อัลคืน อัลไคน์ อะโรเมติก แฮไลด์อินทรีย์ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเธอร์ อีพอกไซด์ อัลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ เอมีน ฝึกฝนเทคนิคเบื้องต้นใน การแยกสาร การทําให้สารบริสุทธิ์ การทดสอบสมบัติทางเคมีที่สําคัญของหมู่ฟังก์ชั่นของสารประกอบอินทรีย์ และ การทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาในภาคบรรยาย
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ทั้งโปรคาริโอตและยูคาริโอต การแบ่งเซลล์ และปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ กระบวนการในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต การจําแนกสิ่งมีชีวิต หลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การสัมพันธ์ และการเจริญของสิ่งมีชีวิต ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิเวศวิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การทดลองที่สอดคล้อง กับเนื้อหาในภาคบรรยาย
คุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของชีวโมเลกุล ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน กรดนิวคลีอิก เอนไซม์ วิตามิน และโคเอนไซม์ กระบวนการทางเมแทบอลิซึมและพลังงานของเซลล์ การสังเคราะห์สารทางพันธุกรรมและการ ควบคุมการแสดงออกของยีน การทดลองที่สอดคล้องกับเนื้อหาในภาคบรรยาย
ความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ การเคลื่อนที่ แรงงาน พลังงาน สมดุลของความร้อนและอุณหภูมิ ฟิสิกส์ของการ ได้ยิน ฟิสิกส์ของการมองเห็น นิวเคลียร์ฟิสิกส์ การนําความรู้ทางฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์
หลักการพื้นฐานและความสําคัญของกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เซลล์และเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ สรีรวิทยา ของเซลล์ การเผาผลาญ โครงสร้างและการทํางานของอวัยวะระบบต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ รวมทั้งความสัมพันธ์ ของการทํางานระบบต่างๆ ในร่างกาย ตลอดจนฝึกทดลองในห้องทดลองทางด้านกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
หลักการทางจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา จุลชีพและปรสิต รูปร่าง ลักษณะและคุณสมบัติ การติดเชื้อ การ ติดต่อ กลไกการต้านทานโรคของร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น การแปลผล การควบคุมการ เจริญเติบโตของจุลชีพและปรสิต การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการฝึกทดลองทาง ห้องปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาและการแปลผล
แนวคิดและความเป็นมาเกี่ยวกับการสาธารณสุข นโยบายและการปฏิรูปการสาธารณสุขของไทยและ ต่างประเทศ การพัฒนาสาธารณสุขของประเทศไทย ระบบการบริการสาธารณสุขของไทยและต่างประเทศ การศึกษาเกี่ยวกับการประชากรศาสตร์ วิธีการดําเนินงานสาธารณสุข หลักการและกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐาน ฝึกการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคม จิตวิทยา และวัฒนธรรมที่มีผลต่อสุขภาพ
แนวคิดและหลักการโภชนศาสตร์และสุขาภิบาลอาหาร นโยบายและแผนการดําเนินงานด้านโภชนาการของ กระทรวงสาธารณสุข ความต้องการอาหารของบุคคลในแต่ละช่วงวัย และการประเมินภาวะโภชนาการ โรคไม่ติดต่อ เรื้อรังจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ความรู้พื้นฐานทางจุลินทรีย์ในงานสุขาภิบาลอาหาร การจัดการและ ควบคุมอาหารให้สะอาด ปลอดภัย โรคและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ํา การจัดการและควบคุมอาหารให้สะอาด ปลอดภัย กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลอาหาร ฝึกศึกษาการประเมินภาวะโภชนาการในระดับ บุคคลและชุมชน
ความหมายและความสําคัญของการปฐมพยาบาล การควบคุม และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นปัญหาสุขภาพที่พบในชีวิตประจําวัน การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน การประเมินและ จําแนกประเภทของผู้ประสบภัย การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย และการส่งต่อ การดูแลรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการปฐมพยาบาล ฝึกทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
แนวคิด นโยบาย ความหมายและขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม การจัดการกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การระงับเหตุรําคาญ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฝึก การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
ความหมาย หลักการและวิธีการทางสุขศึกษา แนวคิด ทฤษฎี แบบจําลองทางสุขศึกษาและการประยุกต์ใช้ใน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การวางแผน การดําเนินงานและการประเมินผลการดําเนินงานสุขศึกษา รวมทั้ง การผลิตและบํารุงรักษาสื่อเพื่อใช้ในงานสุขศึกษา มาตรฐานงานสุขศึกษา และฝึกการจัดโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ระบบสุขภาพและการพัฒนาระบบสุขภาพ หลักการบริหารที่ใช้ในการบริหารงานสาธารณสุข การวางแผน การจัดองค์กร ภาวะผู้นํา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การอํานวยการ และควบคุมงาน การวิเคราะห์นโยบายและ แผนพัฒนาสาธารณสุข
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชีวสถิติ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานมาตรวัดค่าตัวแปร การวัดแนวโน้มเข้าสู่ ส่วนกลางและการกระจาย ความน่าจะเป็น การแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจงการสุ่มตัวอย่างประชากร ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงค่าสถิติ การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้พารามิเตอร์และ สถิติที่ไม่ใช้พารามิเตอร์ การฝึกคํานวณขนาดตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางชีวสถิติ
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและการจัดบริการปฐมภูมิ กลวิธีการสาธารณสุขมูลฐาน แนวคิดและ หลักการเกี่ยวกับสุขภาพภาคประชาชน การวินิจฉัยอนามัยชุมชนและแนวการแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชน สถานการณ์ และการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข การจัดทําโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของ ชุมชนและการประเมินผล ฝึกปฏิบัติการดําเนินงานตามกระบวนการอนามัยชุมชน
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาการระบาด ที่เกี่ยวกับการเกิด การกระจาย องค์ประกอบ และปัจจัยที่มี อิทธิพลหรือตัวกําหนดการเกิดโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางระบาดวิทยาในการแก้ไข ปัญหา การเฝ้าระวัง การระบาด การควบคุมและป้องกันโรค ตลอดจนการฝึกวิเคราะห์และสอบสวนโรคโดยใช้ วิธีการทางวิทยาการระบาด
ให้นิสิตเลือกเรียนจากกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้เพียงกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่ง ตาม ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณบดี
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มอาชีพต่างๆ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การตระหนักและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมการทํางาน การควบคุมสิ่งแวดล้อมการ ทํางาน อันตรายจากสารเคมีในงานอุตสาหกรรม โรคจากการทํางาน อุบัติเหตุและการป้องกัน ความปลอดภัยในงาน ก่อสร้าง เครื่องจักรและไฟฟ้า การบริการและระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในงานภาคเกษตร และแรงงานนอกระบบ
ความรู้และแนวคิดพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ต่องานทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม การนําความรู้ด้าน วิศวกรรมมาใช้ในการควบคุมสภาพแวดล้อมในการทํางานอุตสาหกรรม ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา หลักการ ทางด้านกลศาสตร์ของไหล หลักการเบื้องต้นในการออกแบบและโครงสร้างของอาคาร การอ่านแบบแปลนอาคาร ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมอุตสาหการ ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมเคมี
หลักการการบริหารทั่วไป การนําหลักการบริหารทางสาธารณสุขมาประยุกต์ใช้ในงานอาชีวอนามัย ความ ปลอดภัย กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน หลักในการ วางแผนทางอาชีวอนามัย การดําเนินงานด้านอาชีวอนามัยในโรงงาน การบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสียจากการ ทํางาน การจัดการความเสี่ยง การบริหารจัดการอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การสื่อสารเพื่อความปลอดภัย การส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานด้านอาชีวอนามัยทั้งภาครัฐ เอกชน และ องค์กรต่างประเทศ การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการ
หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม นโยบาย หลักการส่งเสริมสุขภาพจาก ภาครัฐสู่ภาคอุตสาหกรรม กลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ แนวความคิดและทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพจาก นานาประเทศเปรียบเทียบกับประเทศไทย การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในสถานประกอบการ การเผยแพร่ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตราย และพฤติกรรมความปลอดภัยจากการทํางาน ฝึกปฏิบัติการวางแผน การดําเนินงาน และการประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
หลักการการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ความหมายและ ความสําคัญของพิษวิทยาอาชีวอนามัย หลักการเกี่ยวกับพิษวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารพิษที่ได้รับกับ การตอบสนอง การดูดซึมของสารพิษ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารพิษ และกลไกการกําจัดสารพิษออกจาก ร่างกาย การทดสอบทางพิษวิทยาอาชีวอนามัย สารเคมีที่มักใช้ในเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม การปฐมพยาบาล กรณีรับสารพิษ การประเมินสุขภาพและการจัดการความเสี่ยงด้านพิษวิทยา
หลักการ ความหมายของทางการยศาสตร์ บทบาทงานการยศาสตร์ในสถานที่ทํางาน พื้นฐานสรีรวิทยาการ ทํางาน ชีวกลศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทํางาน การวัดสัดส่วนร่างกายและการประยุกต์ใช้ในงานการยศาสตร์ อุปกรณ์ควบคุมด้วยมือและสื่อแสดงข้อมูล การบ่งชี้และวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์เพื่อปรับปรุงสภาพการทํางาน แนวทางการออกแบบสถานีงานและอุปกรณ์การทํางานตามสรีระมนุษย์ การประยุกต์การยศาสตร์ในสถาน ประกอบการ พื้นฐานจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการทํางาน
ความรู้เบื้องต้นและความสําคัญของความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม อันตรายจากสิ่งคุกคามสุขภาพ และความปลอดภัย หลักและทฤษฎีความปลอดภัย หลักจิตวิทยาอุตสาหกรรม การสอบสวน การวิเคราะห์ การ รายงานและการประเมินอุบัติเหตุ หลักการเทคนิคการป้องกันและการตรวจสอบความปลอดภัยในการทํางาน หลักการจัดทําแผนงานความปลอดภัย การวิเคราะห์และประเมินผลแผนงานความปลอดภัย กิจกรรมส่งเสริมความ ปลอดภัยในการทํางาน การอบรมความปลอดภัย ความปลอดภัยในการทํางานด้านต่าง ๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม กระบวนการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิด ความปลอดภัย การเลือกกระบวนการ เทคโนโลยีและวิธีการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยงอันตราย ปัญหาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากกรรมวิธี วัตถุดิบ สารเคมี และเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต การจัดการเพื่อ ควบคุมการสูญเสียและการเพิ่มผลผลิต ศึกษาดูงานในชุมชนและโรงงานอุตสาหรรมเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและ ควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
การจําแนกประเภทของสารเคมีและวัตถุอันตราย การจัดเก็บวัตถุอันตราย การขนถ่ายและเคลื่อนย้าย สารเคมีและวัตถุอันตราย การป้องกันการรั่วไหล การฟื้นฟูแหล่งปนเปื้อน อุบัติภัยร้ายแรงเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุ อันตราย เทคนิคขั้นตอนของการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเนื่องจากสารเคมี องค์กรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตอบโต้เหตุ ฉุกเฉิน การบ่งชี้อันตรายที่เกี่ยวข้องในเหตุฉุกเฉิน การประเมินสถานการณ์กลยุทธ์และปัจจัยในการตอบโต้ การ ตอบโต้ เหตุการณ์อย่างปลอดภัยความปลอดภัยสําหรับผู้ปฏิบัติการในเหตุฉุกเฉิน
แนวคิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่พบบ่อยในภาคอุตสาหกรรม หลักการจัดการด้านอุบัติเหตุโดยทั่วไป ประเภทของ ไฟ องค์ประกอบของไฟ กฎหมายและข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมอัคคีภัย ระบบและอุปกรณ์ ป้องกันและระงับอัคคีภัย หลักการติดตั้งระบบอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย การจัดองค์กรในการระงับอัคคีภัย การซ้อมอพยพหนีไฟ และเทคนิคในการ ดับเพลิง การวิเคราะห์อันตรายจากอัคคีภัย ฝึกปฏิบัติการดับเพลิงขั้นต้นและอพยพหนีไฟ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและการใช้กฎหมาย กฎหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศ ไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่สําคัญของต่างประเทศ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในการบริหารกฎหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งในและต่างประเทศ หน้าที่รับผิดชอบของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานในการดําเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
หลักการควบคุมมลพิษทางอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษในอุตสาหกรรมและการกําจัดมลพิษ แต่ละประเภท ได้แก่ มลพิษทางน้ํา มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและกากของเสียอันตราย ค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อควบคุมและลด ปัญหามลพิษในโรงงานอุตสาหกรรม
หลักการและแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม การคาดการณ์ ตระหนัก ประเมิน ควบคุม การ ประเมินสภาวะแวดล้อมในการทํางานที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน หลักการทํางานของเครื่องมือตรวจวัด ทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม วิธีการและเทคนิคการตรวจวัดและวิเคราะห์ อุณหภูมิ อากาศ เสียง แสง รังสี สารเคมี ความสั่นสะเทือนและความกดบรรยากาศในสภาวะแวดล้อมในการทํางาน การควบคุมคุณภาพอากาศ การระบาย อากาศ การควบคุมอุณหภูมิ เสียง แสง รังสี สารเคมี ความสั่นสะเทือน และความกดบรรยากาศ การตรวจสอบการ ทํางานของระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมในการทํางาน รวมทั้งการป้องกันทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ศึกษาดู งานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม
หลักการวิธีการตรวจวัด การเก็บ และการวิเคราะห์ตัวอย่างด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในสภาวะแวดล้อมใน การทํางานทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพที่มีผลต่อสุขภาพและอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน หลักการของเครื่องมือ และวิธีการใช้เครื่องมือสําคัญที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ฝึกปฏิบัติการใช้ เครื่องมือและเก็บตัวอย่าง มลพิษอากาศ เสียง แสง และความร้อน วิเคราะห์ผลและประเมินการสัมผัสสิ่งแวดล้อมใน การทํางานที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน
แนวคิดและหลักพื้นฐานในการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย การควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย หลักและเทคนิคพื้นฐานการประเมินความเสี่ยงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาโอกาสและความ รุนแรง การบ่งชี้ถึงอันตรายด้วยเทคนิคที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดลําดับความเสี่ยง และการจัดทํา แผนงานจัดการความเสี่ยง การประเมินผลและรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงในงานอุตสาหกรรม เพื่อป้องกัน อันตรายและสร้างเสริมสุขภาพต่อผู้ปฏิบัติงาน
ศึกษาค้นคว้างานวิจัย ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ ศึกษาการอ่าน วิเคราะห์ จับประเด็นที่สําคัญ ศึกษาวิธีการตั้งคําถาม และตอบคําถามในเรื่องเกี่ยวกับ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการ เจตคติ สามารถนําความรู้ต่างๆ มานําเสนอเพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ศึกษาความหมาย ความสําคัญ วัตถุประสงค์ และประเภทของงานวิจัย ตัวแปรประเภทต่างๆ วิธีการสุ่ม ตัวอย่าง การเก็บข้อมูล วิธีการประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ การนําเสนอข้อมูล วิธีการเขียนเค้าโครงการวิจัย และ วิธีการเขียนรายงานการวิจัย
ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา เพื่อให้มีความพร้อมในการทํางานร่วมกับผู้ร่วมงาน จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ การสื่อสาร บุคลิกภาพและ มนุษย์สัมพันธ์ และการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
แนวคิดและหลักการด้านอาชีวเวชศาสตร์ สาเหตุ ลักษณะอาการแสดงของโรค แนวทางในการวินิจฉัยโรคที่ เกิดจากการประกอบอาชีพ กลไกการทํางานของร่างกายในสภาวะแวดล้อมที่คุกคามสุขภาพ การป้องกันโรคที่เกิด จากการประกอบอาชีพ โรคจากการประกอบวิชาชีพที่สําคัญในประเทศไทย และการตรวจสุขภาพพนักงาน
การใช้เทคนิคทางวิศวกรรมในการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ อันตรายที่เกิดจากสภาพงานหรือ กระบวนการผลิตในภาคกสิกรรม อุตสาหกรรม และงานก่อสร้าง เครื่องจักร เครื่องกลและเครื่องมือกลชนิด เคลื่อนย้าย ระบบไฟฟ้าอาคาร การปั้มโลหะและเชื่อมโลหะ ภาชนะรับความดันและภาชนะบรรจุก๊าซ หม้อน้ํา สถานที่ อับอากาศ บริเวณหรืออุปกรณ์บําบัดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การเคลื่อนย้ายวัสดุ นั่งร้าน ปั้นจั่น และรถยก การซ่อม บํารุง Lock outTgg out โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นประเภทงานที่กฎหมายความปลอดภัยกําหนดไว้
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานระดับชาติ และสากล ข้อกําหนดและการจัดทํามาตรฐานระบบการจัดการ มาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบคุณภาพมาตรฐาน และมาตรฐานสากล อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หลักการและเทคนิควิธีในการระบายอากาศเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ ป้องกันการเกิดอัคคีภัย ตลอดจน ความร้อนและความชื้นภายในโรงงานอุตสาหกรรม หลักการควบคุมและการออกแบบระบบระบายอากาศทั้งแบบ ทั่วไปและแบบเฉพาะที่ องค์ประกอบของระบบระบายอากาศ อุปกรณ์และเครื่องมือในการควบคุมมลภาวะทาง อากาศ คุณภาพอากาศภายในอาคาร อากาศทดแทนและการหมุนเวียนอากาศในระบบระบายอากาศ การตรวจสอบ และประเมินการทํางานของระบบการระบายอากาศ การดูแลบํารุงรักษาระบบระบายอากาศให้มีประสิทธิภาพ
แนวคิดการจัดการของเสียอันตราย หน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทําหลักเกณฑ์ ข้อกําหนด มาตรการ และมาตรฐานการจัดการกากของเสียอันตรายในอุตสาหกรรม ของโรงงานผู้รับบําบัดหรือกําจัด หรือรีไซเคิล การ ป้องกันมลพิษจากของเสียอันตรายในอุตสาหกรรม การผลิตที่สะอาด การลดปริมาณของเสียอุตสาหกรรม การ จัดทําโครงการป้องกันมลพิษจากของเสียอันตราย การเก็บรวบรวม การขนส่ง การควบคุมของเสียอุตสาหกรรม การ ทําเอกสารขนส่งของเสียอุตสาหกรรม การนําเข้า ส่งออก ของเสียอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ เหตุฉุกเฉินในการ ขนส่งของเสียอันตรายในอุตสาหกรรม
การทําโครงการวิจัยในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสาธารณสุขและอาชีวอนามัย การวิเคราะห์ แปลผล การ เลือกใช้สถิติในงานวิจัย การใช้โปรแกรมสําเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย การนําผลการวิจัยไปใช้ จริยธรรมใน การวิจัย การประเมิน และสรุปผลงานวิจัย
ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติงาน และจัดทําโครงการเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาในสถานประกอบการ
ให้นิสิตเลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้ และหรือรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรระดับ ปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการ
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจาก คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาเขตกาญฯ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น