แนะนำคณะ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 และหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ได้รับการอนุมัติครั้งแรกโดยสภามหาวิทยาลัย เมื่อ 26 กรกฎาคม 2561 และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564) และเสนอต่อแพทยสภาเพื่อขอรับการรับรอง เน้นการผลิตบัณฑิตแพทย์สู่ระบบบริการปฐมภูมิ ที่มีคุณลักษณะดังนี้
1. ประพฤติตนและปฏิบัติวิชาชีพเวชกรรมอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม
2. ประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยีและศาสตร์เกี่ยวข้องในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อการวินิจฉัย ดูแล รักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม สมเหตุผลและปลอดภัย
3. ปฏิบัติงานในระบบปฐมภูมิแบบบูรณาการ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประชาชนอย่างเป็นองค์รวม เชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศได้
4. สื่อสารและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ญาติ และประชาชน
5. สื่อสารและปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรในระบบสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. พัฒนาความรู้ และทักษะในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ โลกไร้พรมแดน และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ปรัชญา
ผลิตแพทย์ที่มีความเป็นเลิศด้วยพลังความคิด มีคุณภาพตามมาตรฐาน เปี่ยมด้วย
คุณธรรม จริยธรรม สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคม
ปณิธาน
ผลิตแพทย์สู่ระบบบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม และจริยธรรมแห่ง วิชาชีพ มีวินัย ใฝ่รู้ ให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจ สื่อสารและใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม อุทิศตนเพื่อสังคม
วิสัยทัศน์
ผลิตแพทย์ปฐมภูมิที่ได้มาตรฐานสากล มีคุณค่า จิตอาสา พัฒนาตนเองและสังคมไทย
พันธกิจ
1. ผลิตแพทย์ปฐมภูมิที่ได้มาตรฐานสากล มีคุณค่า จิตอาสา พัฒนาตนเองและสังคมไทย
2. สร้างสรรค์งานวิจัยเพี่อพัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพและการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อันนำไปสู่การ ประยุกต์ใช้ในระบบสุขภาพ ชุมชนและสังคม
3. ให้บริการวิชาการด้านวิชาการและวิชาชีพแบบบูรณาการ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคมและประเทศชาติ
4 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่พึงประสงค์
ผลิตและพัฒนาบัณฑิตแพทย์ให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
1. ประพฤติตนและปฏิบัติวิชาชีพเวชกรรมอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม
2. ประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยีและศาสตร์เกี่ยวข้องในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพี่อการวินิจฉัย ดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม สมเหตุผลและปลอดภัย
3. ปฏิบัติงานในระบบปฐมภูมิแบบบูรณาการ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประชาชนอย่างเป็นองค์รวม เชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศได้
4. สื่อสารและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ญาติ และประชาชน
5. สื่อสารและปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรในระบบสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. พัฒนาความรู้ และทักษะในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกไร้พรมแดน และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
รูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2561
คณบดี
ศ.(วุฒิคุณ)ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
คุณวุฒิการศึกษา
PH.D Health Planning and Finacing, University of London, U.K.
ปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หนังสืออนุมัติ
-แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงสุขภาพจิตชุมชน แพทยสภา
-แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงเวชศาสตร์ทางทะเล แพทยสภา
-แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว แพทยสภา
วุฒิบัตร
-แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา แพทยสภา
ตำแหน่งปัจจุบัน
- ที่ปรึกษาผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- ประธานคณะกรรมการสาธารณสุข
- นายกสภามหาวิทยาลัยเนชั่น
- นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย
- ประธานมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉิน
- ประธานมูลนิธินายแพทย์สมบูรณ์วัชโรทัย
- อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพ
- ที่ปรึกษาในกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประสบการณ์ทำงาน
- กรรมการการประปาส่วนภูมิภาค
- กรรมการองค์การเภสัชกรรม
- กรรมการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ
- รองประธานกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการขยะชุมชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- กรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิงเคลียร์แห่งชาติ
- กรรมการประกันสังคม
- กรรมการอุทธรณ์ ประกันสังคม
- กรรมการกองทุนเงินทดแทน
- กรรมการแพทย์กองทุนเงินทดแทน
- กรรมการแพทย์กองทุนประกันสังคม
- ที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา
- ที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) ประจำกระทรวงสาธารณสุข
ประสบการณ์ด้านการสอน
- คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเชียน มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติรับราชการ
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
- หัวหน้าสำนักงานเลขานุการกิจปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล
- ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข
- รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
- ที่ปรึกษาระดับกระทรวงด้านสาธารณสุข (นายแพทย์ 10)
- ผู้ตรวจราชการ (นักบริหาร 10)
- รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- อธิบดีกรมควบคุมโรค
- อธิบดีกรมอนามัย
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ประวัติรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ป.ม.)
- ปฐมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- มหาวชิระมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.ภ.)
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ผู้บริหาร
ศ.(วุฒิคุณ)ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
คณบดี
อาจารย์ นพ.วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล
รองคณบดีฝ่ายคลินิก
ผศ.ณัฐกฤษ น้อยก้อน
รองคณบดีฝ่ายปรีคลินิก
อาจารย์ พญ.ชินานาฏ พวงสายใจ
ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกำแพงเพชร
การจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในครั้งนี้ได้ยึดการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลายของชนชาติต่างๆ และไม่ละทิ้งวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยและมุ่งมั่นจัดการศึกษาที่ผลิตแพทย์เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะระบบบริการปฐมภูมิ ใช้ทรัพยากรข้ันพื้นฐานร่วมกันกับคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านบุคลากรเครื่องมือสถานที่และอื่นๆ ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดบนหลักการของการรวมบริการ
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : แพทยศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Medicine Program
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : แพทยศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ : พ.บ.
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Doctor of Medicine
ชื่อย่อ : M.D.
หมวดวิชา | หลักสูตร | Table header 2 |
---|---|---|
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต | |
(1.1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 9 หน่วยกิต | |
(1.2) กลุ่มวิชาภาษา | 15 หน่วยกิต | |
(1.3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 6 หน่วยกิต | |
(2) หมวดวิชาเฉพาะ | 206 หน่วยกิต | |
(2.1) กล่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน | 12 หน่วยกิต | |
(2.2) กลุ่มวิชาชีพเฉพาะทางการแพทย์ | 182 หน่วยกิต | |
(2.2.1) รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ | 68 หน่วยกิต | |
(2.2.2) รายวิชาชีพภาคทฤษฎี | 38 หน่วยกิต | |
(2.2.3) รายวิชาฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก | 76 หน่วยกิต | |
(2.3) กลุ่มวิชาชีพเฉพาะที่ส่งเสริมสมรรถนะที่เป็นจุดเน้นของสถาบันหรือเสริมสร้างศักยภาพ ตามความสนใจของผู้เรียน ไม่น้อยกว่า | 12 หน่วยกิต | |
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต | |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | ไม่น้อยกว่า | 242 หน่วยกิต |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมไม่ศึกษาตอนปลายสายสามัญหรือเทียบเท่าขึ้นไปจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองวิทยฐานะ
2. เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจปกติ ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง เจ็บป่วย มีความผิดปกติ มีความพิการ หรือเป็นโรครุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
2.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น
เช่น ความผิดปกติทางจิต (psychotic disorders) ความผิดปกติทางอารมณ์ (emotional disorders)
ความผิดปกติทางประสาทที่รุนแรง (severe neurotic disorders) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
(personality disorders) โดยเฉพาะ antisocial personality disorders หรือ borderline personality
disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วยหรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2.3 เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองต่อผู้ป่วยและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน
และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2.5 มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech
discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาท การได้ยิน
(sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2.6 มีความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
2.6.1 ตาบอดสีอย่างรุนแรง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
2.6.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว
แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
2.7 โรคหรือความพิการอื่นซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า
เป็นหรืออาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ ให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
3. ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่เคยถูกศาลพิพากษาถึงขั้นจำคุก หรืออยู่ในระหว่างคดีอาญา
4. สำหรับผู้สมัครต่างชาติ ต้องสอบผ่านการทดสอบภาษาไทยตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
5. มีคุณสมบัติอื่นๆ ครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การคัดเลือกนิสิต
การคัดเลือกผู้สมัครเพื่อเข้าศึกษาให้ยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ผ่านการคัดเลือกตามประกาศของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น โดยพิจารณาจากเกณฑ์ ผลการสอบคะแนนวัดความรู้หรือผลการสอบอื่นๆ การสอบข้อเขียน สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย ทดสอบ
บุคลิกภาพและสุขภาพจิต หรือ
2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
3. การคัดเลือกนิสิตให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
4. หรือพิจารณาจากเกณฑ์คัดเลือกอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยอาจกำหนดในแต่ละปีการศึกษา
1. เป็นแพทย์ในระบบราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงกลาโหม และสถาบันการแพทย์ต่างๆ
2. ประกอบวิชาชีพอิสระด้านการแพทย์ในภาคเอกชนท้ังในและต่างประเทศ
3. ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งทางวิชาชีพและวิชาการด้านการแพทย์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
กิจกรรม
ติดต่อสอบถาม
ติดต่อคณะ
ช่องทางการติดต่อ
ผ่านโทรศัพท์ 02-5635252 ต่อ 6102
วันที่เปิดทำการวันจันทร์- วันเสาร์ เวลา 08.30 - 17.00 น.
แจ้ง : medicine.md@western.ac.th
รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ล่าสุดจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น