บัณฑิตวิทยาลัย กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และการบริหารจัดการในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
คณะสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุขให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลาย สามารถนำความคิดสร้างวิสัยทัศน์และผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลาย พัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์และบูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารยุคใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย
“การสาธารณสุขเพื่อ “สุขภาวะ” ที่ยั่งยืน”
“Public Health for Sustainable”
กระแสวิวัฒนาการของสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้ก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมีคุณธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อรองรับและก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และการบริหารจัดการในสังคมยุคใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
คณะสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุขให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิดจากทฤษฎีจากประสบการณ์ที่หลากหลาย สามารถนำความคิดสร้างวิสัยทัศน์และผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้หลากหลาย พัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์และบูรณาการองค์ความรู้สู่การบริหารยุคใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนรู้ในอนาคต และเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย
ปี 2541
Course Work 1 ปีการศึกษา
ศูนย์การศึกษาผ่านระบบเครือข่าย
สภามหาวิทยาลัยและกระทรวง
อุดมศึกษาฯ อนุมัติ/รับรอง/
รับทราบ หลักสูตร
(1) | ค่าสมัครเรียน / ค่าขึ้นทะเบียน | 4,000 | บาท |
---|---|---|---|
(2) | ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร | 168,000 | บาท |
รวมทั้งหมด | 172,000 | บาท |
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้กำหนดให้เงินกู้ยืมค่าลงทะเบียนเรียนไม่เกินปีละ 200,000 บาท และค่าครองชีพไม่เกินปีละ 36,000 บาท ดังนั้น นิสิตจะต้องชำระส่วนต่างค่าลงทะเบียนเรียนเป็นจำนวนเงิน 700,000 บาทต่อปี ตามประกาศของมหาวิทยาลัยฯ (350,000 บาทต่อภาคการศึกษา)
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา จำกัด
บริษัท เวิลด์ เงินกู้เพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาในระดับอุกมศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือที่เป็นสาขาวิชาตอนที่มีความต้องการหลักในการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
วิธีสมัครเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
https://xregis.western.ac.th/index_enroll.html#/enroll
นิสิตต้องเข้าศึกษาตามรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีผลคะแนนไม่ต่ํากว่า B และ ทําโครงร่างวิทยานิพนธ์และจัดทําวิทยานิพนธ์ ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และมี การเสนอผลงานต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการ ในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์คณะกรรมการสอบ
หมวดเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | |
---|---|---|
หมวดวิชาเฉพาะ | 24 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | - | หน่วยกิต |
หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต |
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 36 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | |
---|---|---|
หมวดวิชาเฉพาะ
| 24 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | 6 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาค้นคว้าอิสระและสารนิพนธ์ | 6 | หน่วยกิต |
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | 36 | หน่วยกิต |
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) | ||
---|---|---|
หมวดวิชาบังคับ | 18 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 15 | หน่วยกิต |
ดุษฎีนิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รวมทั้งหมด | 81 | หน่วยกิต |
เฉพาะผู้เรียนที่ไม่สําเร็จปริญญาตรีสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้องให้เรียน รายวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานเพิ่มเติม ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณะวิชา
ศึกษาปัจจัยพื้นฐานของการดําเนินงานทางสาธารณสุข ศึกษาหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ศึกษาองค์การธุรกิจ การจัดองค์การและการบริหารงานสาธารณสุข ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆเพื่อ การดําเนินงานด้านสุขภาพและการสาธารณสุข
ศึกษาสังเคราะห์องค์ประกอบของภาษาอังกฤษและหลักเกณฑ์สําหรับแต่ละองค์ประกอบในตํารา ประกอบวิชาที่เรียนศึกษาภาษาอังกฤษ ด้วยการฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกฟัง และฝึกพูดและเพื่อการสืบค้นและการศึกษา ค้นคว้าจากตําราต่างประเทศสามารถอ่านและเขียนบทคัดย่อวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ภาษาอังกฤษได้
ศึกษาองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแสวงหาความรู้การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ ข้อมูลสารสนเทศ เรียนรู้ สัมผัส ฝึกการสื่อสารแลกเปลี่ยน ข้อมูลสารสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สร้างสารนิเทศและสารสนเทศต่างๆ ควบคุมและการจัดการสารสนเทศเพื่อแสวงหาความรู้และตอบสนองความ ต้องการในการพัฒนาวิชาการของตนเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่ว
ศึกษาความหมาย ประเภทและกระบวนการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การกาหนดปัญหาการวิจัย ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย การสร้างเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโครงร่าง และรายงานการวิจัยการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ การนาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และจริยธรรมการวิจัย โดยเน้น การใช้ Internet of Things (IoT) ที่เชื่อมโยงค้นหา วิเคราะห์ แปลผล และรับส่งข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตเป็นสําคัญ
ศึกษาลักษณะองค์การ ทฤษฎีผู้นํา ทฤษฎีการจูงใจ รูปแบบและกระบวนการ การบริหารในองค์การ รวมถึงการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทํางาน การสั่งการ การควบคุมการทํางานให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเน้นถึงการศึกษาเชิงแนวปฏิบัติและกรณีศึกษาบนพื้นฐานการวิจัยและนวัตกรรม
ศึกษาแนวคิด หลักการ และเป้าหมายในการบริหารงานบุคคลและทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์การในเชิงนโยบาย ตามกระบวนการสรรหาและคัดเลือก การวางแผนพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ การทํางานร่วมกันระหว่างวิชาชีพ วิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ และการธํารง รักษาทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพ โดยเน้นถึงการศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษาบนพื้นฐานการวิจัยและนวัตกรรม
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ การวางแผนเป้าหมายนโยบายและการจัดการองค์กร กลยุทธ์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของของผู้บริหารงานสาธารณสุขทุกระดับ ในการวิเคราะห์และพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อการบริหารงานสาธารณสุข โดยอาศัยหลักการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผล ทั้งด้วยเครื่องมือหรือด้วย มือ เพื่อวิเคราะห์ระบบข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูลด้านสุขภาพให้สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็น ประโยชน์สูงสุด
แนวคิด ทฤษฎี หลักการและกระบวนการบริหารสาธารณสุข นโยบาย กลยุทธ์ การวางแผนยุทธ์ศาสตร์ และจริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุข รวมถึงหลักการและกระบวนการบริหารงานทั่วไป เพื่อการประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาการสาธารณสุข บทบาททักษะและภาวะผู้นาของผู้บริหารยุทธศาสตร์และการวางแผน การจัดองค์การ การอานวยการ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาระบบสารสนเทศ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การเงินและ งบประมาณ การติดต่อสื่อสาร การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร การนิเทศงาน การติดตามควบคุมกํากับการประเมิน และการรายงานผล การอภิบาลระบบสุขภาพด้วยเทคนิคเชิงบริหาร การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาการบริหารงาน สาธารณสุข และประยุกต์กระบวนการแก้ปัญหาและเทคโนโลยีการบริหารเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขทุกระดับ
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop) เน้นศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสาธารณสุขที่น่าสนใจ ทั้ง ในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับพื้นที่ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้อง กําหนดประเด็นและหัวข้อปัญหา สาธารณสุขที่สนใจ และนําเสนอเชิงระบบ
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop) เน้นศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสาธารณสุขที่น่าสนใจ ทั้ง ในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับพื้นที่ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้อง กําหนดประเด็นและหัวข้อปัญหา สาธารณสุขที่สนศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ด้านสาธาณสุข โดยใช้หลักการบัญชีการเงินขั้นมูลฐาน การ จัดเก็บ การรวบรวม การจัดจําแนกประเภทบัญชี เพื่อให้เข้าใจงบการเงินสามารถวัดผลการดําเนินงานและฐานะ การเงินขององค์การด้านสาธารณสุข ในการวางแผนและควบคุม ด้วยวิธีการบัญชี การวิเคราะห์ต้นทุนงาน สาธารณสุขโดยเน้นอรรถประโยชน์ การสนับสนุนการตัดสินใจ และการพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาสให้แก่รัฐบาลและ องค์การด้านสาธารณสุขภายใต้การใช้ Internet of Things (IoT) ที่เชื่อมโยงค้นหา วิเคราะห์ แปลผล และรับส่งข้อมูล ด้วยอินเทอร์เน็ตเป็นสําคัญ ใจ และนําเสนอเชิงระบบ
ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดหลักการกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์การประยุกต์หลักธรรมมาภิบาลใน การบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์การสาธารณสุข การนําแผนกลยุทธ์สู่แผนปฏิบัติในการพัฒนาและแก้ปัญหาด้าน สาธารณสุขโดยใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษา
ให้นิสิตที่ศึกษาในแผน ข เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ จํานวน 6 หน่วยกิต ตามความ เห็นชอบของผู้อํานวยการหลักสูตร
แนวคิด หลักการ และระบบการนิเทศงานสาธารณสุข ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิเทศ การประเมินและการติดตามผลงานสาธารณสุข
หลักการและระเบียนวิธีการศึกษาทางวิทยาการระบาด วิทยาการระบาดสังคม การประยุกต์วิทยาการ ระบาดเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพการ เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ การสอบสวนโรค การตรวจคัดกรองโรค การนําระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ บริหารจัดการระบบข้อมูลข่าวสารในงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
ศึกษา เข้าใจถึงหน้าที่ บทบาทและความสําคัญของผู้บริหารงานสาธารณสุขในการจัดการด้าน การตลาด การประชาสัมพันธ์ กระบวนการและส่วนผสมทางการตลาด รวมถึงการวิเคราะห์และการพยากรณ์ พฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อการวางแผน กําหนดนโยบายและกลยุทธ์ในงานสาธารณสุข โดยเน้น การศึกษาเชิงปฏิบัติและกรณีศึกษา
ศึกษาแนวคิดและหลักการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ นโยบายสาธารณสุข การจัดการด้านระบบบริการสาธารณสุข การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรสาธารณสุข การวิเคราะห์และประเมินโครงการด้านสาธารณสุข การเงินและการคลังสาธารณสุข และการใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ในการศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ การลงทุนและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข บทบาทภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบบริการ สาธารณสุข
แนวคิดเกี่ยวกับการสาธารณสุขและความสําคัญของงานสาธารณสุข ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงาน สาธารณสุข การสาธารณสุขในประเทศและต่างประเทศ ระบบสาธารณสุขในประเทศไทย การพัฒนางานสาธารณสุขในประเทศไทย บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข นวัตกรรมสาธารณสุข นโยบายการแก้ปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบัน แผนพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ แนวคิดเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพ กองทุนสุขภาพ
วิวัฒนาการของสุขภาพและสวัสดิการสังคมระหว่างประเทศ ผลกระทบของการกําหนดนโยบายของ ประเทศและระหว่างประเทศต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของบุคคลและชุมชน บทบาทของความเชื่อทางวัฒนธรรม และค่านิยมต่อพฤติกรรมการเลือกใช้การบริการสุขภาพ ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ต่อสุขภาพและสวัสดิการสังคม ประเด็นจริยะธรรมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เครื่องชี้วัดภาระโรคของทั่วโลก บทบาทขององค์กรนานาชาติ และ ความท้าทายต่อการพัฒนาสุขภาพทั่วโลก
ศึกษาหลักการ ทฤษฎีต่างๆ แนวโน้ม การสร้างเครื่องชี้วัด การกําหนดกระบวนการและกลยุทธ์ ในการ พัฒนางานด้านการจัดการสาธารณสุขในชุมชน สร้างความเข้าใจในรัฐธรรมนูญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ นโยบายสุขภาพของภาครัฐที่เป็นปัจจัยกับการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขชุมชน
ศึกษากฎหมายด้านสาธารณสุข กฎหมายที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย กฎหมายอนามัยสิ่งแวดล้อม กฎหมายการควบคุมโรค กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค และกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินการงานสาธารณสุข
ศึกษาวิวัฒนาการ ภารกิจ แนวโน้ม การจัดการสุขภาพ อนามัยชุมชน โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบสุขภาพ การสาธารณสุขมูลฐานในสังคมไทย ความเข้าใจในหลักการ แนวคิด กระบวนการ นวัตกรรม สาธารณสุข การพัฒนาการจัดการด้านสุขภาพแบบองค์รวม
(4.1) สําหรับผู้ที่เลือกเรียน แผน ก2 ทําวิทยานิพนธ์
ศึกษาวิจัยและเสนอผลการวิจัยตามความสนใจของแต่ละบุคคลโดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแลและ คําแนะนําจากคณะกรรมการที่ปรึกษาและดําเนินการตามขั้นตอนและรูปแบบของการนําเสนอวิทยานิพนธ์ตามที่ มหาวิทยาลัยกําหนด
(4.2) สําหรับผู้ที่เลือกเรียน แผน ข ไม่ทําวิทยานิพนธ์
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในปัญหาหรือเรื่องที่น่าสนใจ โดยได้รับอนุมัติ กํากับดูแลและแนะนําจาก คณะกรรมการที่ปรึกษาและเขียนรายงานทางวิชาการตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกําหนด
เมื่อผมมีเป้าหมายในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท ผมจึงทำการสำรวจหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจากหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งพบว่ามหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเป็นมหาวิทยาลัยซึ่งมีหลักสูตรตรงตามความต้องการและมีห้วงการเรียนไม่กระทบต่อเวลาปฏิบัติงานราชการเนื่องจากเป็นการเรียนสารนิพนธ์ในระบบออนไลน์ และมีความเชื่อมั่นในหลักสูตรซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และเมื่อผมได้เข้ามาเรียนสิ่งที่ทำให้ผมประทับใจในหลักสูตรนี้ก็คือ ผมได้มีโอกาสพบเพื่อนจากหลายวิชาชีพทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งทำให้ผมสามารถนำประสบการณ์ความรู้จากเพื่อนๆนักศึกษาดังกล่าวไปปรับปรุงประยุกต์ใช้ในงานราชการซึ่งดำเนินการอยู่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี รวมถึงบรรดาคณาจารย์ในหลักสูตรที่มีความใส่ใจต่อนิสิตทุกคนทั้งช่วงของการเรียนรายวิชา และการทำวิทยานิพนธ์ จนทำให้ผมและเพื่อนๆ สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามเวลาที่กำหนด
ผมมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ในหลักสูตรสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นสถาบันคุณภาพการเรียนการสอนที่ดี การได้มาเรียนที่นี้ก็ถือว่าได้รับโอกาสที่ดีในการศึกษา พัฒนาตนเอง เนื่องจากความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริง อาทิเช่น การบริหารบุคลากรในหน่วยงาน การบริหารงบประมาณ เป็นต้น โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สามารถนำกลับไปทำงานวิจัยจริงในพื้นที่ทำงานได้อย่างดียิ่ง และนอกจากนี้ ผมยังประทับใจอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งท่านมีความรู้ ความสามารถที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดูแลให้คำปรึกษานักศึกษาอย่างดี และรู้สึกอบอุ่น หากมีโอกาสและเวลาเอื้ออำนวย ผมจะกลับไปศึกษาต่อโนระดับที่สูงขึ้นกับทางมหาวิทยาลัยอย่างแน่นอนครับ
เนื่องจากดิฉันเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ไม่มีโอกาสในการขอลาศึกษาต่อ ทำให้มีข้อจำกัดของเวลาในการเรียน จากการค้นหาข้อมูลการเรียนในระดับมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาเจอข้อมูลของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ที่มีระบบการเรียนการสอนแบบทางไกล ซึ่งเหมาะและลงตัวกับเวลาของตัวเอง จึงเลือกเรียนที่นี่ การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมีระบบ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก อีกทั้งมีความประทับใจในคณะอาจารย์ที่สอนเป็นอย่างมากค่ะ อาจารย์มีความรัก มีความเมตตาและเสียสละเวลาให้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่ ทำให้ข้าพเจ้ามีความรัก ความผูกพันธ์กับอาจารย์ หลังจากเรียนจบระดับมหาบัณฑิต ทำให้ตัดสินใจไม่ยากเลยที่จะเรียนต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต มาถึงวันนี้แม้ว่าจะเรียนจบมาหลายปีแล้ว ดิฉันยังมีความระลึกถึงคณะอาจารย์และมหาวิทยาลัยอยู่เสมอค่ะ
Line Official ID : @western.md
โทร 02-0266659 (ส่วนงานบริการข่าว)