ท่านอนสำหรับผู้ป่วย COVID-19
ท่านอนสำหรับผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มออกซิเจนในปอด
ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการไอและหายใจลำบาก ควรนอนคว่ำ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด และเพื่อบรรเทาอาการเหนื่อย ไอ และหายใจลำบาก
การนอนคว่ำ (Prone Position) เป็นวิธีการที่ใช้กับผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน หรือ ARDS เช่น โรคปอดอักเสบที่มีลักษณะผิดปกติในปอดทั้ง 2 ข้าง โรคไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึง COVID-19 ซึ่งการนอนคว่ำจะช่วยประคับประคองอาการ และทำให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดได้มากขึ้น
ท่านอนคว่ำ (โรงพยาบาลสินแพทย์, 2564)
ผู้ป่วยโควิด ทำไมต้องนอนคว่ำ?
-
เป็นการลดการกดทับของปอด 2 ใน 3 ทำให้ปอดได้รับอากาศเพิ่มขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนภายในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
-
การนอนคว่ำช่วยให้ระดับออกซิเจนเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนต่ำ
-
เวลานอนหงาย อวัยวะต่างๆ จะไปกดทับปอด ส่วนที่ต่ำกว่าลงไป ทำให้ปอดทำหน้าที่ได้ไม่ดี
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง หรือใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อ แนะนำให้นอนคว่ำ โดยปฏิบัติ ดังนี้
-
นอนคว่ำ 30 นาที – 2 ชั่วโมง
-
นอนตะแคงขวา 30 นาที – 2 ชั่วโมง
-
กึ่งนั่งกึ่งนอน (60 – 90 องศา) เป็นเวลา 30 นาที – 2 ชั่วโมง
-
นอนตะแคงซ้าย 30 นาที – 2 ชั่วโมง
-
กลับมาสู่ท่าที่ 1
ท่านอนตะแคง (โรงพยาบาลสินแพทย์, 2564)
อาการข้างเคียง: อาจมีอึดอัด รู้สึกหายใจไม่ออก อาเจียน ถ้ามีให้หยุดพักในท่าที่ผู้ป่วยรู้สึกสบาย
หมายเหตุ: ในแต่ละท่าโดยเฉพาะท่าคว่ำ อาจทำนานมากกว่าตามที่กำหนด ถ้าผู้ป่วยสามารถทนได้ และในแต่ละวันให้ผู้ป่วยทำบ่อยๆ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ท่านอนสำหรับผู้ป่วย COVID-19 (กองการพยาบาล, 2564)
บรรณานุกรม
-
โรงพยาบาลศิครินทร์. (2564). ท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.sikarin.com/health/.
- Admin WTU Website